การจัดการมูลฝอยติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัยของประชาชนในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านชมภูพานเหนือ ตำบลสร้างค้อ อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
หน้ากากอนามัย, มูลฝอยติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัย, การจัดการมูลฝอยติดเชื้อบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ คือ การศึกษาสถานการณ์การจัดการมูลฝอยติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัยของชุมชนในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัยของประชาชนในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัยของประชาชนในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านชมภูพานเหนือ อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 320 คน
ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 55.63 มีอายุ 20-39 ปี ร้อยละ 31.88 มีระดับการศึกษาสูงสุดคือชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 95.00 ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 97.81 ผลการทดสอบความรู้พบว่า ส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 83.13 (Mean=12.42, S.D.=0.34) เมื่อทำการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรมพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.01) ทัศนคติอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 82.68 (Mean=4.22, S.D.=0.80) เมื่อทำการเปรียบเทียบระดับทัศนคติก่อนและหลังการอบรมพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value<0.01) พฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 63.08 (Mean=3.27, S.D.=0.82) เมื่อเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมก่อนและหลังการอบรมพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value<0.01) นอกจากนี้ยังพบว่าพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัยของประชาชนบางส่วนยังไม่ถูกต้อง เช่น การรวบรวมหน้ากากอนามัยใส่ขวดน้ำแล้วทิ้ง การเผาทำลายหน้ากากอนามัยด้วยตนเอง ถึงแม้จะมีการส่งเสริมและสนับสนุนเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลและองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว แต่ยังขาดจุดรวบรวมหรือถังรองรับที่ชัดเจน ทำให้ต้องทิ้งรวมไปกับมูลฝอยประเภทอื่น ๆ
References
Worldmoter. (Internet). COVID-19 CORONAVIRUS PANDEMIC.
[cited 2022 Dec 20]. Available from: https://www.worldometers.info/coronavirus/#countries
กรมควบคุมโรค. (อินเทอร์เน็ต). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf
Xiang, Q. Song, W. Gu. Decontamination of surgical face masks and N95 respirators by dry heat pasteurization for one hour at 70°C Am. J. Infect. Control. 2020; 48: 880-882.
Liebsch. (Internet). The Rise of the Face Mask: What's the Environmental Impact of 17 million N95 Masks? Ecochain. [cited 2020]. Available from: https://ecochain.com/knowledge/footprint-face-masks-comparison/
Sarawut Sangkham. Face mask and medical waste disposal during the novel COVID-19 pandemic in Asia Case Stud. Chem. Environ. Eng., 2 2020; Article 100052.
กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์ และวิชสิณี วิบุลผลประเสริฐ. [อินเทอร์เน็ต]. ฮาวทูทิ้ง: ทิ้งหน้ากากอนามัยอย่างไรให้ปลอดภัยกับสังคมและสิ่งแวดล้อม.
[เข้าถึงเมื่อ 21 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://tdri.or.th/2020/04/how-to-dispose-of-used-face-mask/
กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2562. กรุงเทพฯ: บริษัท สไตล์ครีเอทีฟเฮ้าส์ จำกัด; 2563.
ประชุมพร กวีกรณ์, นารถฤดี กุลวิเศษณ์ และอำนาจ เหมลา. การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะติดเชื้อในจังหวัดยโสธร. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2560; 5(4): 703-128.
สวรรยา ธรรมอภิพล, กรวรรณ ม่วงลับ และนงลักษณ์ สืบนาค. ความรู้ในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในครัวเรือของชุมชนบ้านตลาดเขต จังหวัดกาญจนบุรี. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 2560; 10(3): 1630–1642.
วันวิสาข์ คงพิรุณ, สรัญญา ถี่ป้อม และวิโรจน์ จันทร. ปัจจัยทีมีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะในหมู่บ้านโป่งปะ ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2060; 26(2): 310-21.
สวรรยา ธรรมอภิพล, จารุมนต์ ดิษฐประพัตร์ และปภาภร กลิ่นศรีสุข. ความรู้และพฤติกรรมในการจัดการขยะติดเชื้อประเภทหน้ากากอนามัยของชุมชนบ้านกลาง-ไผ่ขาดจังหวัดนครปฐม ในช่วงวิกฤตการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด19). วารสารนวัตกรรมและการจัดการ. 2564; 6(1): 37-50.
ประสาท รุจิรัตน์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อของบุคลากรโรงพยาบาลวังน้ำเขียว. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ. 2562; 5(2): 35-52.
วันวิสาข์ คงพิรุณ, สรัญญา ถี่ป้อม และวิโรจน์ จันทร. ปัจจัยทีมีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะในหมู่บ้านโป่งปะ ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2560; 26(2): 310-21.
ตรีรัก กินวงษ์. พฤติกรรมการจัดการจัดการหน้ากากอนามัยของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. การศึกษาอิสระหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม, คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์; 2563.
Daniel WW. Biostatics: Basic Concepts and Methodology for the Health. 2010.
กรมอยามัย. คู่มือแนวทางการพัฒนาสถานบริการสาธารณสุขให้ได้มาตรฐาน ด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ (ฉบับปรับปรุง). สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
ประจวบ แสงดาว และวิสาขา ภู่จินดา. การพัฒนารูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน เขตสุขภาพที่ 4. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 2022; 9(2): 193-207.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านชมภูพานเหนือ. จำนวนประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านชมภูพานเหนือ; 2564.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว