ความรอบรู้ด้านสุขภาพและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • พริษฐ์ พลเยี่ยม สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ประจักร บัวผัน สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ปัจจัยทางการบริหาร, การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดร้อยเอ็ด ประชากรที่ศึกษา คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 34,142 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ได้จำนวน 220 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เพื่อเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 13 คน แบบสอบถาม ทุกข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาช 0.97 ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 12 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณคือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการอการถดถอยพหุเชิงเส้นแบบขั้นตอน โดยมีการกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) สรุปแล้วแยกเป็นหมวดหมู่เพื่อสรุปประเด็นเชื่อมโยงความสัมพันธ์และเหตุผลในประเด็นที่ศึกษา

ผลการศึกษาพบว่าภาพรวมระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ปัจจัยทางการบริหาร และการป้องกันและควบคุมโรคโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.56 (S.D. = 0.26), 2.62(S.D. = 0.28) และ 2.67 (S.D. = 0.28) ตามลำดับ โดยพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับสูงกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (r=0.736, r=0.792, p-value<0.001) ตามลำดับ  และพบว่าตัวแปรอิสระทั้ง 5 ตัว ได้แก่ ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการจัดการตนเอง ปัจจัยทางการบริหารด้านการบริหารจัดการ ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านทักษะการสื่อสาร ปัจจัยทางการบริหารด้านเวลา และปัจจัยทางการบริหารด้านเทคโนโลยี มีผลและสามารถร่วมกันในการพยากรณ์การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ร้อยละ 82.5 (R2=0.825, p-value<0.001) และผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้สัมภาษณ์ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมใน 5 ประเด็นที่สำคัญ คือ การวางแผน การควบคุมกำกับ การสื่อสาร และ การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ข้อเสนอแนะ ควรมีการควรจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพรวมทั้งพัฒนาทักษะด้านการบริหาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในชุมชน

References

World Health Organization. Comprehensive guidelines for prevention and control of dengue and dengue haemorrhagic fever. Geneva: WHO; 2018.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การคาดการณ์สถานการณ์โรคไข้เลือดออก พ.ศ.2565, กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ อสม.ยุคใหม่. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2554.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลาย. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

ลักษณา ชื่นบาล, ประจักร บัวผัน, สุรชัย พิมหา. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2564; 22(2): 189-200.

เฉลิมพล หนูยอด, มกราพันธุ์ จูฑะรสก, ประจักร บัวผัน. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุม

โรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7. 2565; 29(2): 30-41.

ชวัลลักษณ์ คลังกลาง, ประจักร บัวผัน.การปฏิบัติงานในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ในเขตตำบลเชียงพิณ อำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี. วารสารและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2561; 11(2): 533-539.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ.

นนทบุรี: กองสุขศึกษากรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2561.

ประจักร บัวผัน. หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดร้อยเอ็ด ปี พ.ศ. 2564. ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด; 2564.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานประเมินผลการปฏิบัติงาน ปีงบประมาณ 2564. ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด; 2564.

Cohen, J. Statistical power analysis for the behavior sciences. 2nd ed. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum; 1988.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางการสาธารณสุข กรณีศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์; 2560.

Best JW. Research in education. 3rd ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall; 1977.

Elifson KW, Runyon RP, Haber. A fundamentals of social statistics. 2nd ed. New York: McGraw-Hill; 2017.

จำนง นันทะกมล, ภัทรพล มากมี, เสน่ห์ แสงเงิน. ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น. 2565; 3(3): 21-30.

สมใจ อ่อนละเอียด. ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุพฤฒพลัง จังหวัดนครปฐม.

วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2564; 14(2): 333-345.

ภคมน สมศรี, มกราพันธุ์ จูฑะรสก, ประจักร บัวผัน. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลปอภาร อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2564; 21(3): 200-21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2023