การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
โรคไข้เลือดออก, การป้องกันโรคในชุมชน, กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม, การมีส่วนร่วมของชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ จำแนกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการวางแผน โดยใช้กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (AIC) ขั้นตอนการปฏิบัติการ ขั้นตอนการสังเกตการณ์ และขั้นตอนสะท้อนผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน คัดเลือกด้วยวิธีการแบบเจาะจง ประกอบด้วย ตัวแทนจากท้องถิ่น ท้องที่ การศึกษา ศาสนา สาธารณสุขและตัวแทนครัวเรือน จำนวน 165 คน เก็บรวบรวมด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามด้านความรู้ พฤติกรรมและการมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน โดยใช้ Paired Sample t-test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการในการพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานบริบทของพื้นที่ 2) การประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนแบบมีส่วนร่วม 3) การดำเนินกิจกรรม/โครงการ 4) การสังเกต ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน 5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียน และ 6) การคืนข้อมูลให้ชุมชน และรูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ประกอบด้วย 8 กิจกรรม/โครงการ คือ 1) การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในชุมชน 2) การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติในชุมชน 3) การกำหนดกฎระเบียบของชุมชน 4) การส่งเสริมนวัตกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น 5) การจัดการดัชนีลูกน้ำ 6) โครงการกำกับ ติดตามและสำรวจลูกน้ำ 7) การสร้างเครือข่าย อสม. น้อย และ 8) การจัดการสิ่งแวดล้อม ผลการดำเนินงานพบว่า ความรู้ พฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของกลุ่มตัวอย่างหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ดัชนีลูกน้ำยุงลายทั้งค่าดัชนีครัวเรือน (House Index: HI) และดัชนีภาชนะ (Container Index: CI) ลดลงหลังดำเนินการพัฒนา ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ DONGMUNLEK Model ประกอบด้วย D: Democracy คือ ประชาธิปไตย, O: Opportunity คือ การวิเคราะห์ทรัพยากรในชุมชน, N: Network คือ ภาคีเครือข่าย, G: Generate คือ การคิดค้นนวัตกรรม, M: Management คือ การบริหารจัดการ, U: Unity คือ ความเป็นเอกภาพ, N: News คือ ข้อมูลข่าวสาร, L: Learning คือ การเรียนรู้, E: Evaluation คือ การกำกับ ติดตาม และประเมินผลการ, K: Knowledge คือ องค์ความรู้ ข้อเสนอแนะ ควรนำรูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ในชุมชน เพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ต่อไป
References
Special Programme for Research and Training in Tropical Diseases, World Health Organization, editors. Dengue: guidelines for diagnosis, treatment, prevention, and control. New ed. Geneva: TDR : World Health Organization. 2009; p.147.
กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ปี 2563. หน้า 1–6 : ข้อมูล ณ วันที่ 28 เมษายน 2563.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงมูลเหล็ก. รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์; 2562.
เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ, ยลฤดี ตัณฑสิทธิ์, ธีรศักดิ์ พาจันทร์, จิรพงศ์ วสุวิภา. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2562; 6(1): 26-38.
ฐิติชญา ฉลาดล้น, พิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก: กรณีศึกษาตำบลต้นแบบ หมู่ 3 บ้านทุ่งทอง ตำบลลาดบัวขาว อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 2019; 2(1): 153-62.
รัตนภรณ์ ดุสิต, สุมัทนา กลางคาร, จิราพร วรวงศ์. การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนบ้านหัน ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม.
วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ. 2560; 18(3): 107-16.
ดาว เวียงคำ, จุฑามาศ ผลมาก, พยาม การดี, ศิริรัตน์ โกศัลย์วัฒน์, นวิยา กันทะมูล, สำเริง พรหมมงคล. ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติ ของแกนนำชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2560; 35(1): 207-14.
มาธุพร พลพงษ์, ซอฟียะห์ นิมะ, เพชรช่วย ป. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ต.โคกสัก อ.บางแก้ว จ.พัทลุง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560; 4(ฉบับพิเศษ): 243-59.
อารี พุ่มประไวทย์. ผลการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในระดับหมู่บ้าน. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ. 2562; 5(1): 43-52.
Kemmis S, McTaggart R. The Action research planner. Waurn Ponds, Vic.: Deakin University : Distributed by Deakin University Press; 1988.
จรวย สุวรรณบำรุง, จันทร์จุรีย์ ถือทอง, ธิดารัตน์ เอกศิรินิมิตร, สุภาพร ทองจันทร์. การพัฒนาระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ อำเภอเสี่ยงสูง จังหวัดนครศรีธรรมราช. J Community Dev Life Qual. 2560;5(1):58–76.
บุญเสริม อ่วมอ่อง. การดำเนินยุทธศาสตร์การจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน เพื่อการป้องกันและการควบคุมโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย. Dis Control J. 2560;43(1):1–11.
นงนุช เสือพูมี, กุลฤดี จิตตยานันต์, วันดี วงศ์รัตนรักษ์, วัลทณี นาคศรีสงข์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน โดยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม,Effectiveness of the Dengue Hemorrhagic Fever Prevention and Control Program in Community using a Participatory Learning Process | Nursing Journal of The Ministry of Public Health. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2558;25(1):25–39.
ประเสริฐ ไหลหาโคตร. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านโดยทีม SRRT ระดับตำบล บ้านหนองหญ้าปล้อง ตำบลบ่อใหญ่ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2559;13(3):32–9.
ชนิศา เสนคราม, รชานนท์ ง่วนใจรัก. การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนและตัวแบบบุคคลในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลทุ่งกระตาดพัฒนา อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. 2560. Off Dis Prev Control 9th Nakhon Ratchasima J. 2562;25(1):27–36.
กรุณา ประมูลสินทรัพย์, นิภาพร พชรเกตานนท์. ผลการเสริมสร้างพลังอำนาจแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในชุมชนบ้านเสม็ด จังหวัดนครราชสีมา. Lampang Med J. 2561;39(1):33–40.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว