ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพ ของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พร้อมเพรียง มาศรี สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มกราพันธุ์ จูฑะรสก สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ประจักร บัวผัน สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การเข้าถึงบริการสุขภาพ, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การสนับสนุนทางสังคม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จำนวน 14,494 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 261 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 12 คน ซึ่งแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.67 ขึ้นไปและค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาช 0.97 ดำเนินการเก็บข้อมูล ระหว่างวันที่  8 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 8 มกราคม 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน โดยมีการกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม และการเข้าถึงบริการสุขภาพ อยู่ในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ย 2.43 (S.D. = 0.40), 2.56 (S.D.=0.37) และ2.65  (S.D.=0.34) ตามลำดับ โดยพบว่าภาพรวมการสนับสนุนทางสังคมและความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ระดับสูงและระดับปานกลางกับการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น (r=0.865, r=0.535, p-value<0.001) ตามลำดับ และพบว่าตัวแปรอิสระ ทั้ง 4 ตัวได้แก่ การสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์  ด้านสิ่งของ  ด้านข้อมูลข่าวสาร และด้านการประเมินมีผลและสามารถร่วมกันในการพยากรณ์การเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ได้ร้อยละ 76.4  (R2=0.764, p-value<0.001)

ดังนั้น เทศบาลนครขอนแก่นควรมีแนวทางการสนับสนุน ส่งเสริมการสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้สูงอายุในชุมชนโดยการให้คำชมเชยและเป็นตัวอย่างในการดูแลสุขภาพตนเองต่อผู้สูงอายุอื่นในชุมชน

References

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ. ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580 (ฉบับย่อ). กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2563.

กรมอนามัย. คู่มือแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2563-2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข. 2563.

Penchansky R, Thomas JW. The concept of access: definition and relationship to consumer satisfaction. Med Care. 1981; 19(2): 127-140.

Nutbeam D. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promot Int. 2000; 15(3): 259-267.

House JS. Work stress and social support. California: Addison Wesley Publishing. 1981.

เทศบาลนครขอนแก่น. แผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลนครขอนแก่น พ.ศ. 2566-2570. ขอนแก่น: เทศบาลนครขอนแก่น. 2564.

เทศบาลนครขอนแก่น. แผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลนครขอนแก่น พ.ศ. 2566-2570. ขอนแก่น: เทศบาลนครขอนแก่น. 2564

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือบริหาร กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2555 เล่มที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. 2554

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Inc.; 1988.

นิลุบล ดีพลกรัง. ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการทันตกรรมภาครัฐของผู้สูงอายุในเขตอำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2564; 3(1): 1-19.

Best JW. Research in education. 3rd ed. NJ: Prentice-Hall. 1977.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางการสาธารณสุข : กรณีศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์. 2560.

พิมพ์พลอย มหานุภาพ, โรจนี จินตนาวัฒน์, พนิดา จันทโสภีพันธ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการจัดการตนเองในผู้สูงอายุที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วารสารสภาการพยาบาล. 2565; 37(1): 108-124.

วันวิสา ยะเกี๋ยงงำ, ณิชารีย์ ใจคําวัง,พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย. ความรอบรู้และพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลทุ่งเซาะ อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 2563; 15(2): 97-116.

จิรานันท์ วงศ์สุวรรณ, ศิวพร อึ้งวัฒนา, สุกฤตา สวนแก้ว. การสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุอําเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่. พยาบาลสาร. 2563; 47(3): 267-276.

กรวิกา พรมจวง, เกียรติศักดิ์ แซ่อิว, สิตานันท์ จันทร์โต. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2564; 32(2): 233-246.

รุ่งเรือง กิจผาติ, นภชา สิงห์วีรธรรม, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, พินิจ ขอดสันเทียะ. อิทธิพลของแรงจูงใจต่อการดำเนินงานเชิงรุกเพื่อป้องกันโรคโควิด 19 ระลอกแรกในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุข. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2564; 30(5): 814-823.

นพรพรรณ ชัยนาม, ประจักร บัวผัน. การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลแวงใหญ่ อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2565; 22(2): 224-235.

ไอลดา ภารประดิษฐ์, ประจักร บัวผัน. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2562; 12(3): 623-631.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2023