ความสัมพันธ์ของความรู้และทัศนคติ กับพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัย และชุดตรวจ Antigen Test Kit ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อ Covid – 19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ศศิธร นะราวัง
  • ฤทธิรงค์ จังโกฏิ
  • สุทิน ชนะบุญ

คำสำคัญ:

หน้ากากอนามัย, ชุดตรวจหาเชื้อโควิดด้วยตนเอง, การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, พฤติกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัยและชุดตรวจ Antigen test kit ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์   ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 267 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแควร์         (Chi-square tests) และสถิติสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน (Spearman correlation coefficient)

ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 72.28 อยู่ในช่วง อายุ 50-59 ปี ร้อยละ 43.82 มีอายุเฉลี่ย 50.96 ปี (S.D.=9.12)  มีสถานภาพสมรส/คู่ มากที่สุดร้อยละ 72.66 มีระดับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา/ปวช. ร้อยละ 47.94 และมีความรู้ภาพรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 53.66
มีทัศนคติภาพรวมในระดับปานกลางร้อยละ 64.79 และมีพฤติกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมากร้อยละ 37.10 จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์
กับพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของ อสม. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่
เพศ (p-value=0.017) สถานภาพสมรส (p-value=0.002) ระดับการศึกษา (p-value=0.018)
ส่วนด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน (r=0.175) ด้านหลังคาเรือนที่รับผิดชอบ (r=0.181) ด้านจำนวนหน้ากากที่ใช้ต่อวัน (r=0.243)  ความรู้ (r=0.193) และทัศนคติ (r=0.27) ในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัยและชุดตรวจ Antigen test kit ของ อสม. มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำมาก
กับพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของ อสม. ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 

ดังนั้นควรจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ และทัศนคติในด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อให้แก่ อสม.เพื่อให้มีพฤติกรรมที่ถูกต้อง ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

This cross-sectional descriptive research aimed to study knowledge and attitudes related to infectious waste (face masks and antigen test kit) management behavior of village health volunteers at Yang Talad district, Klasin province. Data were collected by questionnaires with samples of 267 village health volunteers. Data were analyzed by Chi-Square tests and Spearman correlation coefficient.

The findings revealed that most of samples were females (72.28%) and had the average age of 50.96 (S.D.=9.12) years old, marital status as married 72.66%, and high school level 47.94%. In addition, most of them had their knowledge at a high level (53.66%), attitudes at a moderate level (64.79%) and infectious waste management behavior at a high level (37.10%). There were various factors that statistically significant related to infectious waste management behavior of village health volunteers including genders (P-value=0.017), marital status (P-value=0.002) and education level (P-value=0.018). Factors linked to monthly income (r=0.175), number of responsible households (r=0.181), quantity of used face masks (r= 00.243), knowledge (r=0.193) and attitudes (r=0.27) had very low significant positive correlation with infectious waste management behavior of village health volunteers (P-value=0.01).

It could be suggested that knowledge and attitudes related to Infectious waste management for village health volunteers should be promoted to have proper behavior and less impact on environment.

 

References

Luo, Y., Yao, L., Zhou, L., Yuan, F., & Zhong, X. Factors influencing health behaviours during the coronavirus disease 2019 outbreak in China: An extended information-motivation-behaviour skills model. Public Health [Internet]. 2020 [cited 2021 Dec 20];185:298-305.

Available from: https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/ S00 33350620302961.

Sangkham, S. Face mask and medical waste disposal during the novel COVID-19 pandemic in Asia. Case Studies in Chemical and Environmental Engineering [Internet]. 2020 [cited 2021 Dec 20];2(100052):[about 9 p.]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7543915/.

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. [อินเตอร์เน็ต]; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th.

สวรรยา ธรรมอภิพล, จารุมนต์ ดิษฐประพัตร์, และปภาอร กลิ่นศรีสุข. ความรู้และพฤติกรรมในการจัดการขยะติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัยของชุมชนบ้านกลาง-ไผ่ขาด จังหวัดนครปฐม ในช่วงวิกฤตการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19). วารสารนวัตกรรมและการจัดการ. 2564; 6(1): 37-50.

World Health Organization [WHO]. Advice on the Use of Mask use in the context of COVID -19:Interim guidance.[Internat]. 2020 [cited 2021 Dec 20]. Availablefrom: from https:// apps.who.int/iris/handle/10665/33719.

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม. จำนวนการส่งและปริมาณขยะติดเชื้อจำแนกรายปี [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จากhttp://envmanifest. anamai.moph.go.th.

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม. คำแนะนำการจัดการขยะจาก Antigen test kit (ATK) หรือชุดตรวจโควิด-19 [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2564].

เข้าถึงได้จาก http://envmanifest. anamai.moph.go.th.

กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์[อินเตอร์เน็ต]. กาฬสินธุ์: สำนักงาน; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://appksn.moph.go.th/ics/web/index.php

กลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลยางตลาด. กาฬสินธุ์: โรงพยาบาลยางตลาด; 2564.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement. New York. 1970;30(3):

–610.

วรรณภา เฉลยบุญ. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ และทัศนคติต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองราชบุรีจังหวัดราชบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2556.

Bloom, B.S.Taxonoxy of Education objectives : The Classification of Education Goals Handbook I, Cognitive Domain. 20th ed. New York: David Mckay Company, Inc;1975.

Likert, R. A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology; 1932.

Best, J. W. Research in education. New York: Prentice-Hall, Englewood cliffs; 1997.

อังสุมาลี อากรสกุล, เยาวลักษณ์ อ่ำรำไพ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อของพนักงานในสถานพยาบาลที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน: กรณีศึกษา อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 2557;9(3):129-136.

รติรส ตะโกพร. พฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในบ้านเรือน กรณีศึกษา อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2558.

สุภาภรณ์ วงธิ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

อารยา แก้วมาลา. การจัดการขยะติดเชื้อของสถานีอนามัยใน อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2545.

บุญจง ขาวสิทธิวงษ์. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคัดแยกมูลฝอยชุมชน:ศึกษากรณีเขตยานนาวาและเขตบางกะปิ. วารสารพัฒนาสังคม (มิถุนายน 2554) 2554;13(1):

-58.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022