การพัฒนารูปแบบการให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์แบบบูรณาการ โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • กนกกาญจน์ เถื่อนโยธา โรงพยาบาลโพนพิสัย อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
  • ปิยะพันธ์ สาสุข โรงพยาบาลโพนพิสัย อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
  • จิรายุ สุกใสย โรงพยาบาลโพนพิสัย อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

กัญชาทางการแพทย์, คลินิกกัญชาทางการแพทย์แบบบูรณาการ, การให้บริการ, การพัฒนารูปแบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ การพัฒนารูปแบบ และการศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์แบบบูรณาการ กลุ่มเป้าหมายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
คือ กลุ่มเป้าหมายเชิงคุณภาพ คือ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์แบบบูรณาการ จำนวน 9 คน และผู้ป่วยที่เคยมารับบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ จำนนวน 5 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง
ทั้ง 2 กลุ่ม เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก และเป้าหมายเชิงปริมาณคัดเลือกแบบเจาะจง คือผู้ป่วยที่เข้ารับบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระยะเวลาดำเนินการคือเดือนตุลาคม 2564 ถึง ธันวาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมาน ได้แก่ Paired t-test

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์แบบบูรณาการ คือ “PPS MODEL หมายถึง” P: Patient focus การยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง P: Professional standard ให้บริการตามมาตรฐาน และ S: System perspective การทำงานเชิงระบบ และการศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบ พบว่า หลังการพัฒนารูปแบบ ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์มีความรู้อยู่ในระดับดี ร้อยละ 93.3 รองลงมาอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 6.7 โดยเมื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้ก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบ พบว่า หลังการพัฒนารูปแบบคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) และมีความพึงพอใจในระดับดี ร้อยละ 93.3  สรุปได้ว่ารูปแบบการให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์แบบบูรณาการที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปเป็นแนวทางในการให้บริการผู้ป่วยเพื่อให้เกิดคุณภาพในการให้บริการและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วยต่อไป

References

สิริลักษณ์ รื่นรวย, โยธิน อำพิน, ปุญชิดา บัวกลับ. การพัฒนาเครือข่ายชุมชนกัญชาทางการแพทย์ปลอดภัย ตำบลน้ำซึม อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี. วารสารโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์. 2564; 15(1): 5-19.

คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service plan) สาขากัญชาทางการแพทย์. คลินิกบริการกัญชาทางการแพทย์ (Medical Cannabis Clinic). นนทบุรี: กองบริหารสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์แบบบูรณาการ. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2564.

โปรแกรม Health Data Center (HDC). ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขากัญชา [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2564].

เข้าถึงได้จาก: https://nki.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=2908c586a168578a2c4aee3ab13963c9

ปราณี มีหาญพงษ์, กรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร. การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก. 2561; 19(1): 9-15.

Kemmis S, McTagart. The action research planner. Geelong: Deakin University Press; 1990.

ศิรินุช ฉายแสง. การพัฒนารูปแบบคลินิกให้คำปรึกษาการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนดู่ อำเภอเมือง

จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565; 16(1): 45-58.

สุวิมล คำย่อย. ความพึงพอใจของผู้รับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านหยวก อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี [การค้นคว้าอิสระ].

อุดรธานี: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านหยวก; 2555.

ภาวิณี อ่อนมุข, ศุภะลักษณ์ ฟักคำ. ความคาดหวังและความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทยในหน่วยบริการของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12 2564;

(12): 742-52.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2023