ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานอาหารของผู้ค้าหาบเร่แผงลอย เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • กิตติพงศ์ ใยแสง
  • วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์

คำสำคัญ:

การปฏิบัติตามมาตรฐานอาหารหาบเร่แผงลอย, ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานอาหารหาบเร่แผงลอย, แรงจูงใจ, การปฏิบัติตามมาตรฐานอาหารหาบเร่แผงลอย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานอาหารของผู้ค้าหาบเร่แผงลอย เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ค้าหาบเร่  แผงลอย เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร จำนวน 264 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 15 พฤศจิกายน 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใชความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า การปฏิบัติตามมาตรฐานอาหารของผู้ค้าหาบเร่แผงลอย อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 67.05 อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 31.06 และอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 1.89 ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานอาหารของผู้ค้าหาบเร่แผงลอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานอาหารหาบเร่แผงลอย (p-value = 0.005) และแรงจูงใจต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานอาหารหาบเร่แผงลอย (p-value = 0.049)

          ผลการศึกษาครั้งนี้ เสนอแนะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบมาตรฐานอาหารหาบเร่แผงลอยควรเพิ่มนโยบายด้านสถานที่ค้าขาย โดยการสร้างแรงจูงใจและให้ความรู้แก่ผู้ค้าอาหารหาบเร่แผงลอยในการปฏิบัติตามมาตรฐานอาหารแผงลอยและควบคุมผู้ค้าอาหารหาบเร่แผงลอยด้านระเบียบวินัยและช่วงเวลาในการค้าขาย

This cross-sectional descriptive research aimed to investigate factors that related to compliance with standards for street food vendors in Ratchathewi District, Bangkok Metropolis. Totally, 264 street food vendors in Ratchathewi District, Bangkok Metropolis were selected by using simple random sampling method. The questionnaires were used for data collection during 1st October -15th November 2021. The data were then analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, Chi–square analysis, and Pearson's Product Moment Correlation Coefficient statistics. The results of the study revealed that the compliance with standards for street food vendors was found at a high level accounting for 67.05%, followed by a moderate level accounting for 31.06%, and finally at a low level accounting for 1.89%, respectively. The statistically significant (p-value < 0.05) related factors to street food vendors’ compliance with street food standards were knowledge of street food standards (p-value = 0.005) and motivation for compliance with standards for street food (p-value = 0.049)

          The results of this study suggested that the agencies in charge of street food standards should increase more trading place policies incentivizing and educating street food vendors to comply with food stall standards and regulating the street food vendors for discipline and time of trade.

 

 

References

Shea, G. Best 23 cities for street food from Miami to Tokyo. [internet]. Tokyo: 2017. [cited 2021 June 7]. Available from: http://edition.cnn.com/travel/article

/best-cities-street-food/index.html.

กระทรวงการต่างประเทศ. มูลนิธิไทยเปิดตัว Application แนะนำอาหารริมทาง อร่อยเด็ดสไตล์สตรีทฟู๊ด เอาใจนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่สายกิน. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: 2560. [เข้าถึงเมื่อ 7 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก http://www.mfa.go.th/main/th/news3/6886/76365.html.

มธุรส หาญสมสกุล. การบริหารจัดการปัญหาหาบเร่แผงลอยในเขตกรุงเทพฯ ศึกษาเฉพาะกรณีพื้นที่สนามหลวง เขตพระนคร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2555.

กองนโยบายและแผนงาน สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร. หาบเร่-แผงลอย ในกรุงเทพฯปี พ.ศ. 2555. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: 2555. [เข้าถึงเมื่อ 7 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก http://cpd.bangkok.go.th:90/web2/strategy/DATA54_55/15UNM.pdf.

นฤมล นิราทร. การจัดการการค้าหาบเร่แผงลอย ในกรุงเทพมหานคร: ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา. 2557; 33(2): 48-72.

กรมอนามัย, สำนักงานสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: 2562. [เข้าถึงเมื่อ 7 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก http://foodsan.anamai.moph.go.th/main.php?filename= standard_cfgt.

สำนักงานเทศกิจ. จัดระเบียบหาบเร่แผงลอย. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: 2559. [เข้าถึงเมื่อ 20 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.bltbangkok.com/bangkok-update/4350.

Daniel,W.W.Biostatistics:afoundation for analysis in the health sciences.

thed. NJ: John Wily&Sons. 2010.

Bloom, Benjamin S. Mastery Learning Mastery Learning Theory and Practice. New York: Holt, Rinchart and Winston. 1956.

Herzberg, F., Mausner, B., & Synderman, B. The motivation to work. New York: John Wiley and Sons. 1959.

กองสุขาภิบาลอาหาร. คู่มือวิชาการสุขาภิบาลอาหารสำหรับเจ้าหน้าที่. กรุงเทพมหานคร: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2556.

พัชรินทร์ บุญนุ่น, วันประชา นวนสร้อย, อรุณรักษ์ ตันพานิช และ สุห์ดี นิเซ็ง. วิเคราะห์องค์ประกอบความสำเร็จในการประกอบกิจการร้านอาหารริมทาง: กรณีศึกษาฉื่อฉางสตรีทฟู้ด อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2563; 40(4): 99-119.

อภิชาติ น้อยถนอม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาพสุขาภิบาลอาหารของร้านจำหน่ายอาหารตามสั่งบริเวณหาดเจ้าหลาว-แหลมเสด็จ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. [วิทยานิพนธ์ สาขาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต].ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา. 2554.

นุกุล อินทกูล, ชูกลิ่น อุนวิจิตร สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์, เลหล้า ตรีเอกานุกูล. กระบวนการขับเคลื่อนร้านอาหารในจังหวัดเชียงราย เข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพร้านอาหารประเทศไทย. วารสารสังคมศาตร์วิชาการ. 2558; 8(ฉบับพิเศษ): 47-67.

ธนพร วังมูล.แรงจูงใจการประกอบกิจการร้านอาหารประเภทร้านอาหารทั่วไป [สารนิพนธ์ สาขาการจัดการมหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2022