ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตำบลดงบัง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • เกียรติศักดิ์ คำดีราช นิสิต หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานสาธารณสุข มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ทัศนคติต่อการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรค, แรงสนับสนุนทางสังคม, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของ อสม.ในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานของ อสม.ในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตำบลดงบัง   อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างคือ อสม.ตำบลดงบัง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 175 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 2 พฤศจิกายน ถึง 15 พฤศจิกายน 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า การปฏิบัติงานของ อสม.ในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 92.0  รองลงมาอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 5.7 และระดับน้อย ร้อยละ 2.3 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานของ อสม.ในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)  ได้แก่ ทัศนคติต่อการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และแรงสนับสนุนทางสังคม

ผลการศึกษาครั้งนี้ เสนอแนะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ควรนำผลการศึกษาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแผนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ การจัดหาทรัพยากร การพัฒนาศักยภาพ และการพัฒนาเครื่องมือสำหรับการปฏิบัติงานของ อสม.ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

References

คณะพยาบาลศาสตร์ [อินเทอร์เน็ต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก:

http://www.nurse.cmu.ac.th/web/FONEventDetail.aspx?id=22645

ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล. ลำดับความเป็นมาของการระบาดของโคโรนาไวรัส. [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สมาคมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพไทย; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://doh.hpc.go.th/bs/wuhanDisplay.php

ศูนย์ข้อมูล COVID-19. สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพ: สำนักนายกรัฐมนตรี; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 17 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/informationcovid19

Primary Health Care Division. Health volunteers [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 9 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaiphc.net/- new2020/content/1

Vishnuayothin T. Disease situation COVID-19 [Internet]. Bangkok: Secretariat of the Prime Minister; 2009 [cited 2021 May 31]. Available from: https://www.ryt9.com/s/- govh/3114882

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaiphc.net/new-2020/

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กระทรวงสาธารณสุข. การประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล (โปรแกรม Webex) ติดตามการดำเนินงาน “อสม. ทุกคน ชวนทุกครอบครัว ร่วมใจกันไปฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19”ครั้งที่ 10/2564; วันที่ 15 กรกฎาคม 2564; ณ ห้องประชุมชั้น 4 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. นนทบุรี: กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

วิชัย ศิริวรวัจน์ชัย. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทของ อสม. ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด 19 อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร. 2564; 4(2): 63-75.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือความรู้เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับเจ้าหน้าที่ และ อสม. (นักรบเสื้อเทาออกเคาะประดูบ้านทุกหลังคาเรือน). นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

Schermerhorn, J. R. Management (7th ed). New York: John Wiley & Sons; 2000.

Cobb S. Social Support as a Moderated of Life Stress, Psychosomatic Medicine. 38(September-October). 1976; p.3

Schaefer C, Coyne JC, Lazarus R. The Health-Related functions of social support Journal of Behavioral Medicine; 1981.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaiphc.net/new-2020/

Daniel WW. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. 9th ed. New York: John Wiley & Sons; 2010.

Likert RA. Technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology. 1932; 22 .140, 55

Bloom BS. Taxonoxy of Education objectives : The Classification of Education Goals Handbook I, Cognitive Domain. 20th ed. New York : David Mckay Company, Inc.; 1975

ศุภัคชญา ภวังค์คะรัต, สมภพ อาจชนะศึก และคณะ. การศึกษาสถานการณ์การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ; 2563 [วันที่อ้างอิงถึง 17 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/dyn_mod/(Full_paper_edit)_A_Study_of_COVID19_Surveillance,_Prevention_and_Control_in_ Communities_(1)_ dec_jan_21.pdf

สรวุฒิ เอี่ยมนุ้ย. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด - 19 อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา. 2564; 1(2): 75-90.

ธวัชชัย ยืนยาว, เพ็ญนภา บุญเสริม. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการป้องกัน การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หญิงในจังหวัดสุรินทร์.สุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2563; 35(3): 555-64.

สุภาภรณ์ วงธิ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2022