ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานในการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลป่งไฮ อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • ชุติภา แก้วลือ นิสิต หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • วิราสิริริ์ วสีวิรสิว์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

การปฏิบัติงานในการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, แรงสนับสนุนทางสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานในการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ การปฏิบัติงานในการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลป่งไฮ อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ ตัวอย่างคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลป่งไฮ อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ มีจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 280 คนโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความตรง ของเนื้อหาของแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ได้ค่า IOC อยู่ในช่วง 0.71-1.00 ผลรวม IOC ทั้งหมดเท่ากับ 0.92 และหาค่าความเชื่อมั่น ภาพรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมานใช้ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า การปฏิบัติงานในการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 53.2 รองลงมาเป็นระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 35.7 และระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 11.1 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานในการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้แก่ แรงจูงใจใน การปฏิบัติงาน แรงสนับสนุนทางสังคม อายุ และอาชีพ (p-value<0.001, p-value <0.001, p-value = 0.026 และ p-value = 0.007 ตามลำดับ) มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานในการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรค ไตเรื้อรังของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีการปฏิบัติงานในการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมากขึ้นโดยเปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่กระบวนการจัดทำแผนสุขภาพชุมชนเพื่อขับเคลื่อนในการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง และควรมีกิจกรรมเพื่อสร้างแรงจูงใจและแรงสนับสนุนทางสังคม ให้กับกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

References

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ระบาดวิทยาและการทบทวนมาตรการป้องกันโรคไตเรื้อรัง กลุ่มพัฒนานโยบายระดับประชากร กองโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2565.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการจัดการโรคไตเรื้อรังสำหรับอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.). นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2560.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ. ข้อมูลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในเขตรับผิดชอบ [อินเทอร์เน็ต]. บึงกาฬ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 15 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://bkpho.moph.go.th/bungkanpho/index.php?g=1

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการจัดการโรคไตเรื้อรัง (CKD) สำหรับ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://thaincd.com/document/file/info/non-communicable-disease/คู่มือโรคไตเรื้อรัง_สำหรับ_อสม.pdf

ไพบูลย์ อินทมาส. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ อำเภอขาณุวรลักษบุรีจังหวัดกำแพงเพชร [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาสาธารณสุข ศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2561.

ปภากร เผ่าเวียงคำ, ศรีสุรางค์ เคหะนาค. ปัจจัยที่ส่งผลต่อ การปฏิบัติงานเกี่ยวกับโรคเบาหวานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมูบ้านนในอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2565; 18(2): 116-28.

วีระศักดิ์ ดำรงพงษ์. การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติตามบทบาทหมอครอบครัว ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2566; 13(2): 112-30.

รัชนี หนูนาม, ปรางค์มณี เดชคุ้ม. ความสำเร็จในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2562; 6(2): 104-11.

วีระพงษ์ นวลเนือง. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสาธารณสุขของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดสมุทรสาคร [วิทยานิพนธ์สาธารณสุข ศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประดิษฐ์ ธรรมคง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดศรีสะเกษ. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุข ศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

อนุรักษ์ เบื้องสูง. บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน. 2562: 4(2): 33-42.

เกศินี วีรศิลป์, ธนวัฒน์ กาฬภักดี, มหาวิทยาลัยแม่โจ้. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้านในการดำเนินการหมู่บ้านจัดการสุขภาพตำบลร้องกวาง อำเภอ ร้องกวาง จังหวัดแพร่. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 2564; 1(5): 1-10.

พารินทร์ แก้วสวัสดิ์. ศึกษาเรื่องแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2565; 2(2): 22-33.

สรวุฒิ เอี่ยมนุ้ย. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการ เฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19 อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา. 2564; 1(2): 75-90.

ระพีพรรณ ชอบสะอาด. อิทธิพล เชิงโครงสร้างของการเห็นคุณค่าในตนเองและแรงจูงใจในการทำงานที่มีต่อประสิทธิผล ในงานของอาสาสมัคร วัดนักบุญเปโตร อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. 2563; 4(1): 69-80.

เอกพันธ์ คําภีระ, สุมาลี เลิศมัลลิกาพร, อะเคื้อ อุณหเลขกะ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคปอดในชุมชน.พยาบาลสาร. 2564; 48(1): 174-86.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2024