การพัฒนารูปแบบการลดความเครียดจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 โดยการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตร่วมกับการประยุกต์ใช้ ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • ภัทรพล บุญยวง -
  • ลำพึง วอนอก
  • สุทิน ชนะบุญ

คำสำคัญ:

รูปแบบการลดความเครียด, ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต, การรับรู้ความสามารถของตนเอง, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, อสม.

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความเครียด ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติงานในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของ อสม. จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อพัฒนารูปแบบการลดความเครียดโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีหลักคือทฤษฎีส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตร่วมกับทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองเป็นตัวกำหนดกิจกรรมของรูปแบบ และเพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบ การศึกษามี 3 ระยะคือการวิเคราะห์สถานการณ์ การพัฒนารูปแบบและการประเมินผล ระยะที่ 1 เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจาก อสม. จำนวน 10 แบบเฉพาะเจาะจง และ 410 คน จากการสุ่มหลายขั้นตอนเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยแบสอบถามเชิงโครงสร้างและการบันทึกการสนทนา ระยะที่ 2 ผู้มีส่วนได้เสียจำนวน 10 คนจากการสุ่มแบบจำเพาะเจาะจงร่วมกันออกแบบรูปแบบการลดความเครียด และทำการทดลองใช้รูปแบบ กับ อสม. 49 คน ระยะที่ 3 ประเมินผลการใช้รูปแบบ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถาม ข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณโดยวิเคราะห์ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน Paired t-test

     ผลการวิจัยพบว่าในช่วงของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อสม. มีความเครียดในระดับสูง = 44.45, S.D. =15.84) ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตอยู่ในระดับปานกลาง ( = 52.05, S.D. =9.20) และการรับรู้ความสามารถของตนเองอยู่ในระดับปานกลาง ( = 35.20, S.D. =7.40) สาเหตุหลักของความเครียดคือความรับผิดชอบของ อสม. เพิ่มขึ้นและไม่เคยมีประสบการณ์ในการจัดการความเครียด ข้อมูลเหล่านี้นำมาสร้างรูปแบบการจัดการความเครียดโดยอาศัยทฤษฎีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต และการรับรู้ความสามารถของตนเอง ได้ 5 กิจกรรม คือ
1) กลุ่มสัมพันธ์ 2) แลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการความเครียด
3) การค้นหาการจัดการความเครียด 4) บทบาทสมมุตติ 5) ฝึกทักษะความสามารถของตนเอง เมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานค่าเฉลี่ยของคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตอยู่ในระดับมากที่สุด คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองมีความเชื่อมั่นระดับมาก และคะแนนเฉลี่ยความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง ก่อนและหลังการใช้รูปแบบ
ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตและการรับรู้ความสามารถของตนเองเพิ่มขึ้นและความเครียดลดลงมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) และผู้ที่มีส่วนได้เสียพึงพอใจต่อรูปแบบในแต่ละด้านในระดับมาก
และมากที่สุด

References

Worldometer. COVID-19 CORONAVIRUS PANDEMIC. [Internet]. 2022

[cited 11 March 2022]. Available from: https://www.worldometers.info/coronavirus/

กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2565].

เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ind_world.php.

WHO. Mental health and COVID-19. 2021 [Internet]. [cited 11 March 2022].

Available from: https://www.euro.who.int/en/health-topics/health-emergencies/coronavirus-covid-19/publications-and-technical-guidance/mental-health-and-covid-19.

Adamson Maheen, Phillips Angela, Seenivasan Srija, Martinez Julian, Grewal Harlene, Kang Xiaojian, et al. International prevalence and correlates of psychological stress during the global COVID-19 pandemic. 2020; 17(24): 9248.

ดนัย สังข์ทรัพย์, วราภรณ์ ไชยโคตร. ภาวะสุขภาพจิตของผู้รับบริการช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส 2019 (โควิด-19) ระลอกใหม่. พุทธชินราชเวชสาร. 2564; 38(2): 169-180.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. ความรู้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับเจ้าหน้าที่และ อสม.(นักรบเสื้อเทาออกเคาะประตูบ้านทุกหลังคาเรือน). [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2565]. เข้าถึงได้จาก: www.hss05.com/pdf/คู่มือ อสม. COVID_19.pdf

อภิญญ์พัทร์ กุสิยารังสิทธิ์. สื่อที่ใช้ในการรณรงค์ของภาครัฐเพื่อป้องกันโรคระบาดโควิด-19

ของประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทรพระนคร. 2563; 5(2): 77-86.

วัชรินทร์ เสาะเห็ม, พรรณี บัญชรหัตถกิจ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตร่วมกับแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการความเครียดของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์. 2563; 13(3): 44-55.

บูรฉัตร กริษฐาทิพย์, กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคมในการเผชิญความเครียด กับพฤติกรรมการเผชิญความเครียดของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2559; 10(2): 1-7.

Stephen Kemmis, Robin McTaggart. PARTICIPATORY ACTION RESEARCH Communicative Action and the Public Sphere. Denzin & Lincoln (Strategies). 2007; 271-330.

Jorm AF, Korten AE, Jacomb PA, Christensen H, Rodgers B, Pollitt PJMjoA. “Mental health literacy”: a survey of the public's ability to recognise mental disorders and their beliefs about the effectiveness of treatment. 1997; 166(4): 182-6.

Bandura A. Self-Efficacy. [Internet]. 1994 [cited 11 March 2022].

Available from: https://www.uky.edu/~eushe2/Bandura/BanEncy.html.

เอมอร กฤษณะรังสรรค์. รูปแบบการคิด (Cognitive Style) และ รูปแบบการเรียนรู้ (Learning Style). [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 2565].

เข้าถึงได้จาก: https://www.oocities.org/vinaip/articles/CsLs.htm.

สุลี ถาวรกลุล, สมคิด ปราบภัย. ผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดด้วยการประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อความเครียดจากการฝึกปฏิบัติทางการพยาบาลเป็นครั้งแรกของนิสิตพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2564; 193-205.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023