ผลการใช้ผลิตภัณฑ์สเปรย์ฉีดพ่นคอที่มีส่วนประกอบของกระชายขาวและตรีผลา ร่วมกับการรับประทานฟ้าทะลายโจรต่ออาการไอในผู้ป่วยโควิด-19 แยกกักตัวอยู่บ้าน

ผู้แต่ง

  • วินัย สยอวรรณ คณะเภสัชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • พันธนนท์ พีรยศธนนนท์ บริษัท Paragon Aesthetic Co., Ltd
  • วรัญญา อรุโณทยานันท์ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขศาสตรและ สหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • วันนิศา รักษามาตย์ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

โควิด-19, ผลิตภัณฑ์สเปรย์ฉีดพ่น, อาการไอ, กระชายขาว, ตรีผลา

บทคัดย่อ

       

โรคโควิด-19 มีการไอเป็นอาการแสดงอย่างหนึ่งที่พบบ่อย รบกวนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และอาจนำไปสู่
การอักเสบและติดเชื้อแทรกซ้อน การศึกษาแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการใช้สเปรย์ฉีดพ่นคอ
ที่มีส่วนประกอบของกระชายขาวและตรีผลาร่วมกับการรับประทานฟ้าทะลายโจรต่ออาการไอ และความพึงพอใจ
ของผู้ป่วยโควิด-19 แยกกักตัวอยู่บ้าน ในเขตรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบ Consecutive sampling ตามเกณฑ์อาการ ไม่รุนแรง ไม่ต้องใช้ยาต้านไวรัส ทั้งหมด 61 คน
แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 31 คน ให้รับประทานฟ้าทะลายโจร ครั้งละ 3 เม็ด (เช้า กลางวัน เย็น) เป็นเวลา 7 วัน
และกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน ให้สเปรย์ฉีดพ่นคอที่มีส่วนผสมของกระชายขาวและตรีผลา (เช้า เย็น) ร่วมกับการ
รับประทานฟ้าทะลายโจร เป็นเวลา 7 วัน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2564 โดยใช้แบบประเมิน
ลักษณะอาการไอและแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาไคสแควร์ และการทดสอบค่าที
ด้วย Paired samples t-test และ Independent t-test

 

ผลการวิจัยพบว่า การรับประทานฟ้าทะลายโจรเพียงอย่างเดียวสามารถลดความถี่ในการไอ ในกลุ่มควบคุม
อย่างมีนัยสำคัญ (p-value <0.05) การใช้สเปรย์ฉีดพ่นคอที่มีส่วนผสมของกระชายขาวและตรีผลาร่วมกับการรับประทานฟ้าทะลายโจรในกลุ่มทดลองพบว่าอาการไอลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p-value<0.05) ทั้งด้านความถี่ ความรุนแรงของอาการไอ และการรบกวนชีวิตประจำวัน เมื่อเปรียบเทียบลักษณะอาการไอ พบว่ากลุ่มทดลองมีอาการไอน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทุกด้าน (p-value <0.05) อีกทั้งยังไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ และกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก แสดงให้เห็นว่าการใช้สเปรย์ฉีดพ่นคอที่มีส่วนผสมหลักของกระชายขาวและตรีผลาร่วมกับการรับประทานฟ้าทะลายโจรให้ผลดีในการบรรเทาอาการไอในผู้ป่วยโควิด-19 และมีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์

Author Biographies

วินัย สยอวรรณ, คณะเภสัชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

รักษาการคณบดี คณะเภสัชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

พันธนนท์ พีรยศธนนนท์, บริษัท Paragon Aesthetic Co., Ltd

ผู้บริหาร บริษัท Paragon Aesthetic Co., Ltd

วรัญญา อรุโณทยานันท์, วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขศาสตรและ สหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

อาจารย์ ตำแหน่งเภสัชกรชำนาญการ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขศาสตรและ

สหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

References

1. อมร ลีลารัศมี. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ COVID-19 จากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 [อินเทอร์เน็ต].
กรุงเทพฯ: แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ; 2563 [เข้าถึง เมื่อ 5 ส.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก
https://tmc.or.th/covid19/download/pdf/tmc-covid19-19.pdf.
2. สิทธิชัย ตันติภาสวศิน. โรคระบาดโควิด-19: สถานการณ์ปัจจุบัน. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี. 2563; 45(3):
161-162.
3. Chen N, Zhou M, Dong X, Qu J, Gong F, Han Y, et al. Epidemiological and clinical characteristics
of 99 cases of 2019 novel coronavirus pneumonia in Wuhan, China: a descriptive study.
The lancet. 2020; 395(10223): 507-513.
4. Wang D, Hu B, Hu C, Zhu F, Liu X, Zhang J, et al. Clinical characteristics of 138 hospitalized
patients with 2019 novel coronavirus–infected pneumonia in Wuhan, China. Jama. 2020;
323(11): 1061-1069.
5. ดารารัตน์ รัตนรักษ์, รุจิรา เข็มเพชร, อุษณีย์ พูลวิวัฒนกูล, สิรีธร นิมิตวิไล, อรอนงค์ เหล่าตระกูล,
ปิยะวรรณ ศรีมณี. ประสิทธิผลและความปลอดภัยของสารสกัดฟ้าทะลายโจรต่อการร่วมรักษาผู้ป่วย
โรคโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงน้อย โรงพยาบาลนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2564; 40(2): 269-282.
6. Hu XY, Wu RH, Logue M, Blondel C, Lai LYW, Stuart B, et al. Andrographis paniculata
(Chuan Xin Liaan) for symptomatic relief of acute respiratory tract infections in adults and
children: A systematic review and meta-analysis. PLoS ONE. 2017; 12(8): e0181780.
7. Wagner L, Cramer H, Klose P, Lauche R, Gass F, Dobos G, et al. Herbal medicine for cough:
a systematic review and meta-analysis. Complementary Medicine Research. 2015; 22(6): 359-368.
8. Kanjanasirirat P, Suksatu A, Manopwisedjaroen S, Munyoo B, Tuchinda P, Jearawuttanakul K,
et al. High-content screening of Thai medicinal plants reveals Boesenbergia rotunda extract
and its component Panduratin A as anti-SARS-CoV-2 agents. Scientific reports. 2020; 10(1): 1-12.
9. สร้อยเพชร เนตรอนงค์, พีระพงค์ กิติภาวงค์, ศรีโสภา เรืองหนู, อรุณพร อิฐรัตน์. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและ
ปริมาณสารประกอบฟีนอลรวมกับระยะเวลาการสกัดและการศึกษาความคงตัวของผงยาตำรับตรีผลา.
ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2558; 15(3): 472-479.
10. Jantrapirom S, Hirunsatitpron P, Potikanond S, Nimlamool W, Hanprasertpong N. Pharmacological
Benefits of Triphala: A Perspective for Allergic Rhinitis. Frontiers in pharmacology. 2021; 12: 1-24.
11. สุนันทา โอศิริ, สุภาภรณ์ ปิติพร, จิราพร ตระการจันทร์สิริ, ผกากรอง ขวัญข้าว, ณัฐดนัย มุสิกวงศ์, วัชสรา
คัมภีระธัม. รายงานการวิจัยประสิทธิผลของยาแก้ไอมะขามป้อมในการบรรเทาอาการไอ : การศึกษาเบื้องต้น.
ปราจีนบุรี: มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร; 2554.
12. ล้วน สายยศ, อังคณา สายยศ. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ;
2536.
13. พุทธินันท์ พินศิริกุล. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้บริการทางการแพทย์แผนไทยประเภทการนวดไทย
ของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา].
นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2554.
14. Jarukamjorn K, Nemoto N. Pharmacological aspects of Andrographis paniculata on health and
its major diterpenoid constituent andrographolide. Journal of Health Science. 2008; 54(4): 370-381.
15. Poolsup N, Suthisisang C, Prathanturarug S, Asawamekin A, Chanchareon U. Andrographis
paniculata in the symptomatic treatment of uncomplicated upper respiratory tract infection:
systematic review of randomized controlled trials. Journal of clinical pharmacy and therapeutics.
2004; 29(1): 37-45.
16. Coon JT, Ernst E. (2004). Andrographis paniculata in the treatment of upper respiratory tract
infections: a systematic review of safety and efficacy. Planta medica. 2004; 70(4): 293-298.
17. Isa NM, Abdelwahab SI, Mohan S, Abdul AB, Sukari MA, Taha MME, et al. In vitro anti-
inflammatory, cytotoxic and antioxidant activities of boesenbergin A, a chalcone isolated
from Boesenbergia rotunda (L.) (fingerroot). Brazilian Journal of Medical and Biological
Research. 2012; 45(6): 524-530.
18. Eng-Chong T, Yean-Kee L, Chin-Fei C, Choon-Han H, Sher-Ming W, Li-Ping CT, et al.
Boesenbergia rotunda: From ethnomedicine to drug discovery. Evidence-Based
Complementary and Alternative Medicine. 2012; 2012: 473637.
19. มหาวิทยาลัยศิลปากร. ข้อมูลพืชสมุนไพร: กระชาย [อินเตอร์เน็ต]. นครปฐม: คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2564 [เข้าถึง เมื่อ เข้าถึง เมื่อ 10 ส.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก
http://pharmacy.su.ac.th/herbmed/herb/text/herb_detail.php?herbID=4
20. ชุลิตา มามาก, จินตภาพ ด้วงดำรงค์, ธัญญาศิริ พยัคฆวิสัย, เบญญทิพย์ ตระกูลศิลป์, กุลภัสสรณ์
จำปาเงินทวีศรี, ปาณิสรา สุขเจริญ, และคณะ. การประเมินหลักฐานเชิงประจักษ์ของกระชายขาวกับการ
ใช้ทางการแพทย์และการกล่าวอ้างทางสุขภาพ. เวชบันทึกศิริราช. 2564; 14(2): 61-72.
21. สำนักยา. บัญชียาหลักแห่งชาติ [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: งานระบบยาแห่งชาติและสารสนเทศ
กลุ่มพัฒนาระบบ; 2556 [เข้าถึง เมื่อ 10 ส.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก
http://ndi.fda.moph.go.th/uploads/archives_file/20170207174301.pdf
22. กองการประกอบโรคศิลปะ. ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม. นนทบุรี: กองการประกอบโรค
ศิลปะ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; ม.ป.ป.
23. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร: สมอพิเภก [อินเตอร์เน็ต]. อุบลราชธานี:
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2553 [เข้าถึง เมื่อ 10 ส.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก
http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=133
24. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร: สมอไทย [อินเตอร์เน็ต]. อุบลราชธานี:
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2553 [เข้าถึง เมื่อ 10 ส.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก
http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=132
25. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร: มะขามป้อม [อินเตอร์เน็ต]. อุบลราชธานี:
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2553 [เข้าถึง เมื่อ 10 ส.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก
http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=101
26. Nosal'ova G, Mokrý J, Hassan KT. Antitussive activity of the fruit extract of Emblica officinalis
Gaertn. (Euphorbiaceae). Phytomedicine. 2003; 10(6-7): 583-589.
27. Nosalova G, Jurecek L, Chatterjee UR, Majee SK, Nosal S, Ray B. Antitussive activity of
the water-extracted carbohydrate polymer from Terminalia chebula on citric acid-induced
cough. Evidence-Based Complement and Alternative Medicine. 2013; 2013: 1-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2022