ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการจัดการและการพยากรณ์การจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • วุฒิชัย จันทิมา องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านต้อง
  • สิริรัตน์ มาตาเดิม สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดบึงกาฬ
  • นิรวรรณ แสนโพธิ์

คำสำคัญ:

ปัจจัยสำคัญ, การพยากรณ์, การจัดการขยะมูลฝอย, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการจัดการขยะมูลฝอย และเพื่อพยากรณ์การจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดบึงกาฬ กลุ่มประชากรศึกษาคือผู้ปฏิบัติงานที่มีความรับผิดชอบหลักและทำงานเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 131 คน ทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรศึกษาทั้งหมด โดยใช้แบบสอบถามที่ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ซึ่งทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และทำการวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดต่ำสุดและค่ามัธยฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน                                      ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดบึงกาฬ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.01) ประกอบด้วย ลักษณะขององค์การ, การกระจายอำนาจ, ความชำนาญเฉพาะทาง, เทคโนโลยี, ความเป็นทางการ, โครงสร้างองค์การ, ลักษณะของสภาพแวดล้อม, บรรยากาศองค์การ, การประสานงาน, ลักษณะของบุคคลในองค์การ, ความผูกพันต่อองค์การ, การปฏิบัติงานตามหน้าที่, การจูงใจ, ลักษณะของการบริหารและการปฏิบัติงาน, ภาวะผู้นำ, การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและการจัดหาทรัพยากร

          ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดบึงกาฬ ประกอบด้วย การจูงใจ, การกระจายอำนาจ, โครงสร้างขององค์การ, ความชำนาญเฉพาะทาง ซึ่งสามารถพยากรณ์การจัดการขยะมูลฝอยได้ร้อยละ 70 (R2 = 0.51, P-value<0.01) โดยเขียนเป็นสมการทำนายได้ ดังนี้

      Y = 1.164 + [0.374*การจูงใจ] + [0.268*การกระจายอำนาจ] + [-0.323*โครงสร้างขององค์การ] + [0.335*ความชำนาญเฉพาะทาง]

References

1. สันชัย พรมสิทธิ์, วันทนีย์ แสนภักดี, สัญญา เคณาภูมิ, พงษ์เมธี ไชยศรีหา. รูปแบบการจัดการขยะกับความเหมาะสมของพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาของแก่น. 2562 ;6(2): 459-483
2. กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย. กรุงเทพ: บริษัท ธนสิริปริ้นติ้ง จำกัด; 2562.
3. กิตติ มีศิริ. ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน กรณีศึกษาชุมชนเกตุไพเราะ 3,4,5 เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.
4. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. แนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายระดับพื้นที่. นนทบุรี: สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 6; 2561.
5. สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดบึงกาฬ. รายงานผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน .บึงกาฬ; 2563.
6. Likert, R. Attitude Theory and measurement. New York; 1967
7. สำเริง จันทรสุวรรณ, สุวรรณ บัวทวน. ระเบียบวิธีวิจัยด้านสังคมศาสตร์. ภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษย์วิทยา คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น; 2547.
8. Elifson, K.W., Runyon, R.P. and Haber, A. Fundamentals of social statistics. New York: McGraw-Hill ; 1990.
9. สมคิด บางโม. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : บริษัทวิทยพัฒน์ จำกัด; 2558.
10. ไพศาล ไกรรัตน์, จิตติ กิตติเลิศไพศาล, ปณิธี การสมดี, ชาติชัย อุดมดิจมงคล. ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารชุมชนวิจัย. 2561;12(3):185-198
11. พัลลภ จิระโร. แรงจูงใจในการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชุมพร. วารสารการวัดและประเมินผลสถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์. 2563;1(2):33-44
12. กล้า ทองขาว. นโยบายสาธารณะและการวางแผน. เอกสารการสอนชุดวิชาวิทยาการจัดการ (หน่วยที่ 5). นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ;2548
13. วิมล ชาตะมีนา, วชิรา วราศรัย, รุ่งทิพย์ จินดาพล. ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารจัดการและดำเนินโครงการของ อบจ.แพร่และของ อบจ.พิษณุโลก. กรุงเทพฯ: กองทุนวิจัยประเทศไทย; 2551
14. รัตนาภรณ์ โตพงษ์, ศุภณัฏฐ์ ทรัพย์นาวิน. การนำนโยบายด้านการจัดเก็บภาษีและรายได้ไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2559;9(2).
15. มนต์พิพัฒน์ เอี่นมจรัส, ไชยา ยิ้มวิไล, และปิยากร หวังมหาพร. ประสิทธิผลในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดปริมณฑล. วารสารช่อพะยอม. 2558;26(2): 141-162
16. อรนันท์ กลันทปุระ. ขนาดการจัดบริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศึกษากรณีบริการเก็บขนและกำจัดขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารพัฒนาบริหารศาสตร์. 2552;49(3).
17. ขวัญฤดี จันทิมา, อรทัย เลียงจินดาถาวร. การนำนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติ วิเคราะห์การจัดการขยะของเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 2557;6(11).
18. Steers, R.M. Organizational Effectiveness A Behavioral view. Santa Monica California: Good Year ;1997.
19. พีรยา วัชโรทัย. การจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเมืองแกลง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ;2556
20. สันชัย พรมสิทธิ์, วันทนีย์ แสนภักดี, สัญญา เคณาภูมิ, พงษ์เมธี ไชยศรีหา. รูปแบบการจัดการขยะกับความเหมาะสมของพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาของแก่น 2562;6(2):459 – 483

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2022