ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเครียดในผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลสนามสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ผู้แต่ง

  • กฤชปภพ เรืองสุวรรณ
  • ฤทธิชัย สามะหาดไทย
  • ลลิต์ภัทร ถิรธันยบูรณ์

คำสำคัญ:

ภาวะเครียด, โรงพยาบาลสนาม, ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, การตีตราทางสังคม

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเครียดในผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงพยาบาลสนามสมเด็จพระเจ้าตามสินมหาราช กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสนามสมเด็จพระเจ้าตามสินมหาราช จำนวน 84 คน ประกอบด้วย ลักษณะทั่วไป ภาวะสุขภาพกายและสุขภาพจิตเบื้องต้น การประเมินความเครียดด้วยแบบประเมินความเครียด (ST-5) ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือมีค่าความเชื่อมั่น Cronbach’s alpha coefficient ของแบบประเมินทั้งชุดเท่ากับ 0.85 การประเมินความเสี่ยงซึมเศร้าด้วยแบบสอบถามคัดกรองภาวะซึมเศร้า (2Q) วิเคราะห์ความไวร้อยละ 97.3 ความจำเพาะต่ำร้อยละ 45.6 และการรับรู้ปัจจัยกระตุ้นความเครียดด้วยแบบสอบถาม ตรวจสอบความตรงกับเนื้อหาเท่ากับ 0.83 และตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือมีค่าความเชื่อมั่น Cronbach’s alpha coefficient ของแบบประเมินเท่ากับ 0.75  นำเสนอข้อมูลด้วยจำนวน ร้อยละ  ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แสดงความชุกของภาวะเครียดเปรียบเทียบกลุ่มที่มีภาวะเครียดต่ำกับมีภาวะเครียดปานกลางขึ้นไป โดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์ และสถิติทดสอบฟิสเชอร์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีความชุกของภาวะเครียดปานกลางขึ้นไปจำนวน 14 ราย ร้อยละ 16.67 ปัจจัยที่สัมพันธ์ระหว่างภาวะเครียดคือวันที่ตอบแบบสอบถามภายใน 4 วันแรก
(p-value<0.001) ปัจจัยกระตุ้นความเครียดที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คือ ความกังวลต่อภาระหนี้สินระหว่างรักษาตัว (p-value=0.030) และการถูกมองเป็นคนชอบสังสรรค์ (p-value=0.030)

References

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) questions and answers [Internet]. 2020 [cited 2021 Nov 8].

Available from: https://www.who.int/Thailand/ emergencies/novel-coronavirus-2019/q-a-on-covid-19/q-a-on-covid-19-general

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่และสะสม. [อินเทอร์เน็ต]. 2564

[เข้าถึงเมื่อ 5 พ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/ viralpneumonia/file/scoreboard/scoreboard_09112564.pdf

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการฟื้นฟูจิตใจในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 9 พ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/covid19/pnews/files/แนวทางการฟื้นฟูจิตใจในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา%202019.pdf

กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูแลจิตใจในโรงพยาบาลสนาม [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต.2564 [เข้าถึงเมื่อ 9 พ.ย. 2564].

เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/covid19/pnews/files/แนวทางการดูแลจิตใจในโรงพยาบาลสนาม%20ฉบับปรับปรุงครั้งที่%201.pdf

วรินทิพย์ สว่างศรี, นันทยุทธ หะสิตะเวช, ชลธิชา แย้มมา, ณัฐปพน รัตนตรัย, ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์. ความชุกของการรับรู้ความเครียด ภาวะซึมเศร้า และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยโรคโควิด 19 เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2564

[เข้าถึงเมื่อ 8 พ.ย. 2564]. 29(2): 114-24.

Dai LL, Wang X, Jiang TC, Li PF, Wang Y, Wu SJ, et al. Anxiety and depressive symptoms among COVID-19 patients in Jianghan Fangcang Shelter hospital in Wuhan, China. [Internet]. 2020 [cited 2021 Nov 8]. Available from: https:// journals.plos.org/plosone/article/article/file?id=10.1371/journal.

Bo HX, Li W, Yang Y, Wang Y, Zhang Q, Cheung T, et al. Posttraumatic stress symptoms and attitude toward crisis mental health services among clinically stable patients with COVID-19 in China. [Internet]. 2020 [cited 2021 Nov 8]. Available from: https://doi:10.1017/S0033291720000999

Chua SE, Cheung V, McAlonan GM, Cheung C, Wong JW, Cheung EP, et al. Stress and psychological impact on SARS patients during the outbreak. Can J Psychiatry. [Internet]. 2020 [cited 2021 Nov 8]. 49(6): 385-39. Available from: https://journals.sagepub.com/doi/pdf/10.1177/070674370404900607

Wu KK, Chan SK, Ma TM. Posttraumatic stress, anxiety, and depression in survivors of severe acuterespiratory syndrome (SARS). J Trauma Stress. [Internet]. 2020 [cited 2021 Nov 8]. 18(1): 39-42. Available from: https://www.nc

bi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7166878/pdf/JTS-18-39.pdf

อรวรรณ ศิลปะกิจ. แบบวัดความเครียดฉบับศรีธัญญา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2564; 16(3): 177.

พรชนก นันตะเสนีย์, ชวนชม ธนานิธิศักดิ์. ความสัมพันธ์ของภาวะซึมเศร้าต่อระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุในโรงพยาบาลเจ้าคุณไพบูลย์พนมทวน. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2562; 14(1): 91-104.

สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, ธรณินทร์ กองสุข, ณรงค์ มณีทอน, เบญจลักษณ์ มณีทอน, กมลเนตร วรรณเสวก และจินตนา ลี้จงเพิ่มพูน. การพัฒนาและความเที่ยงตรงของแบบคัดกรองโรคซึมเศร้าชนิด 2 คำถามในชุมชนไทยอีสาน. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2550; 52(2): 138-14.

Surapon Nochaiwong, Chidchanok Ruengorn, Ratanaporn Awiphan, Penkarn Kanjanarat, Yongyuth Ruanta, Chabaphai Phosuya, et al. COVID-19 Public Stigma Scale (COVIDPSS): development, validation,psychometric analysis and interpretation. BMJ journal; 2021.

สุระ สุพรหมอินทร์, สุณี อาวรณ์. ประสิทธิผลการจัดการดูแลทางสังคมและจิตใจของผู้ป่วยโควิด -19 ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสนาม จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 2564; 2(2): 205-11.

รายงานสถานการณ์ โควิด-19 (COVID-19 situation report). [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข; [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.ddc.moph.go.th/

Lazarus, R. S, Folkman, S. Stress Appraisal and Coping. New York: Springer Publishing Company; 1984.

Boyd, M. A., & Nihart, M. A. Phychiatric nursing contemporary practice. Philadelphia. [Internet]. 1998 [cited 2021 Nov 8].

Available from: https://books.google.co.th/books?hl=en&lr=&id=3UUuXw7ISM0C&oi=fnd&pg=PR23&dq=Boyd,+M.+A.,+%26+Nihart,+M.+A.+ (1998).

อำพวรรณ์ ยวนใจ. COVID-19 กับการตีตราทางสังคม: บทบาทพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์. 2563; 32(1): 89-97.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2023