ปัญหาสุขภาพในการทำงานของช่างเชื่อมโลหะในกลุ่มแรงงานในระบบและกลุ่มแรงงาน นอกระบบในเขตอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พนัชกร มุมอ่อน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • กาญจนา นาถะพินธุ

คำสำคัญ:

ปัญหาสุขภาพ, ช่างเชื่อมโลหะ, กลุ่มแรงงานในระบบ, กลุ่มแรงงานนอกระบบ

บทคัดย่อ

       

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพในการทำงานของช่างเชื่อมโลหะในกลุ่มแรงงานในระบบและกลุ่มแรงงานนอกระบบในเขตอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างคือ แรงงานในระบบ จำนวน 73 คน และแรงงานนอกระบบ จำนวน 167 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือความตรงเนื้อหา มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 และตรวจสอบความเที่ยง มีค่าเท่ากับ 0.89 โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสูงสุด–ต่ำสุด

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างแรงงานในระบบมีปัญหาสุขภาพในช่วงระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา พบความชุกของอาการปวดระบบโครงกระดูกและกล้ามเนื้อ ตำแหน่งที่พบอาการปวดเป็นประจำมากที่สุด ได้แก่ ปวดเท้าซ้าย และปวดเท้าขวา ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ มีอาการคัดจมูกมากที่สุด ร้อยละ 82.19 ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับอาการทางสายตา มีอาการแสบเคืองตา น้ำตาไหลมากที่สุด ร้อยละ 93.15 ส่วนกลุ่มตัวอย่างแรงงานนอกระบบ พบความชุกของอาการปวดระบบโครงกระดูกและกล้ามเนื้อตำแหน่งที่พบอาการปวดเป็นประจำมากที่สุด ได้แก่ ปวดเท้าขวา ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ มีอาการน้ำมูกไหลมากที่สุด ร้อยละ 83.20 ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับอาการทางสายตา มีอาการตาแดง มากที่สุด ร้อยละ 71.86 ดังนั้น สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และโรงพยาบาลในเขตอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ควรมีการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพของช่างเชื่อมโลหะทั้งสองกลุ่มนี้ มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน
การบาดเจ็บจากการประกอบอาชีพและการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลอย่างเหมาะสมในสถานประกอบกิจการทั้งกลุ่มแรงงานในระบบและนอกระบบ

References

1. ศักดิ์ชัย จันทศรี, กิตติพงษ์ กิมะพงศ์ และสุรัตน์ ตรัยวนพงศ์. การเชื่อมแก๊สเฉื่อยปกคลุมรอยต่อเหล็กกล้าคาร์บอนและเหล็กกล้าไร้สนิม ในงานโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2556.
2. ณัทธร สุขสีทอง. พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุทางตาจากประกอบอาชีพของ ช่างเชื่อมโลหะ จังหวัดประทุมธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลสาธารณสุข]. มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552.
3. พรรณี นันทะแสง และกาญจนา นาถะพินธุ. (2555). ปัญหาสุขภาพและ สภาพแวดล้อมในการทำงานของช่างเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้า อำเภอเมือง จังหวัด หนองบัวลำภู. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(3), 21-30.
4. เฟื่องฟ้า รัตนาคณหุตานนท์, อุไรวรรณ อินทร์ม่วง และยรรยงค์ อินทร์ม่วง. สิ่งคุกคามสุขภาพของช่างเชื่อมโลหะและการจัดการความเสี่ยงต่อสุขภาพของสถานประกอบกิจการเชื่อมประสานโลหะ ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขมหาบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม]. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.
5. คณะกรรมการนโยบายการบริหารงาน จังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ แผนพัฒนาจังหวัดขอนแก่น ระยะ 4 ปี พ.ศ.2561-2564. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2563 ตุลาคม 11] เข้าถึงได้จาก
http://www.khonkaen.go.th/khonkaen6/detailProm.php?id=1009
6. กาญจนา นาถะพินธุ. อาชีวอนามัยและ ความปลอดภัย.พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับปรับปรุง). ขอนแก่น. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.
7. วิภารัตน์ โพธิ์ขี. การจัดการด้านวิศวกรรมความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.
8. ราตรี เข็มจรูญ. การใช้อุปกรณ์ป้องกันดวงตาและปัญหาที่เกิดกับดวงตาของช่างเชื่อมโลหะในสถานประกอบกิจการขนาดเล็ก[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลอาชีวอนามัย]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2547.
9. อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2022