ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ของผู้สูงอายุอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ศิริ อุยวัฒนกุล
  • เจตนิพิฐ สมมาตย์
  • วิภารัตน์ หาจันดา

คำสำคัญ:

การรับรู้, การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร, การสื่อสาร, ผู้สูงอายุ,ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้สูงอายุในอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่นกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุอายุระหว่าง 60 – 89 ปี จำนวน 323 คนใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง พฤศจิกายน 2563 โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกเชิงพหุ

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 69.97 อายุเฉลี่ย 69.17±6.88 ปี การบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ร้อยละ 16.72 (95%CI: 12.63-20.28) การรับรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอยู่ในระดับต่ำร้อยละ 61.88 การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 97.74 และการสื่อสารอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 45.20 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์การบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ได้แก่ อายุและการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 80-89 ปี มีโอกาสที่จะบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมากกว่ากลุ่มอายุ 60-69 ปี (ORadj =5.46, 95%CI: 1.33 – 22.35) และกลุ่มตัวอย่างที่มีการสื่อสารระดับปานกลางมีโอกาสที่จะบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้อยกว่ากลุ่มที่อยู่ในระดับต่ำ (ORadj =0.43, 95%CI: 0.22 – 0.87)

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. นครปฐม: สถาบัน วิจัยประชากรและสังคมหาวิทยาลัยมหิดล; 2563.

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. สถิติผู้สูงอายุ สัญชาติไทย และ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน มกราคม 2565. [อินเทอร์เน็ต]; 2565 [เข้าถึง เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth//displayData.

ประจักษ์ เพ็ญโพธิ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2563; 4(8):210-223.

มินตรา สาระรักษ์, ิติรัช งานฉมัง, นันทยา กระสวยทอง. ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลคำขวาง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2563; 35(3):304-310.

ปิยะวัน วงษ์บุญหนัก, ปวีณา ว่องตระกูล, หรรษา มหามงคล, วรัญญา เนียมขำ. การสำรวจปัญหาและพฤติกรรมการใช้ยาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพรของผู้สูงอายุ กรณีศึกษาชุมชนศีรษะจรเข้น้อย จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการ. 2559; 20(39):97-108.

กาญจนา ปัญญาธร, เสาวลักษณ์ ทาแจ้ง. ทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์และการบริโภค ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของผู้สูงอายุ บ้านหนองบุ ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลอุดรธานี. 2563; 28(2):121-129.

อรอุษา สุวรรณมณี, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต. การโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายเป็นยาโดยผิดกฎหมายทางวิทยุท้องถิ่น. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2554; 3(2): 41-54.

อรนุช วงศ์วัฒนาเสถียร, กนกพร ทองสอดแสง, ฉัฐพร งามเกลี้ยง. ปัญหาการใช้ยาและผลิตภัณฑ์

เสริมอาหารในผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดมหาสารคาม.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 2558; 9(3):67-74.

สุกัญญา ผลพิมาย, ณิตชาธร ภาโนมัย. ความชุกของการบริโภคอาหารเสริมเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2561; 21(2):174-185.

ชมพูนุท เสียงแจ้ว, คชาพล นิ่มเดช, นาฎยา สุวรรณ, พุทธชาด มากชุมนุม, วิโรจน์ ทองฉิม,ณัฐนันท์ เพชรประดิษฐ์. การสำรวจการใช้ยาปฏิชีวนะและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผสมสเตียรอยด์

ในผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11. 2562; 33(1):231-242.

สุภาภรณ์ คำเรืองฤทธิ์, อัจฉรา เอ๊นซ์, ปัทพร สุคนธมาน. บทบาทครอบครัวและสื่อวิทยุต่อการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้สูงอายุ. วารสารประชากรศาสตร์. 2561; 34(2):1-16.

ระวีวรรณ ทรัพย์อินทร์, ญาศิณี เคารพธรรม. สื่อกับผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์. 2560; 11(2):367-387.

จารุวรรณ นิธิไพบูลย์, สันทัด ทองรินทร์, วิทยาธร ท่อแก้ว. การพัฒนารายการโทรทัศน์เพื่อผู้สูงอายุ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2559; 10(2):21-39.

เยาวลักษณ์ มีบุญมาก, จิริยา อินทนา, กรรณิการ์ กิจนพเกียรติ, เพ็ญจมาศ คำธนะ, นงณภัทร รุ่งเนย. ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนกึ่งเมืองแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2562; 6(ฉบับพิเศษ):129-141.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2022