ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรู้แจ้งแตกฉานทางสุขภาพต่อความสามารถในการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ตำบลบ้านคลอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • วิภาพร สิทธิสาตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วิภาพร สุวรรณกิจ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จันทิมา นวะมะวัฒน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

โรคเบาหวาน, โปรแกรมการพัฒนาความรู้แจ้งแตกฉานทางสุขภาพ, การจัดการตนเอง, ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

บทคัดย่อ

ความรู้แจ้งแตกฉานทางสุขภาพ มีความจำเป็นต่อการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยส่งผล ต่อการเกิดพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม สามารถควบคุมโรคและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ การวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาความรู้แจ้งแตกฉานทางสุขภาพต่อความสามารถในการจัดการตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ มีค่าน้ำตาลสะสมตั้งแต่ 7 ขึ้นไป แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 คน รวม 50 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพัฒนาความรู้แจ้งแตกฉานทางสุขภาพ ส่วนกลุ่มควบคุม จะได้รับบริการตามปกติ เครื่องมือประกอบด้วย โปรแกรมการพัฒนาความรู้แจ้งแตกฉานทางสุขภาพเพื่อการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ แบบสอบถามความสามารถในการจัดการตนเอง และแบบบันทึกค่าระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวาน แบบสอบถามทดสอบค่า IOC เท่ากับ 0.67 ความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบผลลัพธ์ของโปรแกรมโดยใช้สถิติ paired t-test และ ระหว่างกลุ่มใช้ Independent sample t-test ระดับนัยสำคัญที่ 0.05

ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีความสามารถในการจัดการตนเองดีกว่าก่อนการทดลอง และค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมในเลือดมีระดับต่ำกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมพบว่า กลุ่มทดลองมีความสามารถในการจัดการตนเองได้ดีกว่า และมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้อย่างต่อเนื่อง และขยายผลไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกต่อไป

References

ภคภณ แสนเตชะ, ประจวบ แหลมหลัก. ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารสุขศึกษา. 2563; 43(2): 150-164.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรค NCDsเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

[เข้าถึงเมื่อ 30 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph. go.th/uploads/publish/1035820201005073556.pdf

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: อิโมชั่น อาร์ต; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 30 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.iccp-portal.org/system/files/plans/Thailand%20National%20NCD%20plan%202017-2021.pdf

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลอง. สรุปผลการปฏิบัติงานสาธารณสุขปี 2561. พิษณุโลก: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมือง; 2561.

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถิติข้อมูลเขตสุขภาพที่ 2 กระทรวงสาธารณสุข. [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 30 ธันวาคม 2563].

เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

อารยา เชียงของ, พัชรี ดวงจันทร์, อังศินันท์ อินทรกำแหง. ความรอบรู้ทางสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานวัยผู้ใหญ่: ประสบการณ์ของการเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานและมุมมองที่เกี่ยวข้องกับความรอบรู้ทางสุขภาพ. วารสารเกื้อการุณย์. 2560; 24(2): 162-178.

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med. 2008;

(12): 2072-8.

อิสรีย์ ปัดภัย, ดวงฤดี โชติกลาง, ณิชานต์ มีลุน, ฐิติกานต์ เอกทัตร์. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับสื่อสังคมเพื่อชะลอโรคไตในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน. 2564; 4(2): 96-107.

ธมภร โพธิรุด, สุมิตรา พรานฟาน, กวิสรา สงเคราะห์. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง และระดับฮีโมโกลบินเอวันซีผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเชียงกลาง จังหวัดน่าน. วารสารพยาบาล. 2563; 69(2): 11-20.

World health organization. Diabetes. [Internet]. 2023 [cited 11 Oct. 2023].

Available from: https://www.who.int/health-topics/diabetes#tab=tab_1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2023