รูปแบบการดูแลต่อเนื่องในชุมชน สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ในตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผู้สูงอายุติดบ้าน การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันอุบัติเหตุในผู้สูงอายุติดบ้านบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูแลต่อเนื่องในชุมชนสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านในตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม จากผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านทั้งหมดจำนวน 60 คน และผู้ดูแลในครอบครัว จำนวน 60 คนในระหว่างเดือน มีนาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป แจกแจงข้อมูลด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และการทดสอบความแตกต่างของค่ากลางของสองประชากรไม่อิสระต่อกัน ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนารูปแบบในการดูแลต่อเนื่องในชุมชนสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านคือ 1)การอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน 2)การพัฒนากระบวนการเยี่ยมบ้านในผู้สูงอายุติดบ้าน 3) การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันอุบัติเหตุในผู้สูงอายุติดบ้าน 4)การนิเทศ ติดตามการดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านอย่างต่อเนื่อง กลุ่มผู้สูงอายุติดบ้านมีระดับความพึงพอใจต่อการบริการเยี่ยมบ้านหลังการพัฒนาอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ร้อยละ 91.67
ข้อเสนอแนะ ควรมีการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุติดบ้านที่ทำกิจวัตรประจำวันต่อเนื่องที่ยังต้องการพึ่งพาผู้อื่นปานกลางให้สามารถพึ่งพาผู้อื่นเพียงเล็กน้อย และภาคีเครือข่ายควรมีการทบทวนการปฏิบัติงานด้วยเทคนิค AAR เพื่อทราบปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน
References
ส่วนร่วมของเครือข่ายประชาสังคมตำบลไทรทอง อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว. วารสารสุขภาพ
ภาคประชาชนภาคกลาง; 34(2), 30-37.
ทิพยาภา ดาหารและเจทสริยา ดาวราช. (2561). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วน
ร่วมตำบลหนองเหล็ก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม.วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุข
จังหวัดมหาสารคาม; 2(3), 42-54.
พิศสมัย บุญเลิศ เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์ และ ศุภวดี แถวเพีย. (2559). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพ
อย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงมัน ตำบลสิงห์โคก อำเเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น; 23(2),79-87
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. (2561). สถานการณ์การสูงวัยของประชากรไทย. (ออนไลน์).
แหล่งข้อมูล. http://thaitgri.org./?p36746. 1 เมษายน 2563
วิไล ตาปะสี ประไพวรรณ ด่านประดิษฐ์ และสีนวล รัตนวิจิตร. (2561). รูปแบบการจัดบริการการดูแล
สุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลวังตะกู จังหวัดนครปฐม. วารสารเกื้อการุณย์
,24(1)
สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน (2560) ที่ศึกษาการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สำหรับผู้ดูแล ผู้สูงอายุ
อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์; 9(3), 57-69
Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner (3rd ed.). Geelong, Australia:
Deakin University Press
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว