แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
แรงจูงใจ, การสนับสนุนจากองค์การ, การปฏิบัติงานระบาดวิทยา, เจ้าหน้าที่สาธารณสุขบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ ประชากรที่ศึกษา คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบงานระบาดวิทยาที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 227 คน สุ่มแบบเป็นระบบ ได้จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 คน ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.98 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 ถึง วันที่ 14 ธันวาคม 2565 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า ภาพรวมระดับแรงจูงใจ ระดับการสนับสนุนจากองค์การ และระดับการปฏิบัติงานระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.82, (S.D=0.37), 3.88 (S.D.=0.44) และ 4.00 (S.D.=0.37) ตามลำดับ และพบว่าภาพรวมแรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การมีความสัมพันธ์ระดับสูงและระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.742, p-value<0.001) และ (r=0.670, p-value<0.001) ตามลำดับ และพบว่าตัวแปร 3 ตัวแปร ประกอบด้วย ปัจจัยจูงใจด้านความรับผิดชอบ การสนับสนุนจากองค์การด้านการบริหารจัดการ และปัจจัยค้ำจุนด้านสถานภาพของวิชาชีพ มีผลและสามารถร่วมกันในการพยากรณ์การปฏิบัติงานระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ร้อยละ 67.1 (R2=0.671, p-value<0.001)
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2563). มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติงานทีมเฝ้าระวังสอบสวนควบคุมโรคและภัยสุขภาพ 2563. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: หจก.แคนนา กราฟฟิค.
สำนักระบาดวิทยา. (2563). มาตรฐาน และแนวทางปฏิบัติงานทีมเฝ้าระวัง สอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT). พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร : หจก.แคนนา กราฟฟิค.
Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B.B. (2017). The Motivation To work. New Brunswick : Transaction Publishers.
ทองหล่อ เดชไทย. (2549). หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. (2565ข). ข้อมูลบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ปีงบประมาณ 2565. บุรีรัมย์: สำนักงานสาธารณสุข. (เอกสารอัดสำเนา).
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. (2565ก). ผลการประเมินการปฏิบัติราชการด้านสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ รอบที่ 1 ประจำปี 2565. บุรีรัมย์: สำนักงานสาธารณสุข. (เอกสารอัดสำเนา).
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. ข้อมูลบุคลากรสาธารณสุขจังหวัด บุรีรัมย์ ปีงบประมาณ 2565. บุรีรัมย์: สำนักงานสาธารณสุข. (เอกสารอัดสำเนา); 2565.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavior sciences. "2" ^"nd" edition. Hillsdale NJ: Lawrence Erlbaum.
เปรมากร หยาดไธสง, และประจักร บัวผัน. (2565). ได้ศึกษาแรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 22(2), 175-188.
Likert, Rensis. (1967). The human organization: Its management and values. New York: McGraw-Hill.
สำเริง จันทรสุวรรณ และสุวรรณ บัวทวน. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์.ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Elifson, K.W., Runyon, R.P., & Haber, A. (1990) . Fundamentals of social statistics. "2" ^"nd" edition. New York: McGraw-Hill.
ประจักร บัวผัน. (2558). หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ยุทธนา แก้วมืด, ประจักร บัวผัน, และสุรชัย พิมหา. (2563). ปัจจัยแห่งความสำเร็จและแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 20(2), 47-59.
อิ่มฤทัย ไชยมาตย์ และประจักร บัวผัน. (2564). แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(3), 172-185.
วิลาสินี วงค์ผาบุตร และประจักร บัวผัน. (2564). แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(3), 186-199.
สมคิด บางโม. (2558). องค์การและการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: วิทยาพัฒน์.
นิชาภา หลังแก้ว และชนะพล ศรีฤาชา. (2564). บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อมีผลต่อการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 15(38), 685-704.
สิริสา เทียมทัน และประจักร บัวผัน. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงาน ป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยมข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา), 18(1), 49-61.
สุขสันต์ สลางสิงห์ และชนะพล ศรีฤาชา. (2562). บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 12(3), 604-612.
นิลวรรณ ทองพูล, ประจักร บัวผัน, และมกราพันธุ์ จูฑะรสก. (2562). แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 19(3), 131-141.
สุพัตรา ถิ่นไผ่บูรณ์, ศรีบุษย์ ศรีไชยจรูญพง, และชนะพล ศรีฤาชา. (2564). บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 14(1), 431-440.
นภาจรัส พรมรี และประจักร บัวผัน. (2564). ปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานเวชสถิติในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 7. วารสารวิจัย มข (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(2), 179-191
นาตยา คำเสนา, ประจักร บัวผัน, และมกราพันธุ์ จูฑะรสก. (2563). แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 20(2), 84-95.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว