การพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • วรางคณา วสุรัตน์ โรงพยาบาลสุโขทัย

คำสำคัญ:

โปรแกรม, ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ ทำการศึกษา 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 300 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่า ปัจจัยด้านความรู้โรคหลอดเลือดสมองการได้รับกำลังใจในการป้องกันโรค และการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเป็นโรค สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุได้ร้อยละ 37.8 ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาโปรแกรม ประกอบด้วย 1) ระยะการประเมินความพร้อมประกอบด้วยการทบทวน คิดวิเคราะห์หาเหตุผลของปัญหาสถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง  การเรียนรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง  2) ระยะการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย กระบวนการฝึกปฏิบัติการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง โดยผ่านการเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบที่ประสบผลสำเร็จและการให้ความรู้เพิ่มเติมจากบุคคลากรด้านสุขภาพ และ 3) ระยะการผสมผสานเข้าเป็นเรื่องปกติของชีวิตประกอบด้วยการวางแผนการส่งเสริมสุขภาพ  การช่วยเหลือสนับสนุนจากบุคคลในครอบครัว บุคลากรด้านสุขภาพ และขั้นตอนที่ 3 การทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรม โดยทดลองใช้กับผู้สูงอายุพบว่า ภายหลังการทดลองคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05)

คำสำคัญ: โปรแกรม, ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง, ผู้สูงอายุ

References

1. ปรีดี ยศดา วาริณี เอี่ยมสวัสกุลและมุกดา หนุ่ยศรี. (2562). ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม.วารสารพยาบาล ; 68(4) : 39-48.
2. World health organization. (2014). GLOBAL STATUS REPORT on noncommunicable
diseases 2014. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561 จาก http://www.who.int
3. ศูนย์โรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลศิริราช. (2560). สถานการณ์ปัจจุบันของโรคหลอดเลือดสมอง. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561 จาก http://www.si.mahidol.ac.th
4. เสน่ห์ แสงเงิน ถาวร มาต้นและอมรศักดิ์ โพธิอ่ำ. (2561). พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุ ในเขตจังหวัดอุทัยธานี.ตีพิมพ์เผยแพร่ในการประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง “อาเซียนบนเส้นทางของประชาคม” (ASEAN on the Path of Community) วันที่ 11 ธันวาคม 2561 มหาวิทยาลัยรามคำแหง หน้า 63-72 (proceeding).
5. เสกสรรค์จวงจันทร์. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรพ.บึงบูรพ์จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 ; 29(2) : 233-239.
6. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). โรคหลอดเลือดสมองเสียชีวิต 1 คน/6 วินาที.
ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561 จาก http://www.thaihealth.or.th
7. สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2562: online). ข้อมูลโรคไม่ติดต่อ. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2564 จาก http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=13684&tid=32&gid=1-020
8. Kerlinger, F.N. and E.J. Pedhazur. Multiple Regression in Behavioral Research. Holt,
Rinehart and Winston, New York, 1973.
9. Bloom BS. (1971). Handbook on formation and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill Book Company.
10. Best, J.W. (1977). Research in Education. 3rd ed. Prentice Hall, Englewood cliffs,
New Jersey.
11.นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์, และญาดา นภาอารักษ์. (2562). การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ ; 5(1): 496-506
12.Elifson, K. (1990). Fundamental of social statistics International edition. Singapore:
Mc Graw-Hill.
13. วิไลพร พุทธวงศ์ วิริณธิ์ กิตติพิชัย ทัศนีย์ ศิลาวรรณและโชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์. (2557). ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จังหวัดพะเยา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ ;44(1) :630-45.
14. สุริยา หล้าก่ำและศิราณีย์ อินธรหนองไผ. (2560).ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงตำบลเหนือเมืองอำเภอเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด.วารสารพยาบาลตำรวจ ; 9(2) : 85-94.
15. ชื่นชม สมพล ทัศนีย์ รวิวรกุล พัชราภรณ์ เกิดมงคล. (2560). ผลของโปรแกรมการป้องกันการเกิดโรคหลอด
เลือดสมองสำหรับ ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข ;31(ฉบับพิเศษ) : 58-73.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2021