ปัจจัยบ่งชี้ความเสี่ยงของประสบการณ์การเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมของเด็กนักเรียน ชั้นประถมศึกษาตอนต้น ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
คำสำคัญ : ปัจจัยบ่งชี้ความเสี่ยงของการเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
โรคฟันผุในฟันน้ำนมเป็นปัญหาทันตสาธารณสุขที่สำคัญในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยบ่งชี้ความเสี่ยงของประสบการณ์การเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ใช้รูปแบบการวิจัย เชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง โดยทำการเก็บข้อมูลในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-3 ทุกคน ในโรงเรียนประถมศึกษาตอนต้นของรัฐบาล ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในช่วงเดือน กันยายน ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2562 โดยใช้แบบสอบถาม และแบบบันทึกการตรวจสุขภาพช่องปาก สถิติที่ใช้อธิบายคุณลักษณะของตัวแปรใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติที่ใช้วิเคราะห์ปัจจัยบ่งชี้ความเสี่ยงของประสบการณ์การเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนม คือ สถิติวิเคราะห์พหุปัจจัยแบบถดถอยโลจิสติก
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 236 คน อายุเฉลี่ย 7.92 ± 0.82 ปี ปัจจัยบ่งชี้ความเสี่ยงของประสบการณ์การเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมของเด็กนักเรียนกลุ่มนี้ เมื่อควบคุมตัวแปรกวนแล้ว มี 3 ปัจจัย คือ 1) ภาวะโภชนาการ โดยเด็กที่มีภาวะอ้วนมีโอกาสเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมน้อยกว่าเด็กที่มีภาวะโภชนาการสมส่วน คิดเป็น 0.16 เท่า (95% CI=0.04-0.68) 2) เด็กมีโรคประจำตัว โดยเด็กที่มีโรคประจำตัวพบว่ามีโอกาสเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมมากกว่าเด็กที่ไม่มีโรคประจำตัว คิดเป็น 8.66 เท่า (95% CI=2.73-27.45) และ 3) รายได้ครอบครัว โดยเด็กที่ครอบครัวมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ≤20,000 บาท/เดือน มีโอกาสเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมมากกว่าเด็กที่ครอบครัวมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน > 20,000บาท/เดือน คิดเป็น 3.54 เท่า (95% CI =1.16-10.81) ผลการศึกษาที่ได้นำไปใช้ในการส่งเสริมป้องกันสุขภาพช่องปากและสุขภาพทั่วไปของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา เขตเทศบาลบ้านเป็ด จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ : ปัจจัยบ่งชี้ความเสี่ยง, โรคฟันผุ, ฟันน้ำนม
References
1. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพิ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2545.
2. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจ สภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ
ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. นนทบุรี:สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก, 2561.
3. ณัฐวุธ แก้วสุทธา, ธนานัฐ บุญอินทร์, คงวุฒิ เหลืองเรืองรอง,ชวรชต์, มาไพศาลสิน, จริญญา
ฉายวิริยะ.ความชุกและปัจจัยทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคฟันผุในผู้ป่วยเด็กคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2556;6: 35-45.
4. Weraarchaku W and Weraarchaku WB. Relationship between Nutritional
Status and DentalCaries in Elementary Students, Samliam MunicipalSchool, Khon Kaen Province, Thailand
2017;100: S232-S239.
5. Lueangpiansamut J, Chatrchaiwiwatana S, Muktabhant B, Inthalohit W.
Relationship between dental caries status, nutritional status, snack foods, and sugar-sweetened beverages consumption among primary schoolchildren grade 4-6 in Nongbua Khamsaen school, Na Klang district, Nongbua Lampoo Province, Thailand. J Med Assoc Thai. 2012 ;95: 1090-7.
6. World Health Organisation. Oral Health Survey, Basis Methods. 4th ed.
Geneva: WHO; 1997.
7. วิลาวัลย์ วีระอาชากุล , วิบูลย์ วีระอาชากุล และ กุสุมา ชูศิลป์. ความชุกของการเกิดฟัน
ผุในผู้ป่วยเด็กโรคอ้วนที่มารับการรักษา ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร. 2556.
8. Willershausen B, Haas G, Krummenauer F, Hohenfellner K. Relationship
between high weight and caries frequency in German elementary school children. Eur J Med Res 2004;9:400-4.
9. สุณี วงศ์คงคาเทพ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดฟันผุของเด็กไทยอายุ 3-5 ปี
เปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่มที่ยากจนและไม่ยากจน. วิทยาสารทันตสาธารณสุข.
2555.
10. กาญจนา สีหาราช และ วิลาวัลย์ วีระอาชากุล. ความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับควันบุหรี่มือ
สองในบ้านกับการเกิดโรคฟันผุในฟันแท้ของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา ตำบล
บ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารของสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.ปีที่ 15 ฉบับที่1; 2563.
11. สุภัทรา สนธิเศวต.ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสุขภาพของเด็กอายุ 3-5 ปี อำเภอเวียง
เชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย. การค้นคว้าอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2551.
12. Kumar B, Avinash A, Kashyap N, Sharma M, Munot H, Sagar MK. Comparative
evaluation of dental caries in asthmatic and asthma-free children: A cross-sectional Study. Int J prevClin Dent Res 2017;4:85-90.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว