การพัฒนาแนวทางการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยการมีส่วนร่วมของภาคี เครือข่ายสุขภาพอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
บทคัดย่อ
การวิจัยและการพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแนวทางการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยทำการศึกษาในเขตพื้นที่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนม่วง ตำบลศิลา และเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนท่อน อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ทำการการคัดเลือกอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 77 คน ประกอบไปด้วย กลุ่มครูอนามัยโรงเรียน จำนวน 4 คน กลุ่มผู้นำชุมชน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 33 คน กลุ่มแกนนำนักเรียนและเยาวชน จำนวน 10 คน กลุ่มหญิงวัยรุ่นหลังการตั้งครรภ์ จำนวน 30 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ ได้แก่ แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก แนวทางการสนทนากลุ่ม การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม และการประชุมระดมสมอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired samples t-test ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 ถึงเดือนธันวาคม 2564 ขั้นตอนการศึกษา แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาสถานการณ์ปัญหา ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของปัญหา และอุปสรรคต่อการดำเนินงานป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของพื้นที่ที่ศึกษา พบว่า ปัญหาและความต้องการการพัฒนามีดังนี้ คือ 1)หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นยังขาดความรู้ในการดูแลตนเองที่เหมาะสมขณะตั้งครรภ์ 2)ครอบครัวขาดการมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น 3)ชุมชนมองปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นเป็นเพียงเรื่องของส่วนตัว ไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว ผู้วิจัยและภาคีเครือข่ายสุขภาพได้ร่วมกันเสนอแนวคิด และร่วมกันพัฒนาเพื่อให้เกิดแนวทางในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเด็นดังนี้ 1)การพัฒนาความรู้และทักษะในการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันตนเองเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่จะนำไปสู่การมีความสัมพันธ์ระหว่างเพศ ซึ่งจะนำไปสู่การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 2)การพัฒนาความรู้และทักษะในการดูแลตนเองอย่างเหมาะสมของหญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และครอบครัว 3)การจัดชมรมในกลุ่มวัยรุ่น เพื่อให้กลุ่มเพื่อนให้ความรู้ โดยมีเจ้าหน้าเป็นที่ปรึกษา ทำให้เกิดการออกแบบกระบวนการเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนกลุ่มภาคีเครือข่าย แบ่งเป็นฐาน 9 ฐาน พบว่า ผลการวิเคราะห์การอบรมเชิงปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภาพรวมหลังกิจกรรมอยู่ในระดับมาก ( =3.57 SD=0.71 Max=24 min=6.77) ด้านความรู้เกี่ยวกับเพศศึกษา พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของหญิงวัยรุ่นหลังการตั้งครรภ์ ก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 64.28 ( =6.42 S.D.= 1.91 Max=9 Min= 2) และหลังการพัฒนา พบว่า ส่วนใหญ่มีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 64.0 แต่มีผลคะแนนอยู่ในระดับดีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 35.7 ( =9.07 S.D.= 1.59 Max=12 Min= 7) และด้านเจตคติเกี่ยวกับเพศศึกษา พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของหญิงวัยรุ่นหลังการตั้งครรภ์ ก่อนและหลังการพัฒนา พบว่า ส่วนใหญ่มีค่าคะแนนเฉลี่ยเจตคติอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 100 ( =33.93 S.D.= 2.43 Max=37 Min= 30) และหลังการพัฒนา พบว่า ส่วนใหญ่มีค่าคะแนนเฉลี่ยเจคติอยู่ในระดับดี ร้อยละ 64.3 ( = 42.07 S.D.= 4.68 Max=47 Min= 34) และด้านพฤติกรรมการปฏิบัติเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของหญิงวัยรุ่นหลังการตั้งครรภ์ ก่อนและหลังการพัฒนา พบว่าส่วนใหญ่มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 92.9 ( =32.71 S.D.= 2.89 Max=37 Min= 28) และหลังการพัฒนา พบว่า ส่วนใหญ่มีค่าคะแนนเฉลี่ยเจคติอยู่ในระดับดี ร้อยละ 85.7 ( =41.93 S.D.= 2.58 Max=45 Min= 36) และในการเปรียบเทียบด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับเพศศึกษา พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของหญิงวัยรุ่นหลังการตั้งครรภ์ ก่อนและหลังการพัฒนา พบว่า หลังการพัฒนาค่าคะแนนระดับความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.001 ,0.00 และ 0.00 ตามลำดับ) ระยะที่ 2 เป็นการเก็บข้อมูลในระหว่างการดำเนินการร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพ พบว่า ปัญหาเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการขาดการป้องกันการตั้งครรภ์ ซึ่งทั้ง 2 ปัญหานี้เกิดจากสาเหตุทั้งจากตัวเด็กเอง ครอบครัว โรงเรียน สื่อและสภาพแวดล้อมในชุมชน ดังนั้นรูปแบบการดำเนินการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนม่วง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนท่อน จึงเป็นรูปแบบที่ได้จากแหล่งข้อมูลหลากหลายแหล่ง คือ การทำการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รูปแบบดังกล่าวจะเป็นรูปแบบที่ต้องเกิดจากความร่วมมือของครอบครัว โรงเรียน และชุมชน ซึ่งรูปแบบนี้ที่ผู้วิจัยเสนอนี้จึง ควรเป็นการป้องกันผ่านระบบการศึกษาที่เรียกว่า ระบบความรอบรู้ด้านการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (Teenage Health Literacy Approach) โดยรูปแบบนี้มุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม ความจริงใจในการแก้ปัญหา การร่วมแรงร่วมใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จึงสรุปได้ว่า แนวทางการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพนี้ สามารถช่วยแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นได้ โดยอาศัยการพัฒนาองค์ความรู้ในกลุ่มวัยรุ่น หรือระบบความรอบรู้ด้านการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (Teenage Health Literacy Approach) โดยทีมผู้วิจัยได้จัดทำขึ้น รวมไปถึงการดำเนินกิจกรรมประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพบริบทของพื้นที่ ที่มีการเปลี่ยนแปลงและกระตุ้นให้เกิดความรอบรู้และพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอย่างต่อเนื่องและสืบต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว