การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมของผู้หญิงอายุ 30-70 ปี ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ชลวิทย์ บุญศรี -

คำสำคัญ:

มะเร็งเต้านม, การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร, วิธีการป้องกันโรค, กลุ่มเสี่ยง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมของผู้หญิงอายุ 30 – 70 ปี ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง 208 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ระหว่าง พฤศจิกายน ถึง ธันวาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 35 – 45 ปี ร้อยละ 44.71 ระดับการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 52.88 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 74.04 อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 32.21 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 9,900 บาท มีบุตรแล้ว ร้อยละ 84.31 มีบุตรคนแรกเมื่ออายุ 21-30 ร้อยละ 52.00 เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ร้อยละ 88.00 มีประจำเดือนครั้งแรกอายุ 12 ปี ร้อยละ 98.55 ปัจจุบันยังมีประจำเดือนอยู่ ร้อยละ 67.79 ได้รับฮอร์โมนทดแทน เพื่อรักษาอาการหมดประจำเดือน ร้อยละ 14.10 ไม่เคยกินยาคุมกำเนิดหรือฉีดยาคุมกำเนิด ร้อยละ 59.13 เคยเจ็บป่วยหรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเกี่ยวกับเต้านม ร้อยละ 2.00 การรับรู้การป้องกันโรคมะเร็งเต้านมภาพรวมและรายด้าน ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการป้องกันโรคมะเร็งเต้านม ร้อยละ 87.01 ด้านความรู้ทั่วไปโรคมะเร็งเต้านม ร้อยละ 79.32 ด้านปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งเต้านม ร้อยละ 74.03 และ ร้อยละ 64.90 ด้านอาการของโรคมะเร็งเต้านม ได้รับข้อมูลข่าวสารโรคมะเร็งเต้านมจากอาสาสมัครสาธารณสุข ร้อยละ 85.09 และจากพยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร้อยละ 64.42 มีพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งเต้านม ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 99.03 เคยตรวจเต้านมด้วยตนเอง และในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 41.34 เคยตรวจเต้านมโดยพยาบาล แพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ เคยตรวจเต้านมโดยการถ่ายภาพรังสีเต้านม ร้อยละ 4.81การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางที่หลากหลาย โดยเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ จะช่วยส่งเสริมให้มีการเข้าถึงบริการการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาโรคมะเร็งเต้านมได้อย่างทั่วถึง

      

References

World Health Organization. WHO report on cancer: Setting priorities, investing wisely and providing care for all. World Health Organization; 2020 [Internet].

[cited 2011 June 20].Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/330745

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ. 2561-2565. 2561; 1-17

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. แผนการปฏิบัติงานประจำปี 2563.

ขอนแก่น: 2563.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตรวจคัดกรองวินิจฉัยและการรักษาโรคมะเร็งเต้านม. 2560;1-129.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบัวดีหมี. รายงานประจำปี รพ.สต.หนองบัวดีหมี ปี 2563. ขอนแก่น: 2564.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิทยพัฒน์; 2553.

ดวงตะวัน พรมมาศ, สุพัตรา อัศวไมตรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของหญิงอายุ 30 - 70 ปี ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. 2564; 7(3):14-26.

รัตติยา จันดารักษ์. พฤติกรรมและทักษะการตรวจเต้านมตนเองของสตรีวัย 30-70 ปี ในเขตจังหวัดมุกดาหาร. วารสารโรคมะเร็ง. 2563; 1(40):1–15.

ณัฐธยาน์ ชาบัวคำ, สุภารัตน์ พิสัยพันธุ์, ภาวิณี หาระสาร. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองและพฤติกรรมเกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีวัยผู้ใหญ่

ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2561; 36(3):166–76.

เพ็ญพิศ จีระภา. แรงจูงใจในการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรี อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 2554; 6(2):104-112.

ชมภูนุช พบประเสริฐ, เพ็ญศรี กองสัมฤทธิ์, ปัณฑารีย์ หิรัณย์สิริกุล. ความเสี่ยงมะเร็ง

เต้านม ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตนในการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรี : กรณีศึกษาจังหวัดจันทบุรี. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. 2560; 4(2):123–35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2022