การแปลงธรรมนูญตำบลสู่การปฏิบัติ ประเด็นการจัดการความปลอดภัยทางถนน ตำบลเสียว อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • อนุพันธ์ สุวรรณพันธ์
  • ชญานิน กฤติยะโชติ
  • ณัฐกร โต๊ะสิงห์
  • ทิพย์สุดา กุมผัน
  • โชติรส นพพลกรัง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

ธรรมนูญตำบล, การจัดการความปลอดภัยทางถนน, การแปลงธรรมนูญสู่การปฏิบัติ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแปลงธรรมนูญตำบลไปสู่การปฏิบัติ ประเด็นการจัดการความปลอดภัยทางถนน ตำบลเสียว อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการความปลอดภัยทางถนนของตำบลเสียว เลือกแบบเจาะจง รวม 15 คน เก็บข้อมูลช่วงเดือนกันยายน 2563 ถึง กุมภาพันธ์ 2564 โดยวิเคราะห์เอกสาร สังเกตแบบมีส่วนร่วม และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

          ผลการวิจัยพบว่า ตำบลเสียวมีการขับเคลื่อนธรรมนูญตำบล โดยเลือกประเด็นการจัดการความปลอดภัยทางถนน  ซึ่งมีการทบทวนคณะทำงานและให้แกนนำเข้ารับการอบรมการใช้ชุดความรู้เรื่องการจัดการความปลอดภัยทางถนน แล้วร่วมกันวิเคราะห์จุดเสี่ยง พบจุดเสี่ยงในทางหลวงแผ่นดิน 9 จุด และถนนสายรอง 58 จุด แล้วนำจุดเสี่ยงสูง 3 จุดมาหาสาเหตุด้วยแผนภูมิต้นไม้ปัญหา หลังจากนั้นดำเนินตามมาตรการชุมชน คือ การแก้ไขจุดเสี่ยงและส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้แล้วยังมี การให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางถนนใน 2 ระดับคือ ผู้นำชุมชนและประชาชน และสร้างหมู่บ้านต้นแบบวินัยจราจร จากการติดตามประเมินผลพบว่าอุบัติเหตุทางถนนลดลงร้อยละ 12.1 สำหรับแนวทางในการแปลงธรรมนูญตำบลสู่การปฏิบัติ มี 7 ขั้นตอน คือ 1) คณะกรรมการตำบลเลือกประเด็นที่จะขับเคลื่อน 2) ทบทวนคณะทำงานขับเคลื่อนและพัฒนาศักยภาพ 3) การจัดการข้อมูล 4) คัดเลือกสาเหตุสำคัญของประเด็นและกำหนดเป้าหมาย 5) การสนับสนุนงบประมาณ การประสานงานและติดตามหนุนเสริม 6) การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ และ 7) การสรุปผลการดำเนินงานและประเมินผล

          ดังนั้นตำบลที่จะแปลงธรรมนูญไปสู่การปฏิบัติ ควรเริ่มด้วยการร่วมกันเลือกปัญหาสำคัญของพื้นที่ที่ต้องการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะทำให้การขับเคลื่อนง่ายขึ้น และเห็นประโยชน์ของการทำธรรมนูญตำบล

 

คำสำคัญ : ธรรมนูญตำบล, การจัดการความปลอดภัยทางถนน, การแปลงธรรมนูญสู่การปฏิบัติ

References

1. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ. อีแอนด์ไอ ครีเอทพลัส จำกัด; 2560.
2. พลเดช ปิ่นประทีป. “โลกกว้าง ทางสนุก” ผลการปฏิบัติงาน ในวิถีสานพลัง รายงานสาธารณะผลการปฏิบัติงาน ปีที่ 3. นนทบุรี. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ; 2562.
3. สัมมนาเครือข่ายวิชาการนักศึกษาพัฒนาชุมชมและสังคมแห่งประเทศไทย. มหาวิทยาลัย ราชภัฏเพชรบุรี. สัมมนาเครือข่ายวิชาการนักศึกษาพัฒนาชุมชนและสังคมแห่งประเทศไทย (CSD สัมพันธ์ ครั้งที่ 16); วันที่ 6 – 9 กุมภาพันธ์ 2560; ณ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี. มปป.; 2560.
4. พระโสภณพัฒนบัณฑิต, ธวัลรัตน์ แดงหาญ, พระประเสริฐศักดิ์ รตฺนญโณ. การขับเคลื่อนระบบสุขภาพโดยใช้ธรรมนูญสุขภาพชุมชนวิถีพุทธ ตำบลหนองตาไก้ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วิชาการธรรมทรรศน์. 2562; 19(2): 1-11.
5. วิเชียร พูลนุช. การขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพเทศบาลตำบลวัดโบสถ์ของชุมชนหลวงพ่อเพชร ตำบลท้อแท้ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก. [สารนิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์]. พิษณุโลก. มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2555.
6. คชษิณ สุวิชา, ชลธิดา บัวหา. การจัดการปัญหาการพนันในชุมชนโดยธรรมนูญสุขภาพตำบล กรณีศึกษาเทศบาลตำบลหนองหิน อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด. [รายงานการวิจัย]. กรุงเทพฯ. ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน; 2562.
7. อรรถพล ศรีประภา. กระบวนการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ ในประเด็นการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายในชุมชนตำบลโคกกว้าง อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์]. มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2558.
8. ประกันชัย ไกรรัตน์, วรพจน์ พรหมสัตยพรต, กฤษณ์ ขุนลึก. การพัฒนารูปแบบขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพตำบลในการคัดแยกขยะมูลฝอย เขตเทศบาลตำบลวิศิษฐ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. J Sci Technol MSU. 2017; 36(5): 635-49.
9. ณรงค์ฤทธิ์ จันทร์นาหว่า, แดนชัย ใหทอง, พูลทรัพย์ ขุมเงิน, ธิดารัตน์ ชาวตุ้ม, เดือนนภา คำหงษา, วัฒนา แดงนา, และคณะ. กระบวนการพัฒนาและขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพประเด็นสารเคมีเกษตร ตำบลนาดี อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู. ร้อยเอ็ด. [รายงานการวิจัย]. กรุงเทพฯ.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย; 2561.
10. พิมณทิพา มาลาหอม,พนมวรรณ์ สว่างแก้ว, วิชิต พุ่มจันทร์, ไพรัช จันทพันธ์, กฤษณา สมสะอาด. พลังชุมชนกับการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันการระบาดของโควิด–19 ในชุมชนชายแดนไทย – ลาว [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ; 2564 เข้าถึงเมื่อ [20 มิถุนายน 2564] เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/main/th/article/detail/186
11. ปรีดา แต้อารักษ์, วันรพี สมณช้างเผือก. คู่มือการแปลงธรรมนูญสุขภาพตำบลสู่การปฏิบัติ
บทเรียนการแปลงธรรมนูญสุขภาพไปสู่แผนปฏิบัติ ในพื้นที่ 7 จังหวัดอีสานตอนบน กรณีศึกษาการเชื่อมโยงธรรมนูญสุขภาพสู่การวางแผนงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่. อุดรธานี. โรงพิมพ์ศักดิ์ศรีอักษรการพิมพ์; 2559.
12. ทนงศักดิ์ พลอาษา, ประเสริฐ ประสมรักษ์. ผลการประเมินความเข้มแข็งของการสร้างและใช้ธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ ในมุมมองของประชาชน จังหวัดอำนาจเจริญ. ศรีนครินทร์เวชสาร 2562; 34(4): 379-85.
13. อนุพันธ์ สุวรรณพันธ์, อธิวัฒน์ กุลบุตร, จันทร์ โต๊ะสิงห์, เชาวฤทธิ์ บุญลี, ยวิษฐา โพธิวัฒน์, เพ็ญทิวา สารบุตร, และคณะ. ธรรมนูญคนศรีสะเกษ 6 ตำบล. นนทบุรี. พิมพ์ดี จำกัด; 2561.
14. ประภาพรรณ อุ่นอบ. บรรณาธิการ. การประเมินภายใน : เครื่องมือเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนา โครงการสร้างเสริมสุขภาวะ. กรุงเทพฯ. พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด; 2564.
15. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานและการประเมินการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนในระดับอำเภอ. นนทบุรี. กระทรวงสาธารณสุข; 2562.
16. วัลลภัช สุขสวัสดิ์. ทุนทางสังคมกับธรรมนูญการจัดการตนเอง. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences) 2017; (10)2: 91-106.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2021