ความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกับบทบาท ในการป้องกันโรคโควิด 19 ในชุมชน

ผู้แต่ง

  • จิรัชญา สุระสุข อาจารย์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

Health literacy, Roles of village health volunteers, Prevention of coronavirus disease 2019

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความรอบรู้ด้านสุขภาพ ด้านการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ ความรู้ความเข้าใจ การสื่อสาร การตัดสินใจ การจัดการตนเอง การเท่าทันสื่อและการนำไปใช้ ซึ่งเป็นปัจจัย ที่สำคัญที่มีส่วนส่งเสริมการมีส่วนร่วมการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันโรคโคโรนาไวรัส 2019 หรือโควิด-19 ทั้งนี้เป็นเพราะความรอบรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ทั้งด้านการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านการสื่อสาร ด้านการตัดสินใจ ด้านการจัดการตนเอง ด้านการเท่าทันสื่อและด้านการนำไปใช้ ซึ่งความรอบรู้ทั้ง 7 ด้านดังกล่าวจะช่วยให้ อสม. สามารถปฏิบัติงานในการป้องกันโรคนี้ได้ถูกต้องและมั่นใจยิ่งขึ้น และจะช่วยให้ อสม. มีกำลังใจเพิ่มมากขึ้นในการปฏิบัติงานป้องกันโรคโควิด-19 จากการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติงานตามบทบาทของ อสม.

ดังนั้น ความรอบรู้ด้านสุขภาพจึงมีส่วนส่งเสริมการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันโรคโควิด-19

References

รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563. [เข้าถึงเมื่อ 20 มี.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://data.go.th/dataset/covid-19-daily;2563

การดำเนินงานเฝ้าระวังโรคโควิด-19 ในชุมชน [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564. [เข้าถึงเมื่อ 16 ม.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก http://ddc.moph.go.th/doe/;2564

แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2563. [เข้าถึงเมื่อ 20 มี.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dms.go.th;2563

ธวัชชัย ยืนยาว, เพ็ญนภา บุญเสริม. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการป้องกันการ ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หญิงในจังหวัดสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2563; 35(3): 555-64.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อยกระดับเป็นหมออนามัยประจำหมู่บ้าน. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, นวรัตน์ ไวชมภู, กชกร ฉายากุล. ความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2563; 12(3): 195-212.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. หลักสูตรฝึกอบรมมาตรฐานอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ปีพุทธศักราช 2550. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2549.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อยกระดับเป็นหมออนามัยประจำหมู่บ้าน. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

Healthy living adopted by the WHO regional committee for europe at its forty-eighth session. Copenhagen; World health organization; 1998.

Nielsen-Bohlman L, Allison MP, David AK. Health literacy: A prescription to end confusion Institute of Medicine (US) Committee on Health Literacy. Washington (DC): National Academies Press; 2004. 11. Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med. Dec 2008; 67(12): 2072-8.

Rootman I. Health Literacy, What should we do about it? British Columbia: Faculty of Education, University of Victoria; 2009.

กรมอนามัย กระทรวงาธารณสุข. ความรอบรู้ด้านสุขภาพคืออะไร? [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงาธารณสุข; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 10 ส.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://mwi.anamai.moph.go.th/web-upload/migrated/files/mwi/n1051_068d93b30daf70c8540af4d8abac7d4b_article_20180802172001.pdf

ปราณี ภาโสม. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ของผู้มารับบริการคลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสกลนคร. สกลนคร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร; 2563.

กรรณิกา อุ่นอ้าย, พนิดา ชัยวัง, พรภิมล กรกกฎกำจร, ดวงใจ ปันเจริญ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกัน โรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมในชุมชนชนบท จังหวัดเชียงราย. วารสารพยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2565; 49(1): 200-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2024