กระบวนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อโดยสมัชชาสุขภาพตำบล ของตำบลโคกสำราญ อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ณัฐิวุฒิ จันตะแสง สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์

คำสำคัญ:

สมัชชาสุขภาพตำบล, การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ, มูลฝอยติดเชื้อในชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนากระบวนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อโดยสมัชชาสุขภาพตำบล ของตำบลโคกสำราญ อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) กลุ่มคณะกรรมการเครือข่ายสมัชชาสุขภาพตำบลโคกสำราญ จำนวน 56 คน  ประกอบด้วย ภาคการเมือง ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม และ 2) กลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยที่เป็นแหล่งกำเนิดมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน จำนวน 32 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมานในการเปรียบเทียบความแตกต่างก่อน - หลังพัฒนากระบวนการ ด้วยสถิติ Wilcoxon sign rank test และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)

ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อโดยสมัชชาสุขภาพตำบล ของตำบลโคกสำราญ อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น ในการขับเคลื่อนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชนมี 8 กิจกรรมประกอบด้วย1) Situation Analysis: การศึกษาบริบทชุมชน และการวิเคราะห์ปัญหา 2) Community Planning: การจัดทำแผนปฏิบัติการชุมชน 3) Knowledge: การอบรมให้ความรู้ 4) Awareness: การสร้างความตระหนักรู้ 5) Health Assembly: การจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชนอย่างมีส่วนร่วมโดยสมัชชาสุขภาพตำบล 6) Follow-up: การเยี่ยมติดตามผลการดำเนินงาน 7) Evaluation: การประเมินผล และ 8) Lesson Learned: การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน ผลการประเมินกระบวนการกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความพึงพอใจ และการมีส่วนร่วม ในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชนเพิ่มขึ้นอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการศึกษากระบวนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อโดยสมัชชาสุขภาพตำบลของตำบลโคกสำราญ เรียกว่า “SPEC” ประกอบด้วย
1) Structure: การกำหนดโครงสร้างคณะกรรมการเครือข่ายสมัชชาสุขภาพตำบล ตามบริบทของพื้นที่
2) Participation: การมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน 3) Evaluation: การประเมินผลกระบวนการแก้ปัญหาในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน และ 4) Communication: การสื่อสารในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน เพื่อการพัฒนาชุมชนให้เป็น “ตำบลจัดการมูลฝอยติดเชื้อยั่งยืน” ต่อไป

References

World Health Organization. Global status report on road safety 2015. World Health Organization; 2015.

Water S, World Health Organization. Safe health-care waste management: policy paper (No. WHO/SDE/WSH/04.12). World Health Organization; 2004.

Hakim SA, Mohsen A, Bakr I. Knowledge, attitudes and practices of health-care personnel towards waste disposal management at Ain Shams University Hospitals, Cairo; 2014.

กรมอนามัย. เอกสารวิชาการด้านจัดการมูลฝอยติดเชื้อ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 ส.ค. 2565]. เข้าได้ถึงจาก: http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER17/DRAWER002/GENERAL/DATA0001/00001430.PDF:1

กรมอนามัย. สถานการณ์การบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อของประเทศ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 2565. [เข้าถึงเมื่อ 1 ส.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://env.anamai.moph.go.th/webupload/11xc410600758f76a9b83604e779b2d1de5/filecenter/kpi/66/3.31/total_kpi3.31

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. สรุปผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2564. ขอนแก่น: สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น; 2564.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดง. สรุปผลงานการดำเนินงานสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2565. ขอนแก่น: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดง; 2565.

Kemmis S, Mc Taggart R. The action research planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University press; 1990.

Jang YC. Infectious/Medical/Hospital Waste. General Characteristics A2- Nriagu. J.O Encyclopedia of Environmental Health; 2011.

Cornelius T, Arbam T, Poliance DD. Assessment of Medical Waste Management in Health Centers of Maroua-Cameroon. Department of Chemistry, Higher Teachers’ Training College, University of Maroua; 2017.

พรพิมล วิกรัยพัฒน์. การจัดการขยะติดเชื้อในครัวเรือนชุมชนช่างเคี่ยน จังหวัดเชียงใหม่. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 45 วันที่ 30 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2550 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2550.

รติรส ตะโกพร. พฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในบ้านเรือน กรณีศึกษา อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2558.

กฤษฎา เจริญสุข. พนม ดง รัก โมเดล: การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2564; 30(6): 1040-1049.

อัญชิรญา จันทรปิฎก. กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมของสมัชชาสุขภาพ จังหวัดลำพูน [วิทยานิพนธ์ปริญญา รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2555.

อาหามะ เจ๊ะโซะ. การประยุกต์ใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพในกองทุนหลักประกันสุขภาพตําบล จังหวัดปัตตานี. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติครั้งที่ 6 วันที่ 26 มิถุนายน 2558 ณ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่; 2558.

พจนีย์ ขัดโพธิ์, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์, วิโรจน์ เซมรัมย์. กระบวนการสมัชชาสุขภาพในการพัฒนาระบบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวของชุมชน ในตำบลนาคาย อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2560; 36(2): 235-242.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2023