การเปรียบเทียบพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับระหว่างชุมชนเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา โปธาพันธ์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุนิภา อินเอี่ยม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ธันยพร ชมชะนะกุล โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ประเสริฐ ประสมรักษ์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ, พยาธิใบไม้ตับ, เขตเทศบาล, นอกเขตเทศบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ระหว่างชุมชนเขตเทศบาลกับชุมชนชนนอกเขตเทศบาล จังหวัดอำนาจเจริญ คำนวณขนาดตัวอย่างด้วยสูตรการคำนวณประมาณค่าสัดส่วน ได้เท่ากับ 102 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.77 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วย Chi-square test ผลการศึกษาพบว่า

อัตราการตอบกลับแบบสอบถามเท่ากับ ร้อยละ 100.0 โดยประชาชนในเขตชุมชนเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 52.8±16.54 ปีและ 51.3±17.13 ปี ตามลำดับ จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพเกษตรกร รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 3,000 บาท ส่วนใหญ่รับประทานปลาในแหล่งน้ำของชุมชน ร้อยละ 84.3 และ 80.4 ตามลำดับ เคยตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิใบไม้ตับในรอบ 3 ปีเท่ากันที่ ร้อยละ 80.4 ผลการตรวจอุจจาระไม่พบไข่หนอนพยาธิใบไม้ตับ ร้อยละ 80.5 และ 90.2 ตามลำดับ โดยผู้ที่ตรวจพบไข่หนอนพยาธิแล้วได้รับประทานยาครบทุกครั้ง ร้อยละ 57.1 และ 100.0 ตามลำดับ ไม่มีประวัติการป่วยด้วยโรคพยาธิใบไม้ตับและโรคมะเร็งท่อน้ำดีของบุคคลในครอบครัว ร้อยละ 94.1 และ 98.0 ตามลำดับ ทั้งนี้ พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับของประชาชนในเขตชุมชนเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล ทั้งสามด้านอยู่ในระดับมาก โดยพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหาร ร้อย 64.7 และ 52.9 ตามลำดับ ส่วนพฤติกรรมด้านการขับถ่ายอุจจาระและการกำจัดสิ่งปฏิกูล ร้อยละ 100.0 และ 98.0 ตามลำดับ และพฤติกรรมด้านการรับประทานยา ร้อยละ 58.8 และ 74.5 ตามลำดับ โดยไม่มีความแตกต่างกัน สรุปได้ว่า นโยบายการรณรงค์ตรวจคัดกรอง รักษา และเสริมสร้างความรอบรู้แก่ประชาชนในจังหวัดอำนาจเจริญ สามารถเข้าถึงประชาชนได้ทุกพื้นที่ จึงควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

References

1. โรคมะเร็งท่อน้ำดีในประเทศไทย[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 18]. เข้าถึงได้จาก: https://cascap.kku.ac.th/โรคมะเร็งท่อน้ำดีในประ/
2. กรมควบคุมโรค. (2561, 27 พฤศจิกายน). ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง การคัดเลือกบุคคลเข้ารับการประเมินผลงานเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ.
3. Isan Cohort. การคัดกรองพยาธิใบไม้ตับด้วยการตรวจอุจจาระและปัสสาวะ[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึง เมื่อ 2563 สิงหาคม 28]. เข้าถึงได้จาก: http://cloud.cascap.in.th/
4. อังษณา ยศปัญญา, สุพรรณ สายหลักคำ, บุญจันทร์ จันทร์มหา, เกสร แถวโนนงิ้ว. ความชุกและปัจจัย ที่มีผลต่อการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ จังหวัดเลย ปี 2556. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัด ขอนแก่น. 2558;22(1):89-97.
5. ประเสริฐ ประสมรักษ์. เปรียบเทียบความชุกของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ความรู้และพฤติกรรมป้องกันในประชากรกลุ่มเสี่ยงพื้นที่รอบแหล่งน้ำชุมชนชนบทและชุมชนเมือง. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2562;34(6):628-634.
6. สุวัฒน์ศิริ แก่นทราย. การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคและพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ของประชาชนในตําบลหนองภัยศูนย์ อําเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลําภู. การประชุมวิชาการและเสนอ ผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2
18-19 มิถุนายน 2558 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา อําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา : ภาคโปสเตอร์ 2558:113-121.
7. Choosak Nithikethkul, Ole Wichmann, Panida Polseela, Chalobol Wongsawad, Noppamas Akarachantachote, Supaporn Wananpinyosheep, et al. Health behavior associated with Opisthorchis viverrini infection in Khunkan district, Si Sa Ket province, Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2004;35(1):309-312.
8. Saenna P, Hurst C, Echaubard P, Wilcox BA, Sripa B. Fish sharing as a risk factor for Opisthorchis viverrini infection: evidence from two villages in north-eastern Thailand. Infectious Diseases of Poverty 2017; 6: 66.
9. ฐิติมา วงศาโรจน์, ดวงเดือน ไกรลาศ, พงศ์ราม รามสูต, วิชิต โรจน์กิตติคุณ, วรยุทธ นาคอ้าย, นันทวัน แก้วพูลศรี. รายงานผลการศึกษาสถานการณ์โรคหนอนพยาธิและโปรโตซัวของประเทศไทย พ.ศ. 2552.
กลุ่มโรคหนอนพยาธิ สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควมคุมโรค. 2552.
10. Pierre Echaubard, Banchob Sripa, Frank F. Mallory, Bruce A. Wilcox. The role of evolutionary biology in research and control of liver flukes in Southeast Asia.
P. Echaubard et al. / Infection, Genetics and Evolution. 2016;43:381-397.
11. เพ็ญประภา แต้มงาม, สมปอง พะมุลิลา, นฤมล สาระคำ, ศิรินยา อินแพง, 2562. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี ของประชาชนในตําบลแห่งหนึ่ง อําเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี. ว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2562;21(3):74-85.
12. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. ความฉลาดทางสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย); 2554.
13. ธนเดช สัจจวัฒนา และวิวัฒน์ สังฆะบุตร. การระบาดและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อหนอนพยาธิ ของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21. สำนักงานป้องกันควบคุม โรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-06-2021