การพัฒนาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อโรงพยาบาลน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ธิติ บุดดาน้อย คณะสาธารณสุขศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อุไรวรรณ อินทร์ม่วง สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ, มูลฝอยติดเชื้อ, มูลฝอยทางการแพทย์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น โดยมีขั้นตอนดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์การจัดการมูลฝอยติดเชื้อในหน่วยงานโรงพยาบาลน้ำพอง จำนวน 14 หน่วยงาน และศึกษาพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของเจ้าหน้าที่ จำนวน 170 คน โดยใช้แบบสังเกตและแบบสอบถาม พบว่า หน่วยงานยังไม่มีการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อที่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่มีการทิ้งมูลฝอยทั่วไปลงในถังรองรับมูลฝอยติดเชื้อ ระยะที่ 2 การประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ จำนวน 31 คน ประกอบด้วย การทดสอบความรู้ก่อนและหลังการประชุม การอบรมให้ความรู้และหาแนวทางการแก้ไขปัญหา พบว่า คะแนนความรู้หลังการอบรมมีค่ามากว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) มีแนวทางการดำเนินการ ได้แก่ 1) บุคลากร การจัดฝึกอบรมบุคลากรความรู้และการปฏิบัติตัวการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ การสื่อสารผู้มารับบริการในการคัดแยกมูลฝอย 2) วัสดุและอุปกรณ์ จัดให้มีอุปกรณ์ตามมาตรฐานและมีการซ่อมบำรุงเป็นประจำ 3) การดำเนินการจัดการ การวางแผนการทำงานร่วมกันของทุกหน่วยงาน การนำนโยบายมาขับเคลื่อน 4) งบประมาณ มีการตั้งงบประมาณแก้ปัญหาเร่งด่วน และนำแนวทางที่ได้มาปฏิบัติ ระยที่ 3ศึกษาปริมาณมูลฝอยติดเชื้อของแต่ละหน่วยงานของโรงพยาบาลก่อนและหลังการพัฒนาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อระยะเวลา 15 วัน พบว่า หลังการพัฒนามีปริมาณมูลฝอยลดลง ร้อยละ 11.0

References

1. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์กำจัดการมูลฝอยติดเชื้อในประเทศ [อินเทอร์เน็ต].; 2558 [เข้าถึง เมื่อ 24 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก http://www.anamai.moph.go.th
2. กรมควบคุมมลพิษ. ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นและได้รับการกําจัด ในปี 2558-2562 [อินเทอร์เน็ต].; 2562 [เข้าถึง เมื่อ 30 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จากwww.pcd.go.th/file/Thailand_Pollution_%20Report_2019_Thai.pdf
3. โรงพยาบาลน้ำพอง. ปริมาณขยะมูลฝอย โรงพยาบาลน้ำพอง. (28 กันยายน 2563). สัมภาษณ์.
4. ธงชัย มั่นคง. พฤติกรรมของบุคลากรด้านการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อโรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัด พะเยา. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2559; 13(1).
5. สุกัญญา ไชยสุวรรณ การพัฒนาการจัดการมูลฝอยในโรงพยาบาลกระบี่. วารสารกระบี่เวชสาร. 2561; 2(2).
6. พูพนิต โอ่เอี่ยม. พฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อของบุคลากรและเจ้าหน้าที่ ในโรงพยาบาล สมุทรสาคร. วารสารวิทยบริการ. 2556; 24(4) .
7. ชลธิชา วิชาเครื่องและอุไรวรรณ อินทร์ม่วง. การพัฒนาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในหอผู้ป่วยในของโรงพยาบาลเลย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2022