การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการสร้างงานวิจัยจากงานประจำ โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • ภรกต สูฝน โรงพยาบาลโพนพิสัย อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย
  • ชลการ ทรงศรี
  • นงเยาว์ อินทรวิเชียร

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพบุคลากร งานพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ

บทคัดย่อ

การพัฒนางานวิจัยจากงานประจำของบุคลากรยังพบปัญหา เช่นขาดความรู้และทักษะในการเขียนรายงานวิจัย ปัญหาการสร้างเครื่องมือและการวิเคราะห์ข้อมูล สาเหตุของปัญหาเกิดจากขาดประสบการณ์ในการทำวิจัย ภาระงานที่มากไม่สามารถทำวิจัยได้ในเวลาปฏิบัติงาน ไม่มีพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษา การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ พัฒนาศักยภาพบุคลากรในการสร้างงานวิจัยจากงานประจำ ประเมินผลการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ประกอบด้วย ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติการ ขั้นสังเกต และ ขั้นสะท้อนผลปฏิบัติงาน โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการประเมินผลการพัฒนาของโดนัลด์ แอล เคิร์กแพทริก กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง จากหัวหน้างานและบุคลากรที่สนใจ จำนวน 30 คน ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2562 ถึง เดือนมิถุนายน 2563  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสังเกต แบบประเมินความรู้ แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือมีค่าความเชื่อมั่น 0.79 นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติPaired t-test และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา การตีความ สรุปความ

             ผลการวิจัย พบว่า ได้ดำเนินการพัฒนาตามสภาพปัญหาและความต้องการ โดยใช้การฝึกอบรมร่วมกับการฝึกปฏิบัติ จำนวน 3 ครั้ง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้วิจัยและวิทยากรพี่เลี้ยง มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องโดยมีพี่เลี้ยงติดตามให้ข้อแนะนำ ผลการดำเนินงาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อการจัดโครงการฯอยู่ในระดับ “มาก” ร้อยละ 50.0  รองลงมาอยู่ในระดับ “มากที่สุด” และระดับ “น้อยที่สุด” ร้อยละ 43.3 และร้อยละ 6.7 ตามลำดับ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.23 คะแนน (S.D.= 1.01) ผลการประเมินความรู้และทักษะ พบว่า ก่อนการอบรม กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เฉลี่ย 9.83 คะแนน (S.D.= 2.49) และหลังการอบรม กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เฉลี่ย 15.57 คะแนน (S.D.=1.22) ผลการเปรียบเทียบคะแนนความรู้พบว่า หลังการอบรมกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001; 95% ช่วงเชื่อมั่นของค่าเฉลี่ยของความแตกต่างเท่ากับ 4.95 ถึง 6.51) หลังการอบรมความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 53.3 รองลงมาอยู่ในระดับ “มากที่สุด” และปานกลาง ร้อยละ 36.7 และ 10.0 ตามลำดับ คะแนนเฉลี่ย 4.12 คะแนน(S.D.=0.41)

          ผลลัพธ์การพัฒนาศักยภาพบุคลากร พบว่า มีผลงานวิจัยนำเสนอ จำนวน 13 เรื่อง ผลงานที่ผ่านขอจริยธรรมวิจัยอยู่ระหว่างวิเคราะห์ผล จำนวน 6 เรื่อง และผู้วิจัยกำลังเริ่มทำ จำนวน 10 เรื่อง  รวมจำนวนผลงานทั้งหมด 29 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 96.67 ข้อเสนอแนะจากการวิจัยเห็นว่า ควรจัดอบรมในวันเวลาราชการ  เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรที่ไม่สะดวกอบรมในวันหยุดเข้าร่วมอบรมได้  และขาดสิ่งสนับสนุนด้านทุนการทำวิจัย ข้อเสนอแนะการสร้างแรงจูงใจและขวัญกำลังใจโดยขอให้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาขั้นเงินเดือนทั้งของส่วนตัวและหน่วยงาน และการสร้างวัฒนธรรมการชื่นชมผลงานให้เกิดขึ้นในองค์กร

References

1. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.ปฏิรูป สวรส.ก้าวสู่การวิจัยระบบสุขภาพในทศวรรษที่ 3.สืบค้นเมื่อ 10 มี.ค.63 จาก http://kb.hsri.or.th./dspace/handle/11228.
2. สำนักงานสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.ประชุมวิชาการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย ประจำปี 2562 [อ้างอิง 31 กรกฎาคม 2562 ] แหล่งที่มา URL:https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/04/130258/.
3. วิภาวี เผ่ากันทรากรและเกยูรมาศ อยู่ถิ่น. ปัญหาและอุปสรรคในการทำวิจัยของบุคลากรทางคลินิก สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 ปี 2554;23-34.
4. นิภาพร ละครวงค์. การพัฒนางานประจำด้วยการทำวิจัยเอกสารนำเสนอในที่ประชุมปฏิบัติการศึกษางานประจำสู่การวิจัย (R2R), นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
5. รวิพร โรจนอาชา. การประเมินผลงานประจำสู่งานวิจัยของบุคลากรโรงพยาบาลสะเดา.
6. คำปั่น ศรีมหาไชย,และคณะ.การประเมินโครงการสร้างข้อสอบมาตรฐานวัดความรู้ความสามารถในการติดขั้นสูงของนักเรียนในโรงเรียนในสังกัดเมืองพัทยา โดยบูรณาการรูปแบบการประเมินขิงดคิร์กแพตทริก. วารสารวิจัยรำไพพรรณี ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน -ธันวาคม 2560.หน้า 119-129.
7. วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารราชภัฏสุราษฏร์ธานี ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2558). 2558.
8. Bloom, B.S. (1971).Mastery learning.UCLA – CSEIP Evaluation Comment.1 (2)
Losangeles. University of California at Los Angeles.
9. ชูใจ คูหารัตนไชย. (2542). สถิติเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.
10. ศันสนีย์ อุตมอ่าง.ทำการศึกษาการประเมินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตทองม้วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 2563,จาก http://research.pcru.ac.th/service/pro_data/files11/54-039.pdf
11. แรกขวัญ สระวลีและสงกรานต์ กัญญมาสา.ผลของการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้ปฏิบัติงานด้านภารกิจสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.วารสารวิชาการสาธารณสุข สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย.ปีที่ 28 ฉบับที่ 3 พฤษภาคม -มิถุนายน 2562.
12. ปรียนุช ชัยกองเกียรติ,มาลี คำคง.งานวิจัยจากงานประจำ:การขับเคลื่อนสู่การใช้ประโยชน์.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ [สืบค้น เมื่อ10 มกราคม 2563].แหล่งข้อมูล vol.4 No_3(2517):ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 กันยายน -ธันวาคม 2560.
13. นพวรรณ รื่นแสงและวรวรรณ สโมสรสุข. ปัญหา อุปสคคและแนวทางการส่งเสริมการดำเนินโครงการวิจัยของผู้รับทุนสนับสนุนโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ.วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.208|ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 ( กันยายน-ธันวาคม 2559)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2020