ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับสื่อสังคม เพื่อชะลอโรคไตในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • อิสรีย์ ปัดภัย
  • ดวงฤดี โชติกลาง
  • ณิชานต์ มีลุน
  • ฐิติกานต์ เอกทัตร์

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, อัตราการกรองของไตและน้ำตาลสะสมในเลือด

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมครั้งนี้ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับสื่อสังคมเพื่อชะลอโรคไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 60 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับสื่อสังคมเพื่อชะลอโรคไต ระยะเวลา 12 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับกิจกรรมตามปกติ และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนกันยายน - ธันวาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติความแปรปรวนร่วม

ผลการวิจัยพบว่า หลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับสื่อสังคมเพื่อชะลอโรคไต  กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการชะลอโรคไต ได้แก่ ทักษะการเข้าถึงข้อมูล ทักษะความรู้และความเข้าใจ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการจัดการตนเอง ทักษะการรู้เท่าทันสื่อและทักษะการตัดสินใจเลือกปฏิบัติ มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลอง มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดลดลงและมีระดับอัตราการกรองของไตเพิ่มขึ้น มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับสื่อสังคมเพื่อชะลอ
โรคไตนั้นสามารถเป็นแนวทางการส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพในการชะลอโรคไตได้

คำสำคัญ: ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, อัตราการกรองของไต, น้ำตาลสะสมในเลือด

References

1. Alicic, Radica Z., Michele T. Rooney, and Katherine R. Tuttle. "Diabetic kidney disease: challenges, progress, and possibilities." Clinical Journal of the American Society of Nephrology 2017: 2032-2045.
2. Sonthon, Paithoon, et al. "The impact of the quality of care and other factors on progression of chronic kidney disease in Thai patients with Type 2 Diabetes Mellitus: A nationwide cohort study." PloS one 12.7 : 2017.

3. Issaree Padphai. (2020) Association between Health Literacy, Kidney Function, and HbA1c amongType 2 Diabetic Patients and the Effectiveness of HL Promotion Program with Social Media for Delayed – Progression in the Northeast, Thailand.Doctor of Public Health Graduate School Khon Kaen University 2020. (in Thai)
4. Vejakama, Phisitt, et al. "Epidemiological study of chronic kidney disease progression: a large-scale population-based cohort study." Medicine 2015 : 94.4
5. Hemming, K., Girling, A.J., Sitch, A.J., Marsh, J. & Lilford, R.J. (2011). Sample size calculations for cluster randomized controlled trials with a fixed number of cluster. BMC Med Res Methodol, 11(102), 1-10.
6. Nutbeam, D. The evolving concept of health literacy. Retrieved January 17, 2021 from
Social Science & Medicine, (2008). 67(12), 2072-2078.
7. พรวิจิตร ปานนาค, สุทธีพร มูลศาสตร์ และเชษฐา แก้วพรม. ประสิทธิผล ของโปรแกรมการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 2561. 27(3), 91-106.
8. อุทัย เจริญจิตต์. ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3 อ 2 ส ของผู้ป่วยโรคเบาหวานศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลบ้านโป่ง. วารสารหัวหิน สุขใจไกลกังวล, 2561.3(2), 58-72.
9. กิตติพศ วงศ์นิศานาถกุล. ความฉลาดทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้ารับบริการ ณ ศูนย์เวชปฏิบัติครอบครัวโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 8(1), 49-61.
10. ประศักดิ์ สันติภาพ. ผล ของ การ ใช้ โปรแกรม การ ส่งเสริม ความ รอบรู้ ด้าน สุขภาพ ตาม แนวคิด การ เรียน รู้ เพื่อ การ เปลี่ยนแปลง ผ่าน สื่อ สังคม ออนไลน์ สำหรับ ผู้ ป่วย ความ ดัน โลหิต สูง/เบาหวาน. วารสาร วิชาการ วิทยาลัย สัน ต พล 6.1 (2020): 9-18.
11. Nutbeam, D., McGill, B. & Premkumar, P. Improving health literacy in Community populations: a review of progress. Health Promotion International, 2017, 1-11

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2021