กระบวนการมีส่วนร่วม ของพระภิกษุ สามเณร และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในวัด เขตตำบลจอมศรี อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
คำสำคัญ:
กระบวนการมีส่วนร่วม, การจัดการสิ่งแวดล้อม, วัด, คำสำคัญ: กระบวนการมีส่วนร่วม, การจัดการสิ่งแวดล้อม, วัดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 วิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของพระภิกษุ สามเณร และผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสถานการณ์การจัดการสิ่งแวดล้อมภายในวัด ศึกษาในกลุ่มพระภิกษุ สามเณร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 132 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในวัด ทั้ง 8 แห่งในตำบลจอมศรี วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ระยะที่ 2 วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยคัดเลือกวัด 1 แห่ง ที่มีศักยภาพที่สุด และยินดีเข้าร่วมพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐาน ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ใช้กระบวนการจัดประชุมการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (AIC) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วม และประสิทธิผลจากกระบวนการมีส่วนร่วม ของกลุ่มพระภิกษุ สามเณร และผู้ที่เกี่ยวข้อง มีผู้เข้าร่วมประชุม 21 คน ดำเนินกระบวนการไปตามแนวทางการจัดกระบวนการ AIC และบันทึกพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมประชุมโดยใช้แบบสังเกต ในระยะติดตามและประเมินผล ใช้แบบประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในวัด (ประเมินหลัง) ใช้ค่าร้อยละ แปลผลตามเกณฑ์คะแนน
ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 66.7 อายุเฉลี่ย 50.23 ปี มีอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 70.5 ความรู้เกี่ยวกับอนามัยสิ่งแวดล้อมภายในวัด อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 66.7 ทัศนคติในการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในวัด อยู่ในระดับดี ร้อยละ 86.4 พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในวัด อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 49.2 และผลการประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในวัด โดยรวม ได้คะแนนเฉลี่ย 31.5 (S.D.=0.32) คิดเป็นร้อยละ 49.22 ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในวัด ในระยะที่ 2 ผลการพิจารณาเลือกวัด 1 แห่ง เพื่อพัฒนาตามเกณฑ์ เกิดจากกระบวนการจัดประชุมการวางแผนแบบมีส่วนร่วม ผลการประเมินพบว่าได้คะแนนรวม 50 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 78.12 ซึ่งผ่านเกณฑ์อยู่ในระดับดีมาก จะเห็นได้ว่ากระบวนการ AIC เป็นกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ปัญหา และอนาคตของวัดที่อยากเป็น ทุกกิจกรรม เกิดจากการระดมความคิด แสดงความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุม จนเกิดแผนงาน นำมาสู่การปฏิบัติ ประสิทธิผลในการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในวัดจึงพัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้นจากระดับไม่ผ่านเกณฑ์ สู่ระดับดีมาก ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ควรให้ความรู้เรื่องอนามัยสิ่งแวดล้อมภายในวัดที่ถูกต้อง กิจกรรมที่วัดไม่สามารถดำเนินการเองได้ ควรมีหน่วยงานเข้ามาสนับสนุน สร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน อันจะส่งผลต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในวัดอย่างยั่งยืน
References
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ วัดสะอาด ฆราวาสสุขใจ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2552.
ฐานข้อมูล HosXp PCU. ข้อมูลการเจ็บป่วย รพ.สต.หินตั้ง. ข้อมูล ณ วันที่ 8 กันยายน 2563. [สืบค้นเมื่อ วันที่ 8 กันยายน 2563].
Bloom, B.S., J.T. Hastings and F.G. Madaus. Handbook on Formative and Sumative Evaluation of Student Learning. Mc Graw-Hill Book Company, New York; 1971.
Best, J. W. Research in Education.
New Jersey: Prentice hall Inc.; 1997.
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. วัดกับการจัดการสิ่งแวดล้อม [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 8 ก.ย.2563], เข้าถึงได้จาก https://datacenter.deqp.go.th/service-portal/g-green/thailandgreenreligion/bhudist-and-environment/.
เดชา บัวเทศน์, นิเทศ สนั่นนารี. รูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในวัดเพื่อการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ จังหวัดสระบุรี.
ธรรมทรรศน์. 2558; 15(2): 77-85.
ปัญญา เทพสิงห์, เก็ตถวา บุญปราการ. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ชายแดนภาคใต้ : กรณีวัดชลธาราสิงเห จังหวัดนราธิวาส. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตหาดใหญ่. 2561; 10(2): 85-111.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว