การดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวตามแนวคิดการจัดระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ แบบบูรณาการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง พื้นที่อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐ์ฐภรณ์ ปัญจขันธ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ยงยุทธ แก้วเต็ม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กาญจนาณัฐ ทองเมืองธัญเทพ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

คำสำคัญ:

คลินิกหมอครอบครัว, การบริการแบบบูรณา, ประชาชนเป็นศูนย์กลาง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัว ตามแนวคิดการจัดระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิแบบบูรณาการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง  เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือ บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในระบบบริการปฐมภูมิทั้งในส่วนของโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของอำเภอสารภี จำนวน 61 คน รวมทั้งกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จำนวน 212 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน ตุลาคม - ธันวาคม 2562 โดยใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่มด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในแต่ละด้านด้วยสถิติไคสแควร์  ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์ประเด็นร่วม

ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านบุคลากร ภาพรวมระดับคุณภาพของกระบวนการจัดบริการ อยู่ในระดับ A คือการจัดทำระบบข้อมูลการให้การดูแลรักษาผู้ป่วย ร้อยละ 34.43 รองลงมา คือ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและแพทย์ครอบครัวหรือหมอครอบครัว ร้อยละ 27.05 ระบบสนับสนุนขององค์กรในการจัดบริการ การทำความเข้าใจต่อหลักการจัดบริการครบห้าองค์ประกอบ มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 6.71 (S.D.=1.97) และพบว่า ความพึงพอใจบริการที่ได้รับมีความสัมพันธ์กับการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และ การที่ผู้รับบริการได้รับบริการจากหมอครอบครัวคนเดิมทุกครั้งมีความสัมพันธ์กับหน่วยบริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) ด้านการดูแลของโรคเรื้อรัง พบว่า มากที่สุด คือด้านความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ( =4.56, S.D. = 0.78)

ผลการประเมินเพื่อนำสู่การพัฒนา ได้แก่ 1) การวางแผนกลยุทธ์ที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน 2) จัดสรรภาระงานให้เหมาะสมกับปริมาณคนและงาน 3) ปรับรูปแบบการทำงานให้ดีขึ้นทั้งกระบวนการคิด การทำงาน กระบวนการ เครื่องมือ และการวัดผล 4) ส่งเสริมให้บุคลากรมีความมุ่งนั่น แน่วแน่ เสริมสร้างแรงจูงใจที่ดี 5) ให้บริการโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง 6) สร้างความรักความผูกพันของคนในองค์กร และ 7) พัฒนาสมรรถนะของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

References

Alberta Health service. Workforce Model Transformation Project, Workforce Model Transformation (WMT) Leading Practices, Definitions, and References, September; 2012.

Mekton S. Performance guideline of primary care cluster for primary care unit. Nonthaburi: Bureau of Health Administration, Office of Permanent Secretary, Ministry of Public Health; 2016.

Berwick D, et al. The triple aim: health, care, and cost, health affairs 27, no.3:759-769 [Internet]. doi: 10.1377/hlthaff.27.3.759; 2008

Available from: http://content.healthaffairs.org/content/27/3/759

Regulations of the office of the prime minister on regional quality of life B.E.2561. Royal gazette, 135(45D), 1-7; 2018.

Constitution of the Kingdom of Thailand B.E.2560. Primary care medical system. Bangkok: P. Press. Co., Ltd.; 2017.

Saraphi Provincial Health Office. Inspection and supervision of the Ministry of Public Health, Health Region 1. Copied document; 2018.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. ระบบสารสนเทศด้านสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ณ 10 มิ.ย. 2562 [อินเทอร์เน็ต]. เชียงใหม่: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2566]. เข้าถึงจาก: https://www.chiangmaihealth.go.th

กลุ่มงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ. เบาหวาน ความดัน หัวใจ หลอดเลือด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ คปสอ.สารภี 2562 [อินเทอร์เน็ต]. เชียงใหม่: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2566]. เข้าถึงจาก: https://www.chiangmaihealth.go.th

Ministry of Public Health. Primary care cluster guideline for health care units. Ministry of Public Health; 2016.

Leutz WN. Five Laws for Integrating Medical and Social Services: Lessons from the United States and the United Kingdom. Milbank Q.; 1999.

Valentijn PP, Schepman SM, Opheij W, Bruijnzeels MA. Understanding integrated care:

A comprehensive conceptual framework based on the integrative functions of primary care [Internet]. Netherlands: Int J Integr Care; 2013 [cited 2023]. Available from: https://doi.org/10.5334/ijic.886

Starfield B. Is Patient-Centered Care the Same As Person-Focused Care? Perm J. 2011; 15(2): 63–9.

Best JW. Research in Education. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall Inc.; 1970.

Likert R. The method of constructing and attitude scale. In Reading in. Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Sons, Inc; 1967.

Jandeekrayom C, Chanthanuy K. Development of Diabetes Care System in a Network of Primary Care Unit Under the Context Rural District, Yangsisurat District, Mahasarakham Province. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand. 2017; 7(2): 168-178.

Sadtrakulwatana V. The Development of A Chronic Diseases Clinic Model (Diabetes, Hypertension) in Primary Health Care Units, Mueang District, Sing Buri Province. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand. 2018; 8(1): 24-36.

Nisapanun A. A Comparative Study on Effectiveness in the Treatments for Diabetes Mellitus Provided by Sateuk Hospital and Nikhom Primary Care Unit. MEDICAL JOURNAL OF SRISAKET SURIN BURIRAM HOSPITALS. 2013; 28(1): 43-51.

Ekman I, Swedberg K, Taft C, Lindseth A, Norberg A, Brink E, Carlsson J, Dahlin-Ivanoff S, Johansson IL, Kjellgren K, Lidén E. Person-centered care—ready for prime time. European journal of cardiovascular nursing. 2011; 10(4): 248-51.

Miles A, Asbridge JE. The chronic illness problem. The person-centered solution. European Journal for Person Centered Healthcare. 2016 Jun 24; 4(1): 1-5.

Srithamrongsawas S, Suggestions for Primary Health Care Development Under Ministry of Public Health. Health Systems Research Institute; 2009.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2023