การนำนโยบายส่งเสริมการเข้าถึงวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม จังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
ไวรัสโคโรนา 2019, การนำนโยบายไปปฏิบัติ, วัคซีน, 6 เสาหลักของระบบสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสมผสานเพื่อพัฒนารูปแบบการนำนโยบายส่งเสริมการเข้าถึงวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม จังหวัดเพชรบูรณ์ ภายใต้แนวคิด 6 เสาหลักของระบบสุขภาพ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) การศึกษากระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจัดหมวดหมู่ตามแนวคิด 6 เสาหลักของระบบสุขภาพด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา 2) การสร้างรูปแบบการนำนโยบายส่งเสริมการเข้าถึงวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปปฏิบัติ 3) ประเมินประสิทธิผล โดยนำรูปแบบมาทดลองใช้กับบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม เพื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการนำนโยบายส่งเสริมการเข้าถึงวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปปฏิบัติ ประกอบด้วย 1) การบริหารและ การจัดการอย่างมีธรรมมาภิบาล 2) กำลังคนด้านสุขภาพ 3) เวชภัณฑ์ วัคซีน ยาและเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข 4) ระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพ 5) การเงินการคลังด้านสุขภาพ 6) ระบบบริการ เมื่อพิจารณาระบบสุขภาพ 6 Building blocks หลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น (p-value <0.001) สำหรับการนำนโยบายไปปฏิบัติของบุคลากรสาธารณสุข หลังการทดลองมีค่าคะแนน เพิ่มขึ้น (p-value <0.001) ข้อเสนอแนะ ควรกำหนดบทบาทในการให้บริการฉีดวัคซีนของบุคลากรให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย. นนทบุรี: ทีเอส อินเตอร์พริ๊นท์ จำกัด; 2563.
Public Health Ministry. COVID-19. [Internet]. 2020 [cited 2022 June 20]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประจำวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2565. [เข้าถึงเมื่อ 25 ก.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/source/250765.
ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 138 ตอนพิเศษ 104 ง หน้า 27. วันที่ 15 พฤษภาคม 2564.
กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 23 กรกฎาคม 2565. เพชรบูรณ์: กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์; 2565.
วรเดช จันทรศร. ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สหายบล็อกและการพิมพ์; 2548.
World Health Organization. Monitoring the Building Blocks of Health System: A Handbook of Indicators and Their Measurement Strategies. Geneva: WHO Document Production Service; 2010.
Cronbach. Essentials of Psychological Testing. NY: Harper and Row; 1997.
Walter Williams. Studying Implementation: Methodological and Administrative Issues. NJ: Chatham House Oublishers, Inc.; 1982.
วนิดา สมภูงา, มะลิ สุปัตตี. ประสิทธิผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรคเบาหวานด้วยหลักการ 6 building blocks จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2555; 15(1): 142-155.
มัณฑริกา แพงบุดดี, วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์. การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเพื่อป้องกันโรคไตเรื้อรังในชุมชนตำบลหนองแดง อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2564; 14(3): 179-191.
มะลิวัลย์ อังคณิตย์, เรวดี สมทรัพย์, บุษบา วงค์พิมล. รูปแบบการพัฒนาคุณภาพระบบบริการพยาบาลโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มงานวิจัยและพัฒนาการพยาบาล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2563; 38(1): 107-116.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว