สุนทรียทักษะภาวะผู้นำและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อ การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
สุนทรียะทักษะภาวะผู้นำ, การสนับสนุนจากองค์การ, การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) ครั้งนี้ เพื่อศึกษาสุนทรียทักษะภาวะผู้นำและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ใช้ศึกษาคือ นักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 331 คน สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 151 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งแบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พบว่า ข้อคำถามทุกข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และวิเคราะห์หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช โดยรวมทุกด้านเท่ากับ 0.97 เก็บข้อมูลระหว่าง 5 ธันวาคม 2565 - 5 มกราคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยค่ะ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า ภาพรวมระดับสุนทรียะทักษะภาวะผู้นำ การสนับสนุนจากองค์การ และการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุข อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.34 (S.D.= 0.26), 4.16 (S.D.= 0.22) และ 4.14 (S.D.= 0.22) ตามลำดับ ภาพรวมสุนทรียะทักษะภาวะผู้นำและการสนับสนุนจากองค์การ มีความสัมพันธ์ระดับสูงกับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.786, p-value <0.001 และ r=0.721, p-value <0.001) และพบว่าตัวแปรอิสระ 5 ตัวแปร ได้แก่ สุนทรียะทักษะภาวะผู้นำด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการสอนงาน ด้านการสื่อสาร และการสนับสนุนจากองค์การด้านวิธีการดำเนินการ และด้านบุคลากร มีผลและสามารถร่วมกันในการพยากรณ์การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุข ได้ร้อยละ 73.5 (R2 = 0.735, p-value <0.001) และจากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุขเป็นการปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ควรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติงาน เป็นปัจจัยที่มีผลให้การปฏิบัติงานให้บรรลุตามเป้าหมาย และหัวใจสำคัญในการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุข คือ การบริการ
References
กระทรวงสาธารณสุข.นโยบายกระทรวงสาธารณสุข ปี 2564-2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2563.
กระทรวงสาธารณสุข.ยุทธศาสตร์บุคลากรเป็นเลิศ.กรุงเทพฯ:กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2560.
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน; 2554.
ทองพูล, ประจักร บัวผัน, มกราพันธุ์ จูฑะรสก. แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2562; 19(3): 131-141.
กฤษณะ อุ่นทะโคตร, ประจักร บัวผัน, สุรชัย พิมหา. ปัจจัยแห่งความสำเร็จและสุนทรียทักษะผู้นำต่อการประเมินโครงการของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2562; 12(2): 7-18.
มณีรัตน์ ช่างไม้, ชนะพล ศรีฤๅชา. คุณลักษณะส่วนบุคคลและสุนทรียทักษะผู้นำที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดขอนแก่น.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2561; 11(4): 65-72.
Crosbie R. Learning the soft skills of leadership. Industrial and Commercial Training. 2005; 37(1): 45-51.
นภาจรัส พรมรี, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานเวชสถิติในโรงพยาบาลชุมชน
เขตสุขภาพที่ 7. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2564; 21(2): 179-191.
จินตนา กีเกียง, ประจักร บัวผัน. บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2562; 19(2): 154-165.
สุขสันต์ สลางสิงห์, ชนะพล ศรีฤาชา. บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2562; 12(3): 604-612.
หล่อ เดชไทย. หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์: 2545.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. เอกสารประกอบการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข รอบที่ 1. ขอนแก่น; 2565.
ศรัณยา พันธุ์โยธา, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยทางการบริหารและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุขใน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2564; 21(2): 152-165.
Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Inc.; 1998.
Likert R. The human organization: its management and values. New York: McGraw-Hill; 1967.
สำเริง จันทรสุวรรณ, สุวรรณ บัวทวน. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์.ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.
Kirk WE, Richard PR, Audrey H. Fundamentals of social statistics. 2nd ed. New York: McGraw-Hill; 1990.
Dixon J, Belnap C, Albrecht C, Lee K. The importance of soft skills. Corporate Finance Review. 2010; 14(6): 35-38.
Ngang TK. Soft Skills for Leadership. Malaysia: School of Education Studies, Universiti Sains Malaysia; 2012.
สุระศักดิ์ เจริญคุณ, ชนะพล ศรีฤาชา. สุนทรียทักษะภาวะผู้นำที่มีผลต่อกาปฏิบัติงานตามสมรรถนะการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2563; 13(3): 69-77.
ประจักร บัวผัน. หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.
วิศรุตา ทองแกมแก้ว. เอกสารประกอบการสอน 2551303 องค์กรและการจัดการ. สงขลา: เหรียญทองการพิมพ์; 2554.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. การบริหารจัดการและการบริหารการพัฒนาของหน่วยงานของรัฐ.กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท; 2550.
ธนัญชนก รัตนสิมากร. ปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: ปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2565.
สุพัตรา ถิ่นไผ่บูรณ์, ศรีบุษย์ ศรีไชยจรูญพง, ชนะพล ศรีฤาชา. บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2564; 14(1): 431-440.
ทักษิณา บุญขันธ์, ประจักร บัวผัน, ชัญญา อภิปาลกุล. คุณลักษณะส่วนบุคคลและสุนทรียทักษะผู้นำที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2562; 19(3): 142-153.
รัตนาภรณ์ ประชากูล, ชนะพล ศรีฤาชา. สุนทรียทักษะภาวะผู้นำที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดขอนแก่น วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2562; 12(1): 86-94.
กรรณิการ์ เบ็ญจวนิช, ชัญญา อภิปาลกุล. สุนทรียทักษะภาวะผู้นำที่มีผลต่อบทบาทในการควบคุมกำกับการดำเนินงานตามโครงการของผู้อำนวยการ
โรงพยาบาลส่งเสริสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2560; 5(4): 569-588.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว