ปัญหาสุขภาพและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ ตำบลมะค่า อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ปาจรีย์ รุ่งรัตน์ชัชวาลย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • กาญจนา นาถะพินธุ

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, อุบัติเหตุ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ ตำบลมะค่า อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 686 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 236 คน จากสูตรคำนวณขนาดตัวอย่างเพื่อการประมาณค่าสัดส่วนของประชากรกรณีทราบจำนวนประชากร ช่วงเวลาในการศึกษา ระหว่างเดือน มกราคม - พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบสำรวจสภาพแวดล้อมในตัวบ้านและบริเวณรอบๆตัวบ้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสถิติเชิงอนุมาน สำหรับการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์คราวละปัจจัยด้วยสถิติทดสอบ Chi-square test และ Fisher-exact test และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์คราวละหลายปัจจัยด้วยสถิติถดถอยพหุโลจิสติก

ผลการศึกษาปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่า มีโรคประจำตัว ร้อยละ 48.73 โรคประจำตัวที่พบ 3 อันดับแรก คือ โรคความดันโลหิตสูง  โรคไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวาน ร้อยละ 73.04, 41.74 และ 26.09 ตามลำดับ การเกิดอุบัติเหตุในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา พบว่า อุบัติเหตุส่วนใหญ่ คือ อุบัติเหตุขณะดำรงชีวิตประจำวัน ร้อยละ 77.78 ประเภทของอุบัติเหตุ คือ พลัดตกหกล้ม ร้อยละ 42.22 รองลงมา คือ ถูกวัตถุหรือของที่มีคมบาด ร้อยละ 33.33 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดอุบัติเหตุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มอายุ 60-69 ปี คือ น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (Adj OR=7.43, 95%CI=1.64-33.57, p-value=0.009) ลักษณะของสุขภาพร่างกายแข็งแรงปานกลาง (Adj OR=6.24, 95%CI=1.57-24.82, p-value=0.009) การไม่ออกกำลังกาย (Adj OR=0.05, 95%CI=0.01-0.62, p-value=0.019) การมีสัตว์เลี้ยงในบริเวณบ้าน (Adj OR=3.65, 95%CI=1.04-12.84, p-value=0.044) สำหรับกลุ่มอายุ70-79 ปี คือ ลักษณะพื้นรอบๆตัวบ้านขรุขระ (Adj OR=0.20, 95%CI=0.05-0.91, p-value=0.037) และกลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป คือ การมีทางเดินลาดชันบริเวณบ้าน (Adj OR=8.83, 95%CI=1.37-57.12, p-value=0.022)

         ข้อเสนอแนะ ผู้สูงอายุควรได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและการออกกำลังกาย สำหรับในตัวบ้านและบริเวณรอบ ๆ ตัวบ้าน ควรดำเนินการแก้ไขจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม

คำสำคัญ : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, อุบัติเหตุ, ผู้สูงอายุ        

References

1.สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. รายงานการคาดประมาณประชากรของ ประเทศไทย พ.ศ. 2553 – 2583 (ฉบับปรับปรุง).กรุงเทพมหานคร:บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2562
2.นพเก้า บัวงาม, กาญจนา นาถะพินธุ. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุและปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2561;25(2):46-57.
3.นิพา ศรีช้าง. การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2562 [เข้าถึงเมื่อ29 ม.ค. 2563] เข้าถึงได้จาก www.correct.go.th/meds/index/Download/วป/การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ.pdf
4.ธนวรรษน์ สํากําปัง, กาญจนา นาถะพินธุ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ ตําบลขามป้อม อําเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น. วารสารสํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น. 2553;18(1):61-69.
5.วรชาติ พรรณะ, กาญจนา นาถะพินธุ. สภาพแวดล้อมของที่พักอาศัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุของผู้สูงอายุ แยกตามกลุ่มอายุในเขตพื้นที่ตำบลโนนฆ้อง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2557;11(1):86-91.
6.นงนุช วงศ์สว่าง, ดนุลดา จีนขาวขำ, ชลธิชา บุญศิริ, สุรินทร์ มีลาภล้น, จารุนันท์ สมบูรณ์สิทธิ์, เพ็ญจมาศ คำธนะ และคณะ. ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมในบ้านต่อการพลัดตกหกล้มและอุบัติการณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ. Veridian E-Journal. 2560;10(3):2492-2506.
7.ทิวาพร ทวีวรรณกิจ, สุกัลยา อมตฉายา, พรรณี ปึงสุวรรณ, ลักขณา มาทอ. การทรงตัว การล้ม และคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุที่เคลื่อนไหวและไม่เคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด. 2553;22(3):271-279.
8.อรษา ภูเจริญ, อรรถพล รอดแก้ว, จิตศิริน ก้อนคง ,รัตนวดี ทองบัวบาน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการหกล้มในผู้สูงอายุ ตําบลหัวรอ อําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. PSRU Journal of Science and Technology. 2561;3(2):46-54

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2021