ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ตำบลนาจิก อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยโรคเบาหวานบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ในพื้นที่ตำบลนาจิก อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ คำนวณขนาดตัวอย่างด้วยสูตรเปรียบเทียบค่าสัดส่วน 2 กลุ่ม ได้จำนวน 147 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานและแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ด้วย Fisher’s Exact test
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 61.86±10.54 ปี และ 57.66±9.90 ปี ตามลำดับ จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ค่าดัชนีมวลกายอยู่ในระดับอ้วนมาก ร้อยละ 32.7 และ 39.8 ตามลำดับ ระดับน้ำตาลในเลือดสะสมอยู่ในช่วง 126-180 มล./ดล. มากที่สุด ร้อยละ 61.2 และ 80.6 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนความรอบรู้ด้านสุขภาพรายด้าน พบว่า ด้านการตัดสินใจมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.032) ส่วนพฤติกรรมด้านการออกกำลังกาย และด้านการรับประทานยามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.013, p<.001 ตามลำดับ) ดังนั้น ควรพัฒนารูปแบบส่งเสริม ทักษะการตัดสินใจและพฤติกรรมการออกกำลังกายและการรับประทานยาที่เหมาะสม
References
2. รื่นจิต เพชรชิต (2558) และ American Diabetes Association [ADA] (2007). พฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 2 (2), 17.
3. คลังข้อมูลสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวานเขตสุขภาพที่ 10. [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ/2563 กันยายน] เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th
4. ไชยพร พลมณี (2558). การรับรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับ บริการในโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลบึงบัว อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร. รายงานการ สืบเนื่องประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 4 สถาบันวิจัย ราชภัฏกำแพงเพชร, 1082-1083.
5. สมเกียรติ โพธิสัตย์ และคณะ (2557). ผลของการปรับเปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคร้ายห่างไกลโรคด้วยโปรแกรมแพทย์วิถีธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนากระเดา ตำบลสายนาวัง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ/ 2563 สิงหาคม 26]. เข้าถึงได้จาก
http://203.157.186.16/kmblog/page_research_detail.php?ResID=829
6. เวธกา กลุ่นวิชิต และคณะ, 2553; Orem, 2000. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จัดหวัดพิษณุโลก. รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การนำเสนอผลการวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17,2.
7. บุบผาชาติ ทีงาม, อัจฉรา จินดาวัฒนวงศ์ และคณะ (2555). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล พลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17, 2651.
8. กุสุมา กังหลี (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวาน ชนิดที่สอง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก, 15 (3), 256.
9. สุนทร ตัณฑนันทน์ และคณะ (2554). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : บริษัทศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด.
10. วรวรรณ คำหล้า และคณะ (2560). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. จากรายงานการสืบเนื่องประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 สถาบันวิจัยราชภัฏกำแพงเพชร, 1099.
11. กองสุขศึกษา. พฤติกรรมสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ/ 2563 สิงหาคม 28]. เข้าถึงได้จาก www.hed.go.th
12. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ/ 2563 กันยายน 9] เข้าถึงได้จาก: http://www.hed.go.th
13. World Health Organization (2009). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ : แนวคิดและการประยุกต์สู่ การปฏิบัติการพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี, 44 (3), 4 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ/ 2563 กันยายน 9] เข้าถึงได้จาก: https://www.he01.tci-thaijo.org
14. สุปรียา เสียงดัง (2560). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4 (1),191.
15. มนตรี นรสิงห์ และ สุทธิพันธ์ ถนอมพันธ์ (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือความดันโลหิต กรณีศึกษาโรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์, 10 (1), 35.
16. วิสุทธิ์ โนจิตต์, สุทิศา สงวนสัจ, สุวัฒนา เกิดเมือง และคณะ (2562). ปัจจัยทํานายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อําเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 8 (2), 200.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว