ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานของสมาชิกทีมเฝ้าระวังสอบสวนควบคุมโรค และภัยสุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • พัชนี ศรีคลัง -
  • วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์

คำสำคัญ:

การปฏิบัติงานระบาดวิทยา, ทีมเฝ้าระวังสอบสวนควบคุมโรคและภัยสุขภาพ, ทัศนคติต่อการปฏิบัติงาน, แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานของสมาชิกทีมเฝ้าระวังสอบสวนควบคุมโรคและภัยสุขภาพ (SRRT) ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคือสมาชิกทีมเฝ้าระวังสอบสวนควบคุมโรคและภัยสุขภาพ จำนวน 166 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 10 ตุลาคม 2564 ถึง 20 พฤศจิกายน 2564 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า การปฏิบัติงานของสมาชิกทีมเฝ้าระวังสอบสวนควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กลุ่มตัวอย่าง มีการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 39.7 รองลงมาอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 35.0 และระดับน้อย ร้อยละ 25.3 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของสมาชิกทีมเฝ้าระวังสอบสวนควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ได้แก่ ทัศนคติ แรงจูงใจ สถานภาพสมรส ตำแหน่งวิชาชีพ ระยะเวลาการปฏิบัติงานในทีม การฝึกอบรมเกี่ยวกับหลักสูตรระบาดวิทยาและรายได้ต่อเดือน

ผลการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะให้ผู้บริหารเพิ่มเติมนโยบายเพิ่มศักยภาพสมาชิกทีมในการปฏิบัติงานด้านการจัดตั้งทีม และด้านความพร้อมในการปฏิบัติงาน โดยส่งเสริมการมีทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานและการสร้างเสริมแรงจูงใจให้บุคลากรทีมเฝ้าระวังสอบสวนควบคุมโรคและภัยสุขภาพในด้านการทำวิจัยครั้งต่อไปเสนอแนะให้มีการศึกษาแบบผสมผสานร่วมกันระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการศึกษาการปฏิบัติงานของสมาชิกทีมเฝ้าระวังสอบสวนควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร เพื่อเป็นการเสริมให้สมบูรณ์หรือเติมให้เต็มมากขึ้น  

 

คำสำคัญ : การปฏิบัติงานของสมาชิกทีมเฝ้าระวังสอบสวนควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ทัศนคติต่อการปฏิบัติงาน แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติงานทีมเฝ้าระวังสอบสวนควบคุมโรคและภัยสุขภาพ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดแคนนา กราฟฟิค; 2563.

ปวีณา แก้วเขียว. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานการเฝ้าระวังสอบ สวนเคลื่อนที่เร็วของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดเพชรบูรณ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2555.

อดิศักดิ์ พรภคกุล. ศักยภาพในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ระดับตำบล เครือข่ายโรงพยาบาลนครปฐม จังหวัดนครปฐม. วารสารคณะพละศึกษา.2555; 15(2):232-241.

กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. รายงานสรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2563. สกลนคร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร; 2563.

Hackman, J. R., & Oldham, G.R. Work redesign. Masachuserrs: Addison Wesley; 1980.

Herzberg & Frederick, et al. The Motivation to Work. New York: John Wiley; 1966.

Daniel W.W. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences .9th ed. New York: John Wiley & Sons; 2010.

วีระพงษ์ เรียบพร, พรนภา ศุกร เวทย์ศิริ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อ ผลการประเมินมาตรฐานทีมเฝ้าระวัง สอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ระดับ อำเภอ จังหวัดนครราชสีมา. วารสาร วิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น. 2556; 6(2): 54-61.

Likert, R. A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology. 1932; 140, 5-55.

Bloom, B.S. Taxonoxy of Education objectives : The Classification of Education Goals Handbook I, Cognitive Domain. 20th ed. New York : David Mckay Company, Inc. 1975.

บุญประจักษ์ จันทร์วิน, ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์. ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานตาม มาตรฐานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ. 2559; 3(3):45-55.

ปิติสุข พันสอน. การตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับอำเภอในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ : กรณีศึกษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอเอช 1 เอ็น 1. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2555.

กนกวรรณ เซียวศิริถาวร, สุธี อยู่สถาพร, ฉัตรสุมน พฤฒภิิญโญ, นิทัศน์ ศิริโชติรัตน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ในกรุงเทพมหานคร.วารสารกฎหมายสขภาพและสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561; 4(2):195-207.

นันทิยา เมฆวรรณ,สมเดช พินิจสุนทร. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานระบาดวิทยาของ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดอุดรธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556; 1(3):92-104.

สมชาติ จิตราวุธ. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประจำสถานีอนามัยในจังหวัดตรัง. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2555; 15(3):207-216.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022