ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของ ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • อนันต์ พวงคำ กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลสุรินทร์
  • วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์

คำสำคัญ:

การจัดการตนเอง, ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว, แรงจูงใจ, แรงสนับสนุนทางสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว จำนวน 185 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 21 เดือนตุลาคม 2564 ถึง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า การจัดการตนเองในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวอยู่ในระดับมากร้อยละ 71.4 รองลงมาอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 25.4 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value <0.05) ได้แก่ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาการเจ็บป่วย แรงจูงใจต่อการป้องกันภาวะแทรกซ้อน และแรงสนับสนุนทางสังคม

            ผลการศึกษาครั้งนี้ เสนอแนะให้คลินิกโรคหัวใจ ควรมีนโยบายการส่งเสริมการจัดการตนเอง รวมทั้งทีมสุขภาพนำองค์ความรู้แนะนำให้กับผู้รับบริการในการจัดการตนเองและการสร้างแรงจูงใจ การสร้างแรงสนับสนุนให้กับผู้รับบริการเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 คำสำคัญ : การจัดการตนเอง ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว แรงจูงใจ แรงสนับสนุนทางสังคม

References

เอกสารอ้างอิง
1. WHO. (2017). Cardiovascular diseases (CVDs). [online]. 2017 [cited 2019 Juy 10];
Avaliable from http://www.who.int/ cardiovascular_diseases/about_cvd/en/.
2. WHO. (2020). Cardiovascular diseases (CVDs). [online]. 2021 [cited 2021 June 11];
Avaliable from https://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/cardiovascular- diseases-(cvds)
3. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานประจำปี 2563 .
สืบค้น 20 มิถุนายน 2564, จาก http://35.190.29.12/dncd/journal_detail.php?publish =11158&deptcode=dncd
4. สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2562). แนวทางเวชปฏิบัติเพื่อการ
วินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว พ.ศ.2562. กรุงเทพ :
ห้างหุ้นส่วนจำกัดเนคสตปดีไซน์.
5. สถิติทะเบียนโรงพยาบาลสุรินทร์. สถิติทะเบียน โรงพยาบาลสุรินทร์ ; 2559. เอกสารอัดสำเนา.
6. Oliveira, T. C. T. D., Correia, D. M. D. S., & Cavalcanti, A. C. D. (2013). The impact of
the heart failure on daily: Patient perception of follow-up ambulatory. Journal of Nursing UFPE on line. 2(6): 4497-4504.
7. Creer, L. T. (2000). Self-management of chronic illness. In M. Boekaerts, P. R.
Pintrich, & M. Zeidner (Eds.), Handbook of self- regulation (pp. 601-629). California: Academic press.
8. Daniel,W.W.(2010). Biostatistics:afoundation for analysis in the health sciences.
9Thed. NJ: John Wily&Sons
9. Bloom, B.S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student
learning. New York : McGraw–Hill.
10. ประภัสสร พิมพาสาร, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ และนารีรัตน์ จิตรมนตรี. (2561). ปัจจัยที่มี
ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว. วารสารสภาการพยาบาล. 33(1) : 103-115.
11. ภทรพรรณ อุณาภาค และ ขวัญชัย รัตนมณี. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแล
ตนเอง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไต ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ของโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 10(2) : 44-54.
12. นิตยา ศรีสุข, จิราพร วัฒนศรีสิน และธวัชชัย ทีปะปาล. (2560). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต
ของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวในจังหวัดตรัง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและ
การสาธารณสุขภาคใต้. 4(1): 317-331.
13. ภัสราวลัย ศีติสาร, อรุณวรรณ สุวรรณรัตน์ และ จารุวรรณ ใจลังกา. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อ
พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ โรงพยาบาลดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. วารสารสาธารณุขล้านนา. 9(2) : 120-136.
14. นัฏพงษ์ ยาวะโนภาส, ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์ และกาญจนา พิบูลย์ .(2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ
พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 6(3) :331-352.
15. อารีส พลอยทรัพย์, วันเพ็ญ แก้วปาน, ปาหนัน พิชญภิญโญ, และจุฑาธิป ศีลบุตร. (2561). ปัจจัยที่มี
ผลต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 12(2) : 49-58.
16. พัชรวรรณ ศรีคง และนรลักขณ์ เอื้อกิจ. (2556). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการจัดการตนเองในการ
ควบคุมอาหารของผู้ป่วยภาวะหัวใจวาย ภาคตะวันออกเฉลียงเหนือตอนล่าง.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2022