พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองก่อนและหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ของผู้ป่วยเบาหวานในพื้นที่ตำบลนาหมอม้า อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • กรชนก ม่วงศรี มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
  • ณัฐริกา ลาดคอมมอม คณะโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปวีณา เทศนนท์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ประเสริฐ ประสมรักษ์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง, โรคเบาหวาน, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองก่อนและหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ของผู้ป่วยเบาหวาน ในพื้นที่ตำบลนาหมอม้า อำเภอเมืองจังหวัดอำนาจเจริญ ในประชากรอายุ 25 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จำนวน 247 คน จากสูตรคำนวณขนาดตัวอย่างเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสองกลุ่มไม่อิสระต่อกัน ได้เท่ากับ 65คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .80วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ด้วยสถิติทดสอบ Paired-sample t-testผลการศึกษาพบว่า

อัตราการตอบกลับแบบสอบถามร้อยละ 100 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 76.9 มีอายุเฉลี่ย 53.89 ปี (S.D.= 8.33) ระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษา ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร และมีรายได้ระหว่าง 2,001-4,000 บาทต่อเดือน โดยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่อยู่ในระดับสูงทั้งก่อนและหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)โดยภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value<.001และรายด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ พฤติกรรมด้านการรับประทานอาหาร (p-value=0.017) พฤติกรรมด้านการออกกำลังกาย  (p-value=.001) และด้านการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง (p-value<.001) ดังนั้นควรส่งเสริมมาตรการการดูแลต่อเนื่องที่บ้านอย่างเป็นรูปธรรม

References

1. สุุปรียา เสียงดัง. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 29];36:154-160
2. ชูหงส์ มหรรทัศนพงศ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับเบาหวานชนิดที่ 2 ในประชาชนทั่วไปอายุ 15 ปีขึ้นไป ในเครือข่ายหน่วยปฐมภูมิของโรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 29];36:154-160
3. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ ปี 2560 – 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 29]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/v1r53
4. องค์การอนามัยโลก. สาเหตุการเสียชีวิต 10 อันดับแรกทั่วโลก. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 23]. เข้าถึงได้จาก: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/thetop-10-causes-of-death
5. สำนักงานสถิติจังหวัดอำนาจเจริญ. รายงานสถิติจังหวัดอำนาจเจริญ พ.ศ.2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2561[เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 29]. เข้าถึงได้จาก: https://anyflip.com/eywpp/ovrt/
6. วิกริชตรา โปร่งจิต. ข้อมูลทั่วไปตำบลนาหมอม้า 2562. เมืองอำนาจเจริญ: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหมอม้า; 2563. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหมอม้า
7. วรพจน์ พรหมสัตยพรต, สุมัทนา กลางคาร, ประพิมพรรณ ประวัง. การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาจาน อำเภอนำเยีย จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 29];36:154-160.
8. สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย. เจาะลึกระบบสุขภาพไทยป่วยเบาหวานพุ่งสูงต่อเนื่อง [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 23].เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2019/11/18014
9. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ. การเฝ้าระวังปองกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ในหมู่บ้าน/ชุมชน. จังหวัดหนองบัวลำภู. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู; 2563. นภ 0032/ว 4546
10.กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางที่เป็นไปได้ในการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังในสถานการณ์โควิด-19 ระบาด [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 29]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.hitap.net/2020/04/05/possible-way-ncd-care/
11.อนุชา คำไสว, ธวัชวงศ์ชัย ไตรทิพย์, ชาญชัยณรงค์ ทรงคาศรี. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 23];2:316-328.
12.กนกวรรณ บริสุทธิ์, ดารณี ทองสัมฤทธิ์, เยาลักษณ์ มีบุญมาก, 2560. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อความสามารถในการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในตำบลวัดเพลง อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี[อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 23];1:26-37.
13.สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย. เจาะลึกระบบสุขภาพไทยป่วยเบาหวานพุ่งสูงต่อเนื่อง [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 23]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2019/11/18014

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2021