คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการจัดการขยะมูลฝอย ในครัวเรือนของประชาชน ในเขตอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • สุนิศา โสภาบับ สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุวิทย์ อุดมพาณิชย์ สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ประจักร บัวผัน สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในเขตอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ประชากรที่ศึกษาคือ ประชาชนที่เป็นตัวแทนของครัวเรือนในเขตอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 27,266 ครัวเรือน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 265 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามสำหรับเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พบว่า ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.90 และใช้แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 12 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 2 ถึงวันที่ 21 มีนาคม 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน โดยมีการกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 51-60 ปี ภาพรวมปัจจัยทางการบริหารอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 2.22 (S.D.=0.48) และภาพรวมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน อยู่ในระดับมาก    มีค่าเฉลี่ย 2.38 (S.D.=0.40) โดยอายุและภาพรวมปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับต่ำเชิงลบและระดับปานกลางกับการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=-0.271, p-value<0.001 และ r=0.557, p-value<0.001) ตามลำดับ ทั้งนี้พบว่าตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยทางการบริหารด้านเวลาในการปฏิบัติงาน คุณลักษณะส่วนบุคคลด้านอายุ และปัจจัยทางการบริหารด้านการบริหารจัดการ มีผลและสามารถร่วมกันในการพยากรณ์การจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในเขตอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ได้ร้อยละ 36.0 (R2= 0.360, p-value<0.001)

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2560.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและกรมควบคุมมลพิษ. แผนปฏิบัติการ “ประเทศไทยไร้ขยะ” ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ระยะ 1 ปี (พ.ศ. 2559 - 2560). กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม; 2559.

Schermerhom, J.R., Osbom, R.N., Uhl-Bien, M., & Hunt, J.G. Organizational behavior. 12th ed. New York: John Wiley & Sons; 2011.

ประจักร บัวผัน. หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.

สำนักงานท้องถิ่นอำเภอศรีบุญเรือง. กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2565. หนองบัวลำภู: สำนักงานท้องถิ่นอำเภอศรีบุญเรือง; 2565.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอศรีบุญเรือง. งานระบาดวิทยาและงานป้องกันและควบคุมโรค 2564. หนองบัวลำภู: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอศรีบุญเรือง; 2564.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavior sciences. 2nd ed. Hillsdale NJ: Lawrence Erlbaum; 1988.

Best, J.W. Research in education. 3rd ed. Englewood Cliffs, Nj: Prentice-Hall; 1977.

Elifson KW, Richard RP, Haber A. Fundamentals of social statistics. 2nd ed. New York: McGraw-Hill, Inc; 1990.

พงศ์ธร แสงชูติ, วิชาญ บุญค้ำ, ศิริกัญญา ฤทธิ์แปลก, นิรันดร์ คงฤทธิ์, หฤษฎ์สลักษณ์ วิริยะ, ประพัฒน์

เป็นตามวา, และคณะ. การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพื้นที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการปทุมวัน 2565; 12(35): 1-16.

เกียรติศักดิ์ เชิญกลาง, ชัญญา อภิบาลกุล. ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการดำเนินงานการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2561; 4(2): 92-140.

ลักขณา ชื่นบาล, ประจักร บัวผัน, สุรชัย พิมหา. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2564; 21(3): 211-222.

จารุณี บุญไชย, ประจักร บัวผัน. การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการจัดการมูลฝอยในเขตเทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2560; 40(3): 54-66.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2023