คุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวไร่อ้อยในเขตพื้นที่ตำบลห้วยยาง อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ชนิดา ราชเสน นักศึกษา สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สุพัฒน์ จำปาหวาย อาจารย์ สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อารีนา อับดุลเลาะ อาจารย์ วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • ศศิประภา จำปาหวาย พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลกุดกว้าง

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, เกษตรกรชาวไร่อ้อย, สุขภาพเกษตรกร, สังคมและเศรษฐกิจเกษตรกร, ชีวิตครอบครัวเกษตรกร, จิตวิญญาณของเกษตรกร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวไร่อ้อยภายในเขตพื้นที่ ตำบลห้วยยาง อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 118 คน สุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม คุณภาพของเครื่องมือมีความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถาม ได้ค่า IOC อยู่ในช่วง 0.78 – 1.00 และมีค่าความเที่ยงวิเคราะห์ด้วย Cronbach's Alpha Coefficient ปัจจัยด้านการประกอบอาชีพเท่ากับ 0.74 และปัจจัยด้านคุณภาพชีวิต เท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติ Chi – Square

ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพชีวิตในภาพรวมของเกษตรกรชาวไร่อ้อยในเขตพื้นที่ ตำบลห้วยยาง อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 77.12 และเมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า
ในด้านสุขภาพและหน้าที่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 88.14 ด้านสังคมและเศรษฐกิจอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 72.89 ด้านจิตวิญญาณอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 67.79 ด้านชีวิตครอบครัวอยู่ในระดับดี ร้อยละ 77.97 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวไร่อ้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระดับการศึกษา (p-value=0.005) และลักษณะครอบครัว (p-value=0.026)                  

References

นิภาพร ศรีวงษ์ และอุไรวรรณ อินทร์ม่วง. ผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำไร่อ้อย ของเกษตรกรชาวไร อ้อย ตำบลหนองกุงแก้ว อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2556; (6)2: 14-22.

Ferrans & Power. Psychometric assessment of the quality of life index. Research in Nursing and Health. 1992; 15(1): 29-38.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม. ทะเบียนชาวไร่อ้อย. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ocsb.go.th/th/home/index.php.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: วิทยพัฒน์; 2556.

พัชนี ยมาภัย. คุณภาพชีวิตเกษตรกรในจังหวัดนครสวรรค์ [วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2550.

อัมพร ไทยขำ. คุณภาพชีวิตของเกษตรกร. กรณีศึกษาเกษตรกรปลูกไม้ยูคาลิปตัส ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก [วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2553.

ปิ่นสะอาด สหนาวิน. คุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร [ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์]. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2553.

สุภา แก้วบริสุทธิ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตเกษตรกรชาวสวนยางพาราจังหวัดสงขลา [วิทยานิพนธ์การพยาบาลอนามัยชุมชนมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2547.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-04-2022