ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร สถาบันพระบรมราชชนก

ผู้แต่ง

  • ชินกฤต ณิยกูล นักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันบรมราชนก
  • อรวรรณ นามมนตรี ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันบรมราชนก

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสุขภาพ, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ความเข้มแข็งในการมองโลก, สถาบันพระบรมราชชนก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล  ระดับพฤติกรรมสุขภาพ ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ระดับความเข้มแข็งในการมองโลกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรทั้ง 7 แห่ง ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก จำนวน 389 คน ในปีการศึกษา 2565 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพของกองสุขศึกษาและแบบวัดความเข้มแข็งในการมองโลกของแอนโทนอฟกี้ที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยตามเกณฑ์มาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่ามัยธฐาน (Median)  ค่าสูงสุด (Maximum) ค่าต่ำสุด (Minimum) และสถิติเชิงอนุมานประกอบด้วย Chi-square, Simple logistic regression การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก (Multiple Logistic regression) มีการคำนวณ Crude Odds Ratio และ Adjusted Odds Ratios ร่วมกับ P-value

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 320 คน คิดเป็นร้อยละ 82.26 ส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชนจำนวน 162 คน คิดเป็นร้อยละ 41.64 กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 19.11 ปี (SD=0.67) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมสุขภาพในระดับไม่ดีถึงปานกลางจำนวน 285 คน คิดเป็นร้อยละ 73.3 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับดีถึงดีมาก จำนวน 370 คน คิดเป็นร้อยละ 95.1 และมีความเข้มแข็งในการมองโลกในระดับต่ำถึงปานกลาง จำนวน 337 คน คิดเป็นร้อยละ 86.60

เมื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพพบว่าความเข้มแข็งในการมองโลกมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับความเข้มแข็งในการมองโลกสูงมีพฤติกรรมสุขภาพดีกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีระดับความเข้มแข็งในการมองโลกต่ำถึงปานกลาง 4.74 เท่า (Adjusted OR =4.74, 95% CI of 2.07 ถึง 10.88, p-value<0.001) การส่งเสริมความเข้มแข็งในการมองโลก อาจจะช่วยเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดีให้กับนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

References

World Health Organization. Global action plan for the prevention and control of NCD 2013-2020. Geneva: World Health Organization. 2019.

ยุวดี ลีลัคนาวีระ, พรนภา หอมสินธุ์, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์. วิถีชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคตะวันออก. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2546; 11(2): 18-37.

Eriksson M, Lindstrom B. Antonovsky's sense of coherence scale and its relation with quality of life: A systematic review. J Epidemiol Community Health. 2007; 61(11): 938-944.

Antonovsky A. The salutogenic perspective: Toward a new view of health and illness. New York: Advances. 1987.

Nammontri O, Robinson P, Baker S. Enhancing oral health via sense of coherence: a cluster-randomized trial. Journal of dental research. 2013; 92(1): 26-31.

สุนีย์ กันแจ่ม, นิตยา วงสว่าง, ฐานิการ สุวรรณ, สุดารัตน์ เตชัย. ความฉลาดทางสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์. 2562; 1(1): 33-43.

ทศพล ชำนาญกิจ, วรรณวิมล เมฆวิมล กิ่งแก้ว, ปริศนา เพียรจริง, สุรีย์วรรณ สีลาดเลา, นิวัฒน์ ทรงศิลป์, กนกพร สมพร. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาธารณสุขมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่ง. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2565; 4(2): 47-57.

ดลนภา ไชยสมบัติ, บัวบาน ยะนา, สุพัตรา ทาวี. ความรอบรู้ทางด้านสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. วารสารพยาบาลทหารบก. 2565; 23(1): 90-100.

ธิดารัตน์ หวังสวัสดิ์, มณีรัตน์ ภาคธูป, นุจรี ไชยมงคล. ความเข้มแข็งในการมองโลกของวัยรุ่นในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2554; 3(1): 1-15.

Antonovsky A. The salutogenic perspective: Toward a new view of health and illness. New York: Advances. 1987.

Sullivan GC. Toward clarification of convergent concept: sense of coherence, will to meaning, locus of control, learned helplessness and hardiness. Journal of Advanced Nursing. 1993; 18(11): 1772-778.

ฐปรัตน์ รักษ์ภาณุสิทธิ์, นฤมล จีนเมือง, นันทิยา โข้ยนึ่ง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2561; 29(3): 170-78.

Ayo-Yusuf OA, Reddy PS, van den Borne BW. Longitudinal association of adolescents' sense of coherence with tooth-brushing using an integrated behavior change model. Community Dent Oral 2009; 37(1): 68-77.

Grevenstein D, Bluemke M, Kroeninger-Jungaberle H. Incremental validity of sense of coherence, neuroticism, extraversion, and general self-efficacy: Longitudinal prediction of substance use frequency and mental health. Health and Quality of Life Outcomes. 2016; 14(9): 1-14.

Peker K, Bermek G, Uysal O. Factors related to sense of coherence among dental students at Istanbul University. Journal of dental education. 2012; 76(6): 774-82.

Bronikowski M, Laudanska-Krzeminska I, Tomczak M, Morina, B. Sense of coherence, physical activity and its associations with gender and age among Kosovar adolescents: a cross-sectional study. The Journal of Sports Medicine and Physical Fitness. 2016; 57(7-8): 1023-1032.

Chu JJ, Khan MH, Jahn HJ, Kraemer A. Sense of coherence and associated factors among university students in China: cross-sectional evidence. BMC public health. 2016; 16(336): 1-11.

Nishiyama M, Suzuki E, Hashimoto M, Takaoka N, Inaba M, Tadokoro N, et al. Skipping breakfast is associated with academic achievement, unhealthy behaviors, and sense of coherence among medical students. Dokkyo Journal of Medical Sciences. 2013; 40(1): 47-54.

Tilles‐Tirkkonen T, Suominen S, Liukkonen J, Poutanen K, Karhunen L. Determinants of a regular intake of a nutritionally balanced school lunch among 10-17-year-old schoolchildren with special reference to sense of coherence. Journal of Human Nutrition and Dietetics. 2015; 28(1): 56-63.

Dorri M, Sheiham A, Hardy R, Watt R. The relationship between Sense of Coherence and toothbrushing behaviours in Iranian adolescents in Mashhad. Journal of clinical periodontology. 2010; 37(1): 46-52.

Peker K, Bermek G, Uysal O. Factors related to sense of coherence among dental students at Istanbul University. Journal of dental education. 2012; 76(6): 774-782.

อรอนงค์ คงเรือง. ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและหลักพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. ของบุคลากรครู ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรค เขตเมือง. 2563; 5(1): 44-62.

สมสุข ภาณุรัตน์, สุขฤดี ธัชศฤงคารสกุล, พัชรี กระจ่างโพธิ์, ภาสกร เนตรทิพย์วัลย์, วิถี ธุระธรรม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของข้าราชการตำรวจผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารงานตำรวจชั้นสูง รุ่นที่ 52. วารสารวิจัยเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต. 2566; 3(1): 13-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2024