ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการป้องกันโรค, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, การรับรู้บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอ
น้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างคืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 230 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน ทุกข้อมีค่า Index of item objective congruence (IOC) ตั้งแต่ 0.67 ขึ้นไปและค่าความเที่ยง
ของเครื่องมือโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติการถดถอยลอจิสติกอย่างง่ายและการถดถอยพหุลอจิสติก
ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของ อสม. อยู่ในระดับดี ร้อยละ 81.74 (95%CI: 76.12 ถึง 86.51) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงระดับสูง (Adjusted OR=3.21, 95% CI: 1.25-8.27, p-value=0.015) การรับรู้ความรุนแรงระดับสูง (Adjusted OR=3.43, 95% CI: 1.34-8.74, p-value=0.010) การรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันโรคระดับสูง (Adjusted OR=3.25, 95% CI: 1.19-8.83, p-value=0.021) และแรงจูงใจด้านสุขภาพในการป้องกันโรคระดับสูง (Adjusted OR=3.01, 95% CI: 1.13-7.95, p-value=0.026)
ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ควรส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้มีการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ถูกต้อง
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค
กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php
Becker. The Health Belief Model and Sick Role Behavior. Health Education & Behavior. 1974; 2 (4): 409-419. doi:10.1177/109019817400200407.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค ขอความร่วมมือประชาชนเคร่งครัดมาตรการ D-M-H-T-T-A. [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค
กระทรวงสาธารณสุข; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=19035&deptcode=brc
จิตรา มูลทิ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการ สคร. 9. 2564; 27(2): 5-14.
อภิวดี อินทเจริญ, คันธมานท์ กาญจนภูมิ, กัลยา ตันสกุล, สุวรรณา ปัตตะพัฒน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2564; 3(2): 19-30.
สุภาภรณ์ วงธิ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.
นิธินันท์ เจริญบัณฑิตย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัญฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.
กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, นวพร ดำแสงสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร. 2563; 14(2): 92-103.
สรวุฒิ เอี่ยมนุ้ย. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการเฝ้าระวังและป้องกัน โรคโควิด-19 อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. 2564; 1 (2): 75-90.
Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression [Internet]. New York: Wiley. 1998 [cited 2021]. Available from: https://core.ac.uk/download/pdf/205199338.pdf
Best JW. Research in Education. 3rd ed. Englewood cliffs, New Jersey: Prentice. Hall Inc.; 1981.
สุภาภรณ์ ชูเชิดรัตนา, จารุเนตร ศรีคำสุข, ชญาณ์นันท์ ผาคำ, ธัญวรัตม์ เทพอุดม, ปิยมน พวงคำ, พันทิภา หมื่นโกฏดี และคณะ. ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของพนักงานรักษาความปลอดภัย มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2564; 15(2): 78-89.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว