ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ศุภรัตน์ เทียนแก้ว
  • สุพัฒน์ จำปาหวาย scphkk
  • อุทัยวรรณ นุกาศ
  • นงนุช บุญแจ้ง
  • กิ่งแก้ว แจ้งสวัสดิ์

คำสำคัญ:

ภาวะโภชนาการ, พฤติกรรมสุขภาพ, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

บทคัดย่อ

     การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ ระดับการศึกษา เงินไปโรงเรียน (ต่อวัน) อาชีพของผู้ปกครอง รายได้ของผู้ปกครอง (ต่อเดือน) และพฤติกรรมสุขภาพ กับภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 146 คน เก็บรวมรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95

     ผลการศึกษาพบว่าลักษณะทั่วไปของประชากร นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 60.96  ไม่มีโรคประจำตัวร้อยละ 92.47
อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 40.41 ได้เงินไปโรงเรียน 50 บาทขึ้นไป
(ต่อวัน) ร้อยละ 90.41 ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างร้อยละ 49.31 รายได้ของผู้ปกครอง (ต่อเดือน) 10,000 บาทขึ้นไปร้อยละ 52.74 มีภาวะโภชนาการปกติ ร้อยละ 54.11 มีพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 89.73 และพบว่า เพศ ระดับการศึกษา เงินไปโรงเรียน (ต่อวัน) อาชีพของผู้ปกครองรายได้ (ต่อเดือน) ของผู้ปกครอง และพฤติกรรมสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value>0.05)

References

ลัดดา เหมาะสุวรรณ, วิชัย เอกพลากร. [อินเทอร์เน็ต]. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายสุขภาพเด็กครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. 2557

[เข้าถึงเมื่อ 23 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงจาก: https://www.hiso.or.th/hiso5/report/report2014kid.php

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. 2564; 169-76.

กลุ่มรายงานมาตรฐานงานโภชนาการ.อุดรธานี:สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองแสงจังหวัดอุดรธานี; 2563.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิทยพัฒน์; 2556.

ธนิสร รัตนยัง, กานต์สุดา วันจันทึก, ประไพศรี ศิริจักวาล, จุรีภรณ์ นวนมุสิก. ศึกษาพฤติกรรมการรับประทานอาหารและภาวะโภชนาการเกินและอ้วนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดนครปฐม. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา. 2562; 20(3): 132-38.

ประภา อุนาสิทธิ์.ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนเขตตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. [รายงานการวิจัยสาธารณสุขศาสตรบัณฑิตสาขาสาธารณสุขชุมชน]. ขอนแก่น: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น; 2559.

ดลทิตย์ ศรีหมื่น, บุญร่วม แก้วบุญเรือง.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของนักเรียนมัธยมปลายในโรงเรียนเสลภูมิพิทยาคมจังหวัดร้อยเอ็ด.วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน. 2563; 3(2): 39-49.

ทิพย์ภารัตน์ ไชยชนะแสง.ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นในเขตเทศบาลเมืองและอำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 2560; 11(1): 109-12.

สรัญญา เปล่งกระโทก, เสาวมาศ เถื่อนนาดี. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับพลังอำนาจในการปฏิบัติพฤติกรรมบริโภคเพื่อสุขภาพและภาวะโภชนาการของวัยรุ่นในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น.วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2555; 30(2): 48-56.

อิศรา ศิรมณีรัตน์, ชลิต เชาว์วิไลย, พนิดา ตันสิน, ปราจิต ทิตย์โอสถ, อนงค์ รักษ์วงศ์, สมคิด สวนศรี, สายฝน บูชา.ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2562; 7(2): 334-5.

มัณฑินา จ่าภา. ศึกษาความรู้ทางโภชนาการทัศนคติต่ออาหารพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และ ภาวะโภชนาการของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2557; 6(2): 146-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2023