การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย โรงพยาบาลชนบท จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ปัทมาภรณ์ นาบุตรบุญ
  • พัชรีภรณ์ จันทร์ชมภู
  • ศิริลักษณ์ สุดใจ

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย , รูปแบบการวางแผนจำหน่าย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาและผลการพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ แพทย์ เภสัชกร โภชนากร พยาบาลวิชาชีพงานผู้ป่วยในรพ.ชนบท และพยาบาลวิชาชีพรพ.สต.รวม 21 ราย และผู้ดูแลหลักผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย 15 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมด ในช่วงเดือนสิงหาคม 2560 ถึงเมษายน พ.ศ.2561  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ก่อนได้รับการพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่าย การวางแผนจำหน่ายไม่ชัดเจนในทีมสหสาขาและเครือข่าย การสื่อสารข้อมูลในการดูแลต่อเนื่องเป็นรูปแบบในการดูแลผู้ป่วยทั่วไปและไม่ได้เน้นการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลหลักมากนัก การบริหารยาแก้ปวด Morphine ยังไม่ถูกต้องตามหลักการบริหารยาผู้ป่วยระยะท้าย และทีมสหสาขาไม่ได้นำเครื่องมือในการประเมินการผู้ป่วยเพื่อเตรียมจำหน่ายมาใช้ หลังได้รับการพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่าย มีการวางแผนการดูแลผู้ป่วยร่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพโดยการบันทึกและสื่อสารการดูแลใน Progress Note และส่งต่อข้อมูลในการดูแลต่อเนื่องในโปรแกรม May Day ร่วมกับศูนย์ดูแลต่อเนื่อง ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการวางแผนจำหน่าย คิดเป็นร้อยละ 100 มีการปฏิบัติตามแนวทางการจัดการอาการปวดร่วมกันในทีมสุขภาพเพิ่มขึ้น ร้อยละ 90.90 มีคู่มือการวางแผนจำหน่ายให้ผู้รับผิดชอบได้เป็นแนวทางการดูแลต่อเนื่องแก่ รพ.สต.ทั้ง 11 แห่ง มีแนวปฏิบัติในการบริหารยาแก้ปวด Morphine ร่วมกันทั้งเครือข่าย และผู้ดูแลหลักมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 89.13

          จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย ต้องมีรูปแบบการวางแผนจำหน่ายให้ชัดเจนโดยต้องวางแผนร่วมกันกับทีมสุขภาพทั้งในโรงพยาบาลและบุคลากรในพื้นที่ เพื่อการสื่อสารข้อมูลที่ได้จากการวางแผนจำหน่ายให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลหลักสามารถปฏิบัติการดูแลตนเองต่อเนื่องได้ที่บ้าน  โดยเฉพาะเรื่องการจัดการอาการปวดในผู้ป่วยมะเร็งที่เป็นสาเหตุหลักที่ต้องดูแลต่อเนื่องเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานในวาระสุดท้ายของชีวิต

References

กรมการแพทย์. List disease of Palliative care Functional unit. บริษัท อาร์ต ควอลิไฟท์
จำกัด.กรุงเทพฯ: 2559.
กฤษฎา แสวงดี และคณะ. แนวทางการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย.โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กรุงเทพฯ : 2539.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.แนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองระยะท้าย.พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพฯ : 2558.
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. การประชุมวิชาการ เรื่อง มิติองค์รวมการดูแล
ผู้ป่วยระยะสุดท้าย. 9-11 กรกฎาคม 2551. โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพฯ ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
กรุงเทพฯ : 2551.
โชคนิติพัฒน์ วิสูญ.2557. การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายของผู้ป่วยโรคมะเร็งสุดท้ายของผู้ดูแลใน
ชุมชน.รายงานผลการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นพพร ธนามี สมพร รอดจินดา และวรวรรณ ชำนาญช่าง.2557.วารสารพุทธชินราชเวชสาร. ปีที่ 31 ฉบับ
ที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2557 : หน้า 183-196.
ปิยะวรรณ โภคพลากรณ์.รูปแบบการดูแลแบบประคับประคองในประเทศไทย.คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข.2560.หน้า : 1-12
วาสนา สวัสดีนฤนาท อมรพันธุ์ ธานีรัตน์ และธารทิพย์ วิเศษธาร.การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
ระยะท้ายแบบประคับประคอง โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข.2560 : หน้า 144-156
วรรณา จารุสมบูรณ์.คู่มือฝึกอบรมจิตอาสาแลพยาบาลชุมชน ในการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย.เครือข่ายพุทธิกา.
กรุงเทพฯ : 2556.
ศรีเวียง ไพโรจน์กุล. สมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย Who Cares WE DO.มปท. 2557.
สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข.ระบบบริการพยาบาลแบบ
ประคับประคอง.สำนักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด.กรุงเทพฯ : 2559.

สภาการพยาบาลและสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ.แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก : การดูแลแบบ
ประคับประคองในผู้ป่วยผู้ใหญ่. พิมพ์ครั้งที่ 2 .กรุงเทพฯ : 2558.
สุรางค์ อภัยฤทธิรงค์.การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว
โรงพยาบาลภักดีชุมพล ชัยภูมิ.รางานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-06-2021