ความรู้และทัศนคติที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง เขตอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

ผู้แต่ง

  • นูรมา สมการณ์
  • อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง กลุ่มประชากรคือ ผู้สูงอายุที่มีรายชื่อตามทะเบียนบ้านเขตอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส โดยได้รับการประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเป็นกลุ่มติดบ้าน ปีงบประมาณ 2562 จำนวน 1,651 ราย คำนวณกลุ่มตัวอย่างที่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนของ Daniel ได้กลุ่มตัวอย่าง 289 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถาม เท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลหาความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ประกอบด้วย ด้านสุขภาพกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคมและด้านสิ่งแวดล้อม มีระดับคุณภาพชีวิตปานกลาง (60.21%) (=1.95, S.D.=0.630) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ระดับการศึกษา (P-value=0.006) ผู้สูงอายุที่มีผู้ดูแล (P-value<0.001) การมีโรคประจำตัว (P-value=0.029) และความรู้ของผู้สูงอายุ (P-value=0.024) แต่ทัศนคติของผู้สูงอายุไม่พบความสัมพันธ์ (P-value=0.179) ตามลำดับ

References

1 สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์. อาหารทั่วไปและอาหารเฉพาะโรคผู้สูงอายุ.
กรุงเทพมหานคร : กระทรวงสาธารณสุข. 2549.
2 ชมพูนุช พรหมภักดี. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย (Aging society in Thailand).
วารสารสำนักวิชาการสำนัก เลขาธิการวุฒิสภา. 2556; 3(16): 3.
3 สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล. (2555). การดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ
ในชุมชน.
4 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส. (2562). รายงานผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก
https://nwt.hdc.moph.go.th
5 Daniel WW. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health
Sciences. (9th ed). New York: John Wiley & Sons; 2010.
6 Bloom, B.S. Taxonomt of Education. David McKay Company Inc., New York.
1975.
7 Best John W. Research is Evaluation. (3rded). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall;
1977.
8 World Health Organization (WHO). (n.d.). Definition of an older or elderly
person: Proposed Working Definition of an Older Person in Africa for the MDS Project. [Online]. Available from: http://www.who/int/healthinfo/survey/ageingdefnolder/en/index.html ( 2 January 2020)
9 Cronbach Lee J. Essentials of Psychological Testing. 3rd ed. New York: Harper;
1951.
10 อาริสา ป้านภูมิ, ศรัญยา สุขนิรันดร, สาธิกา จันทะพินิจ, อินทุอร นิลบรพต, กีรติ ภูมิผักแว่น.
คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุบ้านตูบโกบ ตำบลกกดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเลย. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 1 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อชุมชน”; วันที่ 20 เมษายน 2562; ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. ราชภัฏเลย: มหาวิทยาลัย; 2562.
11 จีราพร ทองดี, ดาราวรรณ รองเมือง, ฉันทนา นาคฉัตรีย์. ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของ
ผู้สูงอายุในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2555; 22(3): 88-99.
12 Green, L.W., Kreuter, M.W. Health Promotion Planning: An Educational and
Environment Approach. California: Mayfield Publishing. 1991.
13 Ajzen, I., Fishbein, M. Understanding attitudes and predicting social behavior.
Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall. 1980.
14 Thurstone, L.L. Reading in Attitude Theory and Measurement. New York: John
Wiley and Sons, Inc. 1970.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2022