พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทัพรั้ง อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • มัตนา ภูมิโคกรักษ์ -
  • ขวัญชนก สุวรรณ
  • พรทิพย์ แก้วชิณ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลตนเอง, โรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทัพรั้ง อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทัพรั้ง อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 222 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน 3) แบบสอบถามประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และ 4) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation)

     ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานอยู่ในระดับปานกลางจำนวน 135 คน ร้อยละ 60.8 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.97, S.D.=2.91 8 มีการรับรู้ภาวะสุขภาพด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรคเบาหวาน อยู่ในระดับสูง =4.11(S.D.=0.35) และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการรักษาอยู่ในระดับสูง =4.33 (S.D.=0.35) ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ พบว่า เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ดัชนีมวลกาย ระยะเวลาที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน และมีการรับรู้อุปสรรคของการดูแลตนเองมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05

References

สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation: IDF). [อินเทอร์เน็ต]. 2558

[เข้าถึงเมื่อ 27 มีนาคม 2565].

เข้าถึงได้จาก: https://www.diabetesatlas.org/upload/resources/previous/files/7/IDF%20Diabetes%20Atlas%207th.pdf

สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค.กรมควบคุมโรค รณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2564 ตระหนักถึงการดูแลรักษาโรคเบาหวาน ให้ได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 27 มีนาคม 2565].

เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc&news_views=3060

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี:

แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย

พ.ศ. 2554-2563. 2554: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2554 [เข้าถึงเมื่อ 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://dmsic.moph.go.th/index/detail/1505

สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ค่าเป้าหมายผู้ป่วยรายใหม่เบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2564 รายเขตสุขภาพ - จังหวัด – อำเภอ กระทรวงสาธารณสุข.

[อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 27 มกราคม 2565].

เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission/documentsdetail.php?id=12618&tid=31&gid=1-027

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. Determining aample aize for research activities. Educational and psychological measurement. 1970; 30(3): 607-610.

Bloom BS. Learning for mastery. UCLA-CSEIP evaluation comment. Los Angeles: University of California. 1968.

Best JW. Research in education. New Jersey: Prentice Hall. 1997.

Janz, N. K. & Becker, M. H. The Health belief model: A decade later. Health Education Quarterly. 1984; 11(1): 1-47.

ชุติมา สร้อยนาค จริยาวัตร คมพยัคฆ์ และพรศิริ พันธสี การศึกษาแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของมุสลิมวัยทำงาน. วารสารพยาบาลทหารบก ปีที่ 19 (ฉบับพิเศษ). 2561; 267-277.

สุวัฒน์ ศิริแก่นทราย ความเชื่อด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลกุดจิก อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก. 2562; 5(1): 55-68.

Stretcher, V. J., & Rosenstock, I. M. The heath belief model. In K. Glanz, F. M. Lewis, &B. K. Rimer, (eds.), Health behavior and health education: Theory, research, and proactive. San Francisco: Jossey-Bass. 1997; 31-43.

Chiou, A. F., Wang, H. L., Chan, P., Ding, Y. A., Hsu, K. L., & Kao, H. L. Factors associated with behavior modification for cardiovascular risk factors in patients with coronary artery disease in Northern Taiwan. Journal of Nursing Research, 2009; 17(3): 224-225.

เกษริน อุบลวงศ์ และนัยนา พิพัฒน์วณิชชา.ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันโรคสมองเสื่อมของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิทยาลัยบรมราชชนนี กรุงเทพ. 2560; 33(2): 14-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2023