คุณลักษณะส่วนบุคคลและวัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วริษา เศรษฐวิวัฒน์ สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุวิทย์ อุดมพาณิชย์ สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ประจักร บัวผัน สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและวัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น จำนวน 2,353 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่ง  ชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 151 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สำหรับเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.96 และใช้แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก สำหรับเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 12 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 20 มกราคม ถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

          ผลการศึกษา พบว่า ภาพรวมระดับวัฒนธรรมองค์กรและระดับความสุขในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุข อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.12 (S.D.=0.54) และ 4.22 (S.D.=0.42) ตามลำดับ โดยอายุและภาพรวมวัฒนธรรมองค์กรมีความสัมพันธ์ระดับต่ำและสูงกับความสุขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.226,  p-value=0.005 และ 0.815, p-value<0.001) ตามลำดับ ทั้งนี้ ตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวแปร ได้แก่ วัฒนธรรมองค์กรและด้านตัวประสานองค์กร ด้านเงื่อนไขแห่งความสำเร็จ และด้านคุณลักษณะเด่นขององค์กร มีผลและสามารถร่วมกันในการพยากรณ์ความสุขในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น ได้ร้อยละ 67.5 (R2 = 0.675, p-value<0.001)

References

World Health Organization (WHO). Global strategy on human resources for health: Workforce 2030. Switzerland: WHO Library Cataloguing-in-Publication Data; 2016.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี (ด้านการสาธารณสุข). นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2559.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. การบริหารจัดการองค์ความรู้สู่ความสุขคนทำงาน.นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2561.

John R. Schermerhom, Richard N. Osbom, Mary Uhl-Bien, James G. Hunt. Organizational Behavior 12th edition. United States of America: John Wiley & Sons; 2011.

Kim s. Cameron & Robert E.Quinn. Diagnosing and changing organization culture. United States of America; 2011.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. กลุ่มงานบริหารงานทรัพยากรบุคคล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น; 2565.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง (ลักษณะงานโดยทั่วไป). นนทบุรี; 2554.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. "2" ^"nd" .New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates; 1998.

สุขสันต์ สลางสิงห์ และชนะพล ศรีฤาชา. บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลจังหวัดมุกดาหาร.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ.2562;12(3).

Likert, R. The human organization: Its management and value. New York :McGraw-Hill; 1967.

สำเริง จันทรสุวรรณ และสุวรรณ บัวทวน.ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์.ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.

Elifson. Kirk W, Richard P, Runyon, Audrey Haber. Fundamentals of Socials Statistics. 2nd ed. New York: McGraw –Hill, Inc.19; 1990.

ทิพรฎาร์ คุยแก้วพะเนาว์ และชนะพล ศรีฤาชา. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติการป้องกันปัญหายาเสพติดของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2561;11(4): 47-57.

ลักษณาพรรณ แก้วมูลมุข และสุวิทย์ อุดมพาณิชย์. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานพัฒนาคุณภาพการบริหาร จัดการภาครัฐของผู้อำนวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น.การศึกษาอิสระสาธารณ สุขศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารสาธารณสุขบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย ขอนแก่น; 2560.

Robin, Stephen P. and Judge Timothy A. Organization Behavior. Edited by 16th Boston: Pearson Education; 2015.

ทัศนีย์ พงษ์สุพรรณ ประพรทิพย์ คุณากรพิทักษ์ และนวัตกร หอมสิน. วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งความสุขของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระถมศึกษาหนองคาย เขต 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์; 2562. 5(3): 218-231.

แหวนเพชร ไชยะวง และฐิติมา ไชยะกุล. วัฒนธรรมองค์การและความผูกพันต่อองค์การของพนักงานกลุ่มธนาคารพาณิชย์รัฐในนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว. วารสารวิจัย มข. สาขามนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับบัณฑิตศึกษา); 2563. 8(1): 127-139.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2023