การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • รักชนก สุขสาร -
  • กาญจนา นาถะพินธุ

คำสำคัญ:

การรับรู้, พฤติกรรมการป้องกันโรค, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, อสม.

บทคัดย่อ

       

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ หาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กับพฤติกรรมป้องกันตนเองจากโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 245 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้ ปัจจัยร่วม และพฤติกรรมป้องกันตนเอง มีค่าความเชื่อมั่น 0.91 สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Pearson product moment correlation coefficient

          ผลการวิจัย พบว่า 1) การรับรู้ความเสี่ยงจากการปฏิบัติงาน 2) การรับรู้ความรุนแรง                    3) การรับรู้ประโยชน์การปฏิบัติตัว 4) การได้รับข้อมูลข่าวสารและการได้รับสิ่งสนับสนุน ภาพรวม
อยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการป้องกันตนเองอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 90.20 ซึ่งอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ครบทุกคน ฉีดมากที่สุด 3 เข็ม ร้อยละ 49.39 นอกจากนี้การรับรู้ความเสี่ยงจากการปฏิบัติงาน การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์
มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (r=0.130, r=0.126 และ r=0.133) ตามลำดับ

           ข้อเสนอแนะ ควรมีการอบรมให้ความรู้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างถูกต้องถูกวิธีลดการเจ็บป่วยในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

This descriptive study was aimed to determine and preventive behaviors and the relationship between perceived operational risks and preventive behaviors from COVID-19 of 245 public health volunteers in Lomkao District, Phetchabun Province, data were collected using a questionnaire consisting of personal data, perceptions, co-factors and covid-19 prevention behaviors. Reliability was 0.91, data were analyzed by percentage, frequency, mean, standard deviation and Pearson product moment correlation coefficient.

          The results of the research were as follows: 1) perceived operational risks 2) perceived violence 3) perceived benefit of conduct 4) received information and support were found overall picture at a high level. Moreover, preventive behaviors were discovered at a high level of 90.20 percent, of which all public health volunteers were vaccinated against COVID-19, the highest number of injections, 3 injections, 49.39 percent. Perception of violence perceived benefit and common factors. There was a statistically significant correlation with preventive behavior at the .01 level (r=0.130, r = 0.126 and r = 0.133), respectively. Recommendations: training course for conducing knowledge to correct practice should be done for reducing illness among public health volunteers.

 

References

วีรนุช ไตรรัตโนภาส, พัชราภรณ์ อารีย์ และ ปุณยนุช พิมใจใส. (2562). การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรค และพฤติกรรมการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในผู้สูงอายุ. สาขาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

World Health Organization (WHO). Coronavirus disease (COVID-19) Situation Report–126. Retrieved May 25, 2020. Available from: https://www.who.int/docs/de- fault-source/coronaviruse/situation-re-ports/20200525-covid-19-sitrep-126.pdf?s-fvrsn=887dbd66_2

สุรชัย โชคครรชิตไชย. (2563). โควิด-19: การระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทยปลายปี 2563. วารสาร สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 10(3), 1-2.

บัญชา เกิดมณี, สุรชัย ธรรมทวีธิกุล, ญานพินิจ วชิรสุรงค์, บดินทร์ชาติ สุขบท, และสมบัติ ทีฆทรัพย์. (2563). แนวคิดและทิศทางการแก้ปัญหาโควิด-19. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์, 20(1), 1-12.

พีรยุทธ บุญปาล. (2564). ความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขต่างชาติ (อสต.) พื้นที่ หมู่บ้านคู่ขนานชายแดนไทย-เมียนมาร์ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก. ประชุมวิชาการสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 2 ปีงบประมาณ 2564.

ภัคณัฐ วีรขจร, โชคชัย ขวัญพิชิต,กิตติพร เนาว์สุวรรณ์, และนภชา สิงห์วีรธรรม. (2563). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกำลังพลที่ปฏิบัติงานสายแพทย์ ศูนย์อำนวยการแพทย์ จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(3),106-117.

Best, J. W. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14 (2), 92-103.

Becker, M.H., & Maiman, L.A. (1975). The health Belief Model: Origins and Correlation in Psychological Theory. Health Education Monography, 2.

Pender, Murdaugh, and Parsons. (2002) Health Promotion in Nursing Practice. 4th ed. Upper Saddle River. New Jersy : Prentice Hall Health, Inc.

Bloom, B.S.(1964). Taxonomy of education objective: The classification of educational goals:

Handbook II: Affective domain. New York: David Mckay.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022