ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จากการระบาดของโรคโควิด - 19 ในจังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ฝนทิวา โคตรนาลา
  • กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์
  • ปรัชญ์ อินทรศักดิ์สิทธิ์
  • วิชุตา แสงเพชร์

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การถดถอยพหุโลจิสติก

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิต ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
(อสม.) จากการระบาดของโรคโควิด - 19 ในจังหวัดชัยภูมิ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 788 คน โดยใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานใช้สถิติ Multiple logistic regressionใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน

     ผลการวิจัยพบว่า อสม.เป็นเพศหญิงร้อยละ 82.61 โดยมีอายุเฉลี่ย 48.40 ปี ± 7.15 ปี ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 50-59 ปี ร้อยละ 50.38 ระดับคุณภาพชีวิตพบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ร้อยละ 61.27 ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ  พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ร้อยละ 42.39 รองลงมา ระดับดีมาก ร้อยละ 38.96 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตที่ดีของ อสม. ได้แก่ การไม่มีโรคประจำตัว (OR adj.= 1.63; 95% CI: 1.15 to 2.32; p-value = 0.006) ทักษะการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ ระดับดีมาก (ORadj.=1.73; 95% CI: 1.15 to 2.61;
p-value <0.001) ทักษะการสื่อสาร ระดับดีมาก (OR adj.= 1.86; 95%CI: 1.21 to 2.85; p-value = 0.008) ทักษะการตัดสินใจ ระดับดีมาก (OR adj.= 1.60; 95% CI: 1.08 to 2.35; p-value = 0.017)
ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ระดับดีมาก (OR adj.= 3.12; 95% CI: 2.14 to 4.55; p-value<0.001) ตามลำดับ

References

United Nations Industrial Development Organization [Internet]. 2021 [cited 2022 Jan 5].

Available from: https://www.unido.org/researchers/publications

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือ อสม. ยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร:ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2554.

คณะวิจัยวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุข ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.

คู่มือการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ในชุมชนของ อสม. 2564 งานวิจัยการถอดรูปแบบ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)

กรมสุขภาพจิต. รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต. [อินเตอร์เน็ต]. 2563.

[เข้าถึงเมื่อ 12 มกราคม 2565]

เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/ebook/files.PDF?fbclid=IwAR0zo679NjEffByZq4XPoMIAJf1 nj_HuEKdynnNe4E_R3fi9mA5bUaG04JM.

วราภรณ์ ปั้นบรรจงและพิศณุ พูนเพชรพันธ์. คุณภาพชีวิตการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2560; 10(1): 143-154

สุวรรณา หล่อโลหะการ และประพรศรี นรินทร์รักษ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของอาสาสมัครสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต.วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2564; 30(ฉบับเพิ่มเติม 3): 156-169.

Hsieh FY, Bloch D, Larsen M. A Simple Method of Sample Size Calculation for Linear and Logistic Regression. Statistics in medicine. 1998; 17(14): 1623-34.

Best J.W. Research in Education. New York: Prentice-Hall, Englewood cliffs. 1977.

Bloom BS. Taxonomy of educational objectives. The classification of educational goals. 1st ed. ed. New York: Longmans, Green. 1956.

Likert R. A technique for the measurement of attitudes. Archives of psychology. 1932.

กรมสุขภาพจิต. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL–BREF–THAI). [อินเตอร์เน็ต]. เชียงใหม่: 2545

[เข้าถึงเมื่อ 29 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/test/download/view.asp?id=17. 2545

กาญจนา ศักดิ์ชลาธร, นวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์, และ นิรัตน์ อิมามี. รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารเซนต์จอห์น. 2564; 23(32): 331-350.

จิตติยา ใจคำ, จักรกฤษณ์ วังราษฎร์, และอักษรา ทองประชุม. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ตามหลัก 3อ.2ส. ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ. 2564; 8(2): 1-24.

อารีย์ แร่ทอง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กรณีศึกษาตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2562; 15(3): 62-70.

อรวรรณ น้อยวัฒน์. สุขภาพกับคุณภาพชีวิต. [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.stou.ac.th/schools/shs/booklet/book553/pbhealth.html.

สุวรรณา หล่อโลหะการ, และ ประพรศรี นรินทร์รักษ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของอาสาสมัครสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2564; 30(3): S414-S422.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2023