การศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่วงการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของประชาชน จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ปวีณ์ภัสร เศรษฐสิริโชติ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมเสี่ยง, พฤติกรรมการเฝ้าระวังและป้องกัน, โรคโควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19
ของประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ และเพื่อศึกษาพฤติกรรมการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 ของประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักคือประชาชนจังหวัดศรีสะเกษที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 จำนวน 36 คน และไม่ติดเชื้อโรคโควิด-19 จำนวน 36 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง
ใช้วิธีการสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลหลัก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured interview) เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลจากการบันทึกเทปที่ได้จากการสัมภาษณ์เพื่อสรุปพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 ของประชาชนจังหวัด
ศรีสะเกษ และพฤติกรรมการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 ของประชาชนจังหวัด
ศรีสะเกษ ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องและความสอดคล้องของข้อมูลจากการตีความหมาย โดยใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation)

ผลการวิจัยพบว่า 

  1. พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 ของประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ การใช้พฤติกรรมในพื้นที่สาธารณะรวมถึงการใช้พฤติกรรมในครอบครัว โดยพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ได้มีการปรับตัว พฤติกรรมในครอบครัวที่เป็นพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การรับประทานอาหารร่วมกันโดยไม่ใช้ช้อนกลาง การใช้สิ่งของร่วมกัน สำหรับพฤติกรรมเสี่ยงที่ประชาชนไม่สามารถควบคุมได้คือการใช้พฤติกรรมที่มีการป้องกันและเฝ้าระวังความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 อยู่แล้วแต่ยังสามารถติดเชื้อได้
  2. พฤติกรรมการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 ของประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ คือความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ได้แก่ การฉีดวัคซีน การปฏิบัติตามมาตรการของทางราชการ การออกกำลังกาย การมีโภชนาการที่ถูกต้อง รวมถึงการจัดการความเครียดจะช่วยส่งเสริมร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง สามารถป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 ได้ นอกจากนี้ยังมีด้านสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นและพัฒนาการทางจิตวิญญาณที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนต่อมาตรการการป้องกันโควิด-19 ซึ่งนอกจากจะเป็นการป้องกันตนเองแล้วยังช่วยการป้องกันบุคคลรอบข้างและคนในครอบครัวซึ่งแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคม

References

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) pandemic [Internet].

[cited 2022 May 19]. Available from:

https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019

ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ข้อมูลยอดผู้ติดเชื้อใน

ประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 3 มี.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก

https://www.infoquest.co.th /2022/179318.

กัมปนาท โคตรพันธ์, นิยม จันทร์นวล. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรม

การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในจังหวัดมุกดาหาร. การประชุมวิชาการ

ระดับชาติ มอบ. วิจัย ครั้งที่ 16. 2565; 148-160.

จันทิมา ห้าวหาญ, พรรณวดี ขำจริง. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 “Community-led

Social Innovation in the Era of Global Changes amidst Covid-19 Crisis: นวัตกรรมทาง

สังคมของชุมชนในยุคของการเปลี่ยนแปลงโลกท่ามกลางวิกฤตโควิด-19”; วันที่ 19 กุมภาพันธ์

; ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช; 2564.

นงณภัทร รุ่งเนย, เพ็ญแข ดิษฐบรรจง, ภคพร กลิ่นหอม, ศิริพร ครุฑกาศ, นภาภรณ์ เกตุทอง.ปัจจัย

ทำนายพฤติกรรมการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาล.วารสาร

มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2565;14(2):17-37.

ธนวรรธน์ อิ่มสมบูรณ์. พฤติกรรมสุขภาพและการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. เอกสารการสอนชุดวิชา

สุขศึกษาและการประชาสัมพันธ์งานสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัย

ธรรมาธิราช; 2546.

วัลลภา อันดารา. การศึกษาภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในชุมชนบ้านเอื้อ

อาทรบางเขน (คลองถนน). วารสารแพทย์นาวี. 2561; 45(1):121-138.

Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons M. Health promotion in nursing practice. 5th

ed. New Jersey: Pearson Education, Inc; 2006.

โรงพยาบาลจังหวัดศรีสะเกษ. รายงานผู้ป่วยในตามช่วงเวลา จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ระหว่างวัน

ที่ 1 เมษายน ถึง 20 พฤษภาคม 2565. เอกสารอัดสำเนา; 2565.

กรมพลศึกษา. สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา. คู่มือแบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทาง

กายของเด็ก เยาวชนและประชาชนไทย. กรุงเทพฯ: กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและ

กีฬา; 2562.

บงกช โมระสกุล, พรศิริ พันธสี. ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษา

พยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาและวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารศูนย์อนามัยที่

2564; 15(37):179-195.

ปัญจนาฏ วรวัฒนชัย. พฤติกรรมที่เป็น ปัญหาต่อสังคม. วารสารสารสนเทศ. 2563;19(2):1-16.

แก้วใจ มาลีลัย, ปิยะณัฐฏ์ จันทวารีย์, สาวิตรี สุมาโท, ศตายุ ผลแก้. ความรู้ เจตคติและพฤติกรรม

ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัด

อุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2565; 8(3):61-70.

Chastin SFM, Abaraogu U, Bourgois JG, Dall PM, Darnborough J, Duncan E, el al.

Effects of regular physical activity on the immune system, vaccination and risk of

community-acquired infectious disease in the general population: Systematic

review and meta-analysis. Sports Med. 2021;51(8): 1673-1686.

Cho DH, Lee SJ, Jae SY, Kim WJ, Ha SJ, Gwon JG, el al. Physical activity and the risk of

COVID-19 infection and mortality: A nationwide population-based case-control

study. J Clin Med. 2021;10(7): 1539. doi: 10.3390/jcm10071539.

วิญญ์ทัญญู บุญทัน, ชุติมา สร้อยนาค, พัชราภรณ์ ไหวคิด, ปริศนา อัครธนพล, วิภาพร สร้อยแสง,

จริยาวัตร คมพยัคฆ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อ

ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2563; 2(2):

-337.

นนทชา วิมลวัฒนา, ทิพาพันธุ์ สังฆะพงษ์, รัตนา ปานเรียแสน. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการส่ง

เสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช.

วารสารเกื้อการุณย์. 2560; 24(2): 67-81.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2022